ไม้หวงห้าม
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “ไม้พะยูง หรือ พะยุง” ตามหน้าข่าวบ่อยๆ ซึ่งโดยมากมักเป็นข่าวคนร้ายลักลอบตัดไม้พะยูงตามป่า หรือวัด ไม้พะยูงนั้นขึ้นขื่อว่าเป็นไม้ที่ “ปลูกง่ายแต่ตัดยาก” เพราะจัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. หรือไม้หวงห้ามธรรมดา ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช พ.ศ. 2484 ที่มีจำนวนกว่า 158 ชนิด โดยไม้เหล่านี้เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ แต่ทางการจะยอมให้ตัดและชักลากออกมาทำสินค้าได้ ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน และไม่อนุญาตให้ส่งออก ปลดล็อก! ตัด “ไม้หวงห้าม” ที่ดินตัวเอง แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การปรับแก้ พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 7 เป็นการลดขั้นตอนการอนุญาตให้ทั้งผู้ประกอบการเเละประชาชนที่มีไม้ในบัญชีหวงห้าม เช่น พะยูง ชิงชัน สัก ยางนา ฯลฯ ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินเอกสารสิทธิของตัวเอง สามารถปลูกหรือตัดไม้หวงห้ามบนที่ดินกรรมสิทธิ์ได้ และหากผู้ใดประสงค์จะขอหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ เพ
เมื่อวันที่ 16 เมษายน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.บ. ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา โดยมีสาระสำคัญคือ มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106 /2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ลงวันที่ 21 ก.ค. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภท หนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็น ไม้หวงห้าม” มาตรา 5 ให้ยกเลิก มาตรา 14 ทวิ แห่ง พ.ร.บ ป่าไม้ พ.ศ. 248