ไวรัสโควิด – 19
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เปิดเผยว่า ได้ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ตรวจสอบว่าประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ถังเก็บสารเคมีระเบิดภายใน บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด นั้น มีผู้ที่อยู่ในระบบสหกรณ์หรือไม่ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์ของนิติบุคคลต่างๆ เพื่อที่จะได้นำมาวางแผนการช่วยเหลือในระยะต่อไป เนื่องจากบางส่วนได้รับผลกระทบทางบ้านเรือนและอาชีพ จะเดือดร้อนเพิ่มขึ้นจากภาวะปัจจุบันที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 อยู่แล้ว “ให้กรมไปสำรวจว่าประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีนี้เราจะมีช่องทางใดช่วยเหลือได้เพิ่มเติมจากระบบที่รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลืออยู่ ซึ่งอาจมีบางส่วนที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ มีภาระเงินกู้กับสหกรณ์หรือไม่ จะได้นำมาหาทางช่วยเหลือกัน หรือกรณีพืชผลทางการเกษตร บ่อปลาได้รับผลกระทบ กระทรวงเกษตรฯ ก็จะได้มีมาตรการช่วยเหลือต่อไป อย่างไรก็ตาม ในความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์นำข้าวสาร และนมสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ ไปให้กับมูลนิธิร่วมกตัญญู เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อนต่อไป” นางสาวมนัญญา กล่าว ทั้งนี้ รมช.เกษตรฯ
ไวรัสโควิด-19 และฝุ่น PM 2.5 เป็นวิกฤตสุขภาพของผู้คนในเวลานี้ “หน้ากากอนามัย” เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดยศูนย์วิจัยวัสดุนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนประสบความสำเร็จในการผลิตหน้ากากอนามัย “NANO GUARD หน้ากากชั้นกรองโครงข่ายเส้นใยนาโนพอลิเมอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกัน COVID-19 และ PM2.5” ได้ดีเยี่ยม นวัตกรรมดังกล่าว เป็นผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐกานต์ สร้อยกาบแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยวัสดุนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้ศึกษาค้นคว้าและพบคำตอบเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว จุดเด่นของหน้ากากอนามัยชิ้นนี้คือ ผลิตด้วยนวัตกรรม “NANO GUARD หน้ากากชั้นกรองโครงข่ายเส้นใยนาโนพอลิเมอร์เพื่อป้องกัน COVID-19 และ PM2.5” หน้ากากมีชั้นกรองหรือรูกรองขนาดเล็กกว่า 125 นาโนเมตร ดักจับไวรัสโควิด-19 ได้ รวมทั้งมีอนุภาค Nano Silver เคลือบอยู่ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสได้ ทั้งมีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น PM 2.5 ได้มากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มแปรรูปสินค้าประมงของสหกรณ์ในจังหวัดพังงา ขนปลาจากเกาะยาว ขึ้นเครื่องบินกองทัพอากาศไปแลกข้าวสาร และมะม่วงของสหกรณ์บ้านร่องส้าน จังหวัดพะเยา และข้าวหอมมะลิ 100% ของ สกต.ธ.ก.ส.ศรีสะเกษ เผยวิกฤติโควิด 19 ทำนักท่องเที่ยวหาย ชาวบ้านบนเกาะยาวขาดรายได้ ไม่มีตลาดรับซื้ออาหารทะเลแปรรูป ต้องใช้เครือข่ายสหกรณ์ช่วยระบายสินค้าออกนอกพื้นที่หวังเพิ่มช่องทางตลาดช่วยเกษตรกร นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงวิกฤติโควิด 19 ระบาด ผลผลิตและสินค้าสหกรณ์ในหลายพื้นที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ตามปกติ จึงได้สั่งการให้สหกรณ์จังหวัดทั่วประเทศเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน และสร้างเครือข่ายสหกรณ์ในพื้นที่ต่างๆ จับคู่ธุรกิจ เพื่อนำสินค้าที่จังหวัดนั้น หรือภาคนั้นไม่มี มาซื้อขายและแลกเปลี่ยนกัน เป็นการระบายผลผลิตออกไปยังพื้นที่ที่ผู้บริโภคมีความต้องการ และเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าให้กับสหกรณ์และเกษตรกร เพื่อจะได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวในช่วงเวลานี้ด้วย และเชื่อว่าหากสถานการณ์วิกฤติโควิด 19 เริ่มคลี่คลายและกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว การซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างสหกรณ์ในจังหวัดต่า
รมช.มนัญญาสั่งกรมส่งเสริมสหกรณ์เร่งหาตลาดขยายช่องทางการจำหน่ายผลไม้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ระบาด คาดการส่งออกผลไม้ไปประเทศจีนชะงัก ส่งผลปริมาณผลผลิตกระจุกตัวในประเทศ เตรียมคลอดมาตรการบรรเทาความเดือดร้อน จัดหางบอุดหนุน 414.20 ล้านบาท ใช้บริหารจัดการผลผลิตในช่วงที่ออกมาพร้อมกันจำนวนมาก พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์เร่งระบายผลผลิตสู่ตลาดและผู้บริโภคทั่วประเทศ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โรคไวรัสโควิด 19 แพร่ระบาดหนักในประเทศจีนและอีกหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน โดยเฉพาะผลไม้ ทั้งทุเรียน มังคุดและลำไย แต่ละปีทางประเทศจีนมีปริมาณการสั่งซื้อผลไม้เหล่านี้จากไทยจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลการส่งออกผลไม้ย้อนหลัง 3 ปี (2560-2562) 3 ประเทศหลักที่สั่งซื้อผลไม้ของไทย ได้แต่ จีน ฮ่องกงและเวียดนาม รวม 1,324,637 ตัน ในจำนวนนี้ ส่งออกไปประเทศจีน จำนวน 570,833 ตัน ฮ่องกง 114,260 ตัน และเวียดนาม 639,545 ตัน ปี 2563 คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีปริมาณผลไม้ออกสู่ตลาด รวม 3,072,59