ไหมอีรี่
“ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับไหมอีรี่ ตั้งแต่การเลี้ยงไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผ้าไหม สบู่ล้างหน้า สบู่เหลว แชมพูสระผม ครีมนวดผม และโลชั่นทาผิว ชื่อแบรนด์ “S and N Farm” อีกทั้งยังเปิดร้านขายสินค้าเกษตรด้วย” คุณสุเมธ มาสขาว ผู้ประกอบการหนุ่มวัย 26 ปี แจกแจงกิจการของเขา ซึ่งเพิ่งเริ่มธุรกิจยังไม่ถึงปี โดยเลี้ยงไหมอยู่ที่บ้านหนองพะโลน ตำบลทุ้งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ใช้เงินลงทุนประมาณ 300,000 บาท นับเป็นคนหนุ่มที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และได้ใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาโดยตรงในการประกอบอาชีพ ซึ่ง คุณสุเมธ มาสขาว นั้น จบปริญญาตรี สาขากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และเพิ่งจบปริญญาโท สาขาและมหาวิทยาลัยเดียวกันในปีนี้เอง เจ้าตัวเล่าที่มาที่ไปของการมาทำธุรกิจไหมป่าอีรี่ว่า ตอนเรียนอยู่ปีที่ 3 ในระดับปริญญาตรี ได้ทำปัญหาพิเศษเกี่ยวกับไหมป่าอีรี่ ตอนแรกไม่รู้จักว่าไหมป่าอีรี่คืออะไร มีหน้าตาแบบไหน แล้วกินอะไร สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง แต่พอได้มาศึกษาอย่างจริงจังกับรู้ว่าไหมป่าอีรี่ตัวนี้มีประโยชน์หลายอย่างมาก ยกตัวอย่าง เส้นไหมนำมาทอเป็นผ้าไหม ขี้ไหมทำเป็นปุ๋ย ส
ยกนิ้วให้ ฉบับนี้ ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ในการแข่งขันกล้าใหม่สร้างชุมชน โครงการกล้าใหม่ใฝ่รู้ ปี 11 ซึ่ง นายชวนะพล น่วมสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงงาน ออกแบบลวดลายและพัฒนารูปแบบเครื่องนุ่งห่มจากผ้าไหมอีรี่ ระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นักศึกษา มข.ได้รางวัลในการจัดทำโครงการดังกล่าว โดยชูความโดดเด่นด้านทุนทางวัฒนธรรมของภาคอีสาน คือลวดลายผ้าไหมอีรี่ที่เป็นเอกลักษณ์ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อคลุม ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยุคใหม่ เพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอีรี่ของชุมชนหนองหญ้าปล้อง อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น จนได้รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ในการแข่งขันกล้าใหม่สร้างชุมชน โครงการกล้าใหม่ใฝ่รู้ ปี 11 ได้สำเร็จ นางสาววีรินทร์ สันติวรรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เล่าว่า ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าลายดั้งเดิม เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เทรนด์แฟชั่นโลกก็เปลี่ยนไปด้วย เราจึงเข้าไปให้ความรู้ด้านลายผ้าที่ตอบโจทย์ สอนการตัดเย็บ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามต้องการของ
หลังจากที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พาสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ปรากฏว่ามีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ให้ความสนใจในการเลี้ยงไหมอีรี่เป็นอาชีพเสริมมากขึ้น และเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่เดิม มียอดการผลิตไหมอีรี่เพิ่มขึ้น เช่น ในเขตพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ มีปริมาณไหมอีรี่มาส่งให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 750 กิโลกรัม ในรอบ 1 เดือนครึ่ง จากเดิมจะมีปริมาณไหมอีรี่ส่งเพียง 200-300 กิโลกรัม ผศ.ดร. อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม เล่าว่า ขณะนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้สนใจอาชีพเสริมเลี้ยงไหมอีรี่เพิ่มขึ้น โดยมีการขอตัวหนอนไหมอีรี่เพื่อไปเพาะเลี้ยง ซึ่งบางพื้นที่เกษตรกรจะไปขอรับพันธุ์หนอนไหมโดยตรงกับกรมหม่อนไหม อาทิ พื้นที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดร้อยเอ็ด เพราะกรมหม่อนไหมจะผลิตไข่ไหมสำหรับแจกเกษตรกร ส่วนพื้นที่ภาคกลางที่ใกล้เคียงจังหวัดนครปฐมก็สามารถขอรับพันธุ์หม่อนไหมได้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน “ปกติเกษตรกรจะสามารถมาขอรับพันธุ์หม่อนไหมได้โดยเร
ไหมอีรี่ (Samia ricini : Eri silk) เป็นพันธุ์ไหมกินใบมันสำปะหลัง โดยนำมาเลี้ยงเพื่อเอาเส้นใยไว้ทำประโยชน์ด้านการแปรรูปเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เช่นเดียวกับไหมหม่อน วงจรชีวิตของไหมอีรี่ ไหมอีรี่ เป็นไหมป่าที่มีวงจรชีวิต 45-60 วัน เลี้ยงได้ 4-5 รุ่น ต่อปี ส่วนไข่ไหมฟักเองได้ ไม่ต้องอาศัยการฟักเทียม กินใบละหุ่งและใบมันสำปะหลังเป็นอาหาร ความนิยมในการเลี้ยงไหมอีรี่ ในประเทศไทย เกษตรกรยังนิยมเลี้ยงไหมอีรี่ไม่มากนัก ขณะที่จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพในไทยนั้น มีจำนวนถึง 570,000 ครัวเรือน มีพื้นที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังกว่า 8.64 ล้านไร่ ซึ่งอาหารของไหมอีรี่ในไทยมีจำนวนมากก็จริง แต่สัดส่วนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่ยังน้อยมาก ทาง สกว. จึงร่วมกับศูนย์หม่อนไหม ในการให้ความรู้ และขยายพื้นที่การเลี้ยงไหมอีรี่ให้มากขึ้น ทั้งการให้สายพันธุ์หนอน และความรู้ในการเลี้ยง เพื่อนำไปสู่ผลผลิต ความยาก-ง่าย การเลี้ยงไหมอีรี่ สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอยู่แล้ว จะสามารถมีรายได้เพิ่มเติมจากการเลี้ยง “ไหมอีรี่” ได้ เพราะไหมอีรี่กินใบมันสำปะหลังเป็นอาหาร และใบละหุ่ง ซึ่งสามารถปลูกต้นละหุ่งเสริมใ
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผอ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ระยะที่ 3” ณ อาคารสารนิเทศ ม.เกษตรศาสตร์ เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนางานวิจัย ขับเคลื่อนไหมอีรี่สู่อุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและเต็มรูปแบบ รวมถึงเพิ่มมูลค่าสินค้าจากไหมอีรี่สู่สากลมากขึ้น ผศ.ดร.อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์ ผอ.ศูนย์วิทยาการและเทคโนโลยีด้านไหม ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการในระยะที่ 1 เรื่อยมาจนถึงระยะที่ 2 (2546 – 2558) ที่มีต่อภาคเกษตรกรรมว่า ทางศูนย์ได้ดำเนินการวิจัย พัฒนาระบบฟาร์มเลี้ยงไหมอีรี่โดยใช้เทคโนโลยีสะอาด พัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากไหมอีรี่และการสร้างแบรนด์ จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร ผลิตนักวิจัย และบุคากรที่เชี่ยวชาญด้านไหมอีรี่ โดยผลจากการพัฒนากระบวนการผลิตไหมอีรี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลักดันไปสู่การปฏิบัติจริงของกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งกว่า 44 เครือข่าย 450 ครัวเรือน ครอบคลุม 28 จังหวัดในทุกภูมิภาค เกษตรกรสามารถผล