000 ล้านบาท
ธ.ก.ส. ปลื้มใจออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) วงเงิน 6,000 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนนําไปใช้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและโครงการสินเชื่อที่ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ จำหน่ายเต็มวงเงินในวันที่ 19 สิงหาคม 2563 พร้อมขอบคุณนักลงทุนที่ให้การตอบรับเป็นอย่างดี นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธ.ก.ส. ได้ระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Green Bond ปีบัญชี 2563 วงเงิน 6,000 ล้านบาท (จากเป้าหมายวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ในปีบัญชี 2563-2567) เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้การบูรณาการร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการป้องกันและควบคุมมลพิษ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างยั่งยืน การจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืน และพลังงานทางเลือก โดยเสนอขายต่อนักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 10 ราย ในวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ซึ่งมีผลการจำหน่าย ดังนี้ 1) พันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รุ่นอายุ 5 ปี มูลค่า 4,500 ล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอน ปี 2568 และ 2) พันธบัตรฯ รุ่นอาย
ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้มอบหมายให้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ทำหน้าที่นายทะเบียน รวบรวมและจัดทำระบบคัดกรองที่ถูกต้อง เพื่อเร่งช่วยเหลือเกษตรกร โดยจ่ายเงินช่วยเหลือโดยตรงผ่านบัญชี จำนวน 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 กลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกร ไม่เกิน 10 ล้านราย ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับการได้รับความช่วยเหลือภายใต้โครงการเราไม่ทิ้งกัน และหลักเกณฑ์อื่นๆ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด รวมวงเงินของโครงการฯ ไม่เกิน 150,000 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ไม่เกิน 150,000 ล้านบาท นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการ สศก. ในฐานะนายทะเบียน กล่าวว่า ขณะนี้ สำนักงบประมาณ ได้โอนงบประมาณให้ สศก. เรียบร้อยแล้ว จำนวน 150,000 ล้านบาท โดย สศก. ดำเนินการจ่ายเช็คให้ ธ
ธ.ก.ส. เร่งทำสัญญาและจ่ายสินเชื่อฉุกเฉิน รายละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงิน 20,000 ล้านบาท แก่เกษตรกรและครอบครัวเกษตรกรกว่า 1.8 ล้านคน ที่ลงทะเบียนผ่าน LINE Official BAAC Family ยอดขอสินเชื่อรวมกว่า 18,000 ล้านบาท โดยทยอยส่ง SMS นัดหมายลูกค้าพร้อมกันทุกสาขาทั่วประเทศ นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธ.ก.ส. ได้จัดโครงการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินในครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน ปลอดดอกเบี้ย 6 เดือน ไม่ต้องใช้หลักประกัน ซึ่งเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 นั้น ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีเกษตรกรและครอบครัวเกษตรกรเข้าลงทะเบียนผ่าน LINE Official BAAC Family ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,862,710 ราย รวมจำนวนสินเชื่อ 18,545 ล้านบาท โดยยังคงเปิดลงทะเบียนจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่ายอดขอสินเชื่อเต็มวงเงิน ในขณะนี้ ธ.ก.
นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมพบปะนักลงทุนสถาบัน เพื่อประชาสัมพันธ์และตอบข้อซักถาม ในการเสนอขายพันธบัตร ธ.ก.ส. วงเงิน 10,000 ล้านบาท อายุไม่เกิน 15 ปี แก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมี นายกิตติ ปิ่นรอด ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานการลงทุนและคณะ ในฐานะผู้จัดการจัดจำหน่ายพันธบัตรเข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุม 802 ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ บางเขน กรุงเทพฯ
ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินช่วยเหลือโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 500 บาท ต่อไร่ สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ ต่อครัวเรือน ตั้งเป้าหมายจ่ายได้ภายใน 31 ธันวาคม 2562 นี้ กว่า 20,000 ล้านบาท นายศรายุทธ ยิ้มยวน รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือตามโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 แก่เกษตรกรที่ลงทะเบียน ผู้ปลูกข้าวนาปีกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและทำให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวและรักษาคุณภาพข้าว ในอัตราไร่ละ 500 บาท ตามพื้นที่ที่ปลูกข้าวจริงแต่ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ วงเงิน 25,793 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้วในวันแรกโอนไป 285,887 รายเป็นเงิน 1,537 ล้านบาท กระบวนการและขั้นตอนการโอนเงินจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการจ่ายเงินซ้ำซ้อนกับการจ่ายเงินผู้ประสบภัยธรรมชาติที่ได้รับก
นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจ่ายเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง (เจ้าของสวน ผู้เช่า ผู้ทำ และคนกรีดยาง) ที่แจ้งและขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2562 เริ่มจ่ายในงวดแรก จำนวนกว่า 8 พันล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป เบื้องต้นมีเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. จำนวน 1,711,252 ราย แบ่งเป็นยางแผ่นดิบ 150,803 ราย น้ำยางสด 470,767 ราย และยางก้อนถ้วย 790,447 ราย คิดเป็นพื้นที่รวม 17,201,391 ไร่ นายสุนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเงินประกันรายได้ในแต่ละเดือน จะถูกแบ่งระหว่างเกษตรกรเจ้าของสวนยางและคนกรีดยางในสัดส่วน 60:40 (ตามสัดส่วนการจ้างส่วนใหญ่ของข้อมูลขึ้นทะเบียน) โดยราคากลางจะกำหนดโดยคณะกรรมการกำหนดราคากลางอ้างอิงงวดแรก (ประกาศ ณ วันที่ 25 ต.ค.62) กำหนดราคายางแผ่นดิบ 38.97 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด 37.72 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย 16.19 บาท/กิโลกรัม “กยท. กำหนดหลักเกณฑ์ของโครงการฯ โดยผู้มีสิทธิ์ร่วมโครงการจะต้องเป็นเกษตรกร