COVID-19 ในประเทศไทย
อาจารย์ ดร.กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร ประธานศูนย์การแปลและบริการด้านภาษาและอาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (RILCA) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ อาจารย์ ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรเดียวกัน ศึกษาบทบาทของล่ามทางการแพทย์ และแนวทางการส่งเสริมการใช้ล่ามทางการแพทย์ เพื่อทำหน้าที่ “หมอภาษาและวัฒนธรรม” ผ่านงานวิจัย เรื่อง “ข้ามกำแพงทางภาษาในวิกฤตโรคระบาด: บทบาทการแปลและการล่ามช่วงภาวะ COVID-19 ในประเทศไทย” ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาการแปล และ อาจารย์ ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี ได้ศึกษาบทบาทของล่ามทางการแพทย์ และแนวทางการส่งเสริมการใช้ล่ามทางการแพทย์ โดยใช้บริบทของสังคมและวัฒนธรรม ที่ผสมผสานกับทักษะของ “การสื่อสารสุขภาวะ” เพื่อให้ล่ามทำหน้าที่ “หมอภาษาและวัฒนธรรม” ให้ความรู้เรื่อง COVID-19 ไปสู่แรงงานอพยพ รวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยอย่างเต็มที่ มีหลายคำในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา ที่ล่ามทางการแพทย์จะต้องอธิบายให้แรงงานอพยพ รวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักใ