เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
News

ศูนย์ Pro – Green มธ. – สกว. ชูแนวคิด เศรษฐกิจสีเขียว หวังไทยเป็น Green Economy ที่ยั่งยืน

ศูนย์นโยบายเศรษฐกิจสีเขียว (PRO – Green) คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ภายใต้ การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดเวทีเสวนาจับกระแสเศรษฐกิจ สีเขียวเรื่อง มุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียวด้วยการบริโภคที่ยั่งยืน ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ เพื่อระดมความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมพูดคุยในประเด็น การส่งเสริมการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการผลิตสินค้าการเกษตรและอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการผลิตสินค้าหัตถกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของภาคเอกชน

ดร.พรพิมล วราทร ผอ.กลุ่มส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน คือการผลิตที่และการบริโภคที่ลดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสารอันตราย เช่นเดียวกับลดการปลดปล่อยของเสียและมลพิษ ตลอดวัฏจักรชีวิตของการบริหารหรือการผลิต ซึ่งไม่ส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไป จากข้อมูลทางสถิติพบว่าการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกคือ สิ่งก่อสร้าง 35 % ยานพาหนะ 25 % อาหารและเครื่องดื่ม 17 % ในส่วนของประเทศไทยได้ส่งเสริมการผลิต การบริการและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในส่วนของภาคการผลิต การบริการและการบริโภค มีกระแสของการทำกรีนโพรดักชั่นในสินค้าโอทอป กรีนโฮเทล กรีนคอนโด กรีนออฟฟิศ เป็นต้น และในส่วนของสถานประกอบการพบว่าปัจจุบัน ไทยมี สถานประกอบการประเภทสิ่งทอ กระดาษสา ขนาดเล็ก ได้รับตราสัญลักษณ์กรีน พรอดักท์ แล้ว จำนวน 351 แห่ง จากที่เข้าร่วมโครงการ 878 แห่ง

ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวถึงความพยายามในการผลักดันโครงการเมืองเกษตรสีเขียวให้เกิดขึ้นว่า “ต้องพัฒนาพื้นที่ สินค้า และคนให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ด้านการพัฒนาพื้นที่ ต้องมุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ปลอดจากมลพิษ มีสินค้าเกษตรและและอาหารปลอดภัย มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร สามารถพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ด้านการพัฒนาสินค้า ต้องพัฒนาในระดับต้นน้ำให้มีการผลิตสินค้าตามหลัก GAP ลดการปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก ได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพและลดต้นทุนจากการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ตามแนวคิด รีดิวซ์ รียูซ และรีไซเคิล  ด้านคนต้องให้ความรู้ในการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยจากสารเคมีได้”

 

ในขณะที่นายนำพล ลิ้มประเสริฐ รองประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเผยว่า “ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานที่ได้รับการรับรอง Eco Factory หรือ มาตรฐานการรับรองโรงงานที่มีการดำเนินการประกอบกิจการที่สอดคล้องกับระบบเชิงนิเวศที่สภา อุตฯ หรือ ส.อ.ท. รับรองแล้วทั้งหมด 70 บริษัทประกอบด้วยโรงงานไฟฟ้า ผลิตน้ำ ก๊าซ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.ระยอง 67 บริษัท จ.สมุทรสาคร 2 บริษัท และ จ.สระบุรี 1 บริษัท ในส่วนของเรื่องคาร์บอนฟรุตปรินท์ (ฉลากลดโลกร้อน ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด) พบว่า         การดำเนินการในปี 2556 – 2560 ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้คิดเป็น 1.66 %          ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด และปัจจุบันกำลังจัดทำร่างแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระยะที่ 3 พ.ศ.2560 – 2564  จากการดำเนินการพบปัญหาที่น่าสนใจคือ ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคยังไม่เพียงพอ

ขาดแรงจูงใจในการผลิตและซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กอปรกับความต้องการตลาดสินค้าดังกล่าวยังมีไม่มากนัก  โดยข้อมูลในปี 2558 พบว่า ปัจจุบับไทยมีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจำนวน 9,686 รายการ ด้าน รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผอ.ฝ่ายสวัสดิภาพและสาธารณะ สกว. กล่าวเสริมว่า “ประเทศไทยต้องหาทางออกถึงแนวทางที่ทำให้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการ   ใช้กรีน พรอดักท์ ในส่วนนี้ควรมีการวิจัยถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย”

 

Related Posts