คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับ บริษัทโกยูนิ จำกัด (GoUni) จัดการเสวนาเรื่อง “การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการและการท่องเที่ยว ในต่างประเทศ” วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ผ่านระบบ online ZOOM ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ประเด็นในการเสวนา อยากไปเรียนที่ต่างประเทศ ด้านกีฬา นันทนาการและการท่องเที่ยว มีสาขาไหนให้เลือกบ้าง
ต้องเตรียมตัวอย่างไร ไปเรียนได้ตั้งแต่ระดับไหน
การหาทุนสนับสนุนในต่างประเทศ
เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
MOST POPULAR
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง เป็นการลดต้นทุนที่เห็นผล เกษตรกรสามารถทำได้ คุณดำรงค์ จินะกาศ ประธานลำไยแปลงใหญ่แม่ทา จังหวัดลำพูน และเกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ (ศพก.) การผลิตลำไยคุณภาพ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้แนะนำเทคนิคการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไย ที่ใช้เงินลงทุนต่ำและประหยัดแรงงาน ไม่ต้องขนย้าย รวมทั้งประหยัดการให้น้ำ ประมาณร้อยละ 50 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ประมาณร้อยละ 30 เก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินได้นาน และลดปัญหาหมอกควันจากการเผากิ่งและใบลำไย เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี สังเกตได้จากมีไส้เดือนดินเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดินร่วนซุย รากฝอยแตกใหม่มาก สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ดี ทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์แข็งแรง ในกรณีที่เกษตรกรจะทำลำไยนอกฤดู การราดสารจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย เมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวลำไย หลังเกษตรกรตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มแล้ว ให้นำกิ่งลำไยที่ได้จากการตัดแต่ง ตัดลิดใบแล้ววางกิ่งเรียง
ในยุคที่เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกพืชแบบปลอดสารพิษมากขึ้น สมุนไพรพื้นบ้าน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดการใช้สารเคมี หนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ “หนอนตายหยาก” ซึ่งมีสรรพคุณโดดเด่นในการ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะหนอนและแมลงต่างๆ ได้ผลดีแถมปลอดภัยกับคนและสิ่งแวดล้อม รู้จักกับ “หนอนตายหยาก” หนอนตายหยาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Derris elliptica) เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณของไทย มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น “กำลังช้างเผือก”, “เครือเขาหนัง”, หรือ “บงตายหยาก” นิยมใช้รากและเถ้าเป็นส่วนผสมหลักในการทำยากำจัดแมลง จุดเด่นอยู่ที่สาร โรติโนน (Rotenone) ที่มีอยู่ในรากและเปลือกลำต้น ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ในการทำลายระบบประสาทของแมลง ทำให้แมลงหยุดกิน หยุดเคลื่อนไหว และตายในที่สุด สรรพคุณในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยไม่ทำอันตรายต่อพืชหรือผู้บริโภค จึงเหมาะกับเกษตรอินทรีย์หรือผู้ที่ต้องการลดการใช้สารเคมีในสวนของตน หนอนตายหยากสามารถใช้ไล่และฆ่าแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น วิธีการทำน้ำหมักสมุนไพรหนอนตายหยาก ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้เจือจางน้ำหมัก 100 ซีซี ต่อน
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
“ซั้ง” ภูมิปัญญาชาวประมงที่เกิดจากการนำวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย เช่น กิ่งและลำต้นของไม้ชายเลนมากองหรือผูกและทิ้งไว้ในทะเล เพื่อล่อให้สัตว์ทะเลเข้ามาใช้เป็นแหล่งหากินและใช้หลบซ่อนตัว ก่อนจะใช้เครื่องมือประมงมาล้อมจับและนำขึ้นมาขาย แต่วันนี้ซั้งได้ถูกพัฒนามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับชุมชนประมงชายฝั่งหลายแห่ง ภายใต้ชื่อ “บ้านปลา” ปัจจุบันชุมชนชาวประมงในทะเลสาบสงขลา เริ่มมีการใช้ซั้งเพื่อเป็นบ้านปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์ห้ามจับสัตว์น้ำของชุมชน โดยส่วนใหญ่จะเป็น “ซั้งกอ” ที่เป็นการนำวัสดุ เช่น ลำไม้ไผ่ มากั้นเป็นคอกสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 4×4 เมตร และนำกิ่งไม้ที่หาใด้ในชุมชน เช่น ทางปาล์ม ทางมะพร้าว กิ่งเสม็ด กิ่งลำพู มาใส่หรือปักไว้ในคอก สำหรับใช้เป็นที่เกาะของสาหร่ายและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก รวมถึงแพลงก์ตอนที่เป็นอาหารของลูกปลาขนาดเล็ก ทำให้บ้านปลากลายเป็นแหล่งอาหารและที่หลบซ่อนตัวจากศัตรูตามธรรมชาติ ช่วยปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว “เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสัตว์น้ำก่อนและหลังการทำบ้านปลาในทะเลสาบสงขลา เราพบว่า ก่อนทำบ้านปลาน้ำหนักของสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวอยู่ที่ 0.3