24 กันยายน – 2 ตุลาคม นี้ ท่ามกลางบรรยากาศสวนสวย พื้นที่ทำเลทอง 5 ไร่ ที่จอดรถกว่า 300 คัน ด้วยการเดินทางสะดวกสบาย บนถนนบางกรวย-ไทรน้อย บางบัวทอง
“เดอะ วิสด้า พาร์ค (The Visda Park) คอมมูนิตี้มอลล์” ภายใต้การบริหารงานโดย นายบุญชัย เจียรไพศาลเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บ้านวิดาภา พลาซ่า กรุ๊ป จำกัด ร่วมกับ “วิหารอริยะเจ้ากวนอู” โดย ริว จิตสัมผัส โดย ได้รับความร่วมมือจาก “เทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง”, “วีฟู้ดมาร์เก็ต”, “Big Camera”, “แอมเวลล์พลัส” และข้าวตราไก่แจ้ ชวนสืบสานเทศกาลกินเจสร้างกุศลครั้งใหญ่ ในการจัดงาน “เทศกาลกินเจมหากุศล” ระหว่างวันที่ 24 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ให้ทุกคนได้อิ่มบุญ อิ่มใจ ล่าสุดมีการเตรียมความพร้อมทุกส่วนงาน และได้จัดพิธีคัดเลือกองค์สมมุติพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นครั้งแรก
สำหรับ “เทศกาลกินเจมหากุศล” ครั้งนี้ จะจัดให้มีปรัมพิธีไหว้พระขอพร เสริมบุญวาสนา และยังได้เลือกสรรอาหารเจหลากสไตล์ที่มีรสชาติอร่อย ปรุงด้วยวัตถุดิบคุณภาพดี กับหลากหลายเมนู จากร้านอาหารเจหลากสไตล์ทั้งในศูนย์การค้าและภายในงานรวมกว่า 50 ร้านค้า อาทิ อาหารเจสไตล์ชาววัง by ม.ล.ข่ายทอง ทองแถม, อาหารเจไทย-จีน by เชฟซายน์ สริลญาริษา, ร้านพุงพุ้ยรสเด็ด, ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ, ก๋วยจั๊บญวนเจ รวมทั้งร้านค้าที่ร่วมโครงการคนละครึ่งมาอยู่ในงานอีกมากมาย โดยโครงการฯ ให้ความสำคัญด้านการควบคุมคุณภาพ ความสะอาด และความปลอดภัย ของอาหาร ตลอดการจัดงาน
นายบุญชัย เจียรไพศาลเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บ้านวิดาภา พลาซ่า กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “งานนี้จัดขึ้นโดย เดอะ วิสด้า พาร์ค (The Visda Park) คอมมูนิตี้มอลล์ และ วิหารอริยะเจ้ากวนอู โดย ริว จิตสัมผัส ประธานวิหารฯ ซึ่งได้ริเริ่มโครงการจัดงาน “เทศกาลกินเจมหากุศล” ขึ้นระหว่างวันที่ 24 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 เพื่อให้ทุกท่านได้อิ่มบุญ อิ่มใจกันถ้วนหน้าตลอดทั้ง 9 วัน
สำหรับการกินเจของทุกปีเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้นับเป็นการจัดเทศกาลกินเจครั้งแรกในตำบลบางบัวทอง ทางคณะผู้จัดงานฯ มีความตั้งใจว่าจะจัดให้เป็นงานประจำปีของท้องถิ่น ณ ตำบลบางบัวทอง เน้นความสำคัญถึงวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้ ถือศีล กินเจ เป็นกุศล ได้ทำบุญร่วมกัน ลด ละ เลิก การบริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีจิตใจที่บริสุทธิ์
ภายในงานนอกจากอาหารเจหลากหลายร้านค้าแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พิธีเปิดงานที่จะได้ชมขบวนแห่องค์สมมุติพระโพธิสัตว์กวนอิม, การเชิดสิงโต มังกร, การไหว้พระ เสริมบุญวาสนา, การตรวจดวงชะตา โดยทีมพยากรณ์ อ.ไกรศร คนพลิกดวง, ชมหนังกลางแปลงในสวน, ช็อปปิ้งถนนคนเดิน และ ขบวนรถเปิดท้ายขายของนานาชนิด เป็นต้น
โดยการจัดงานครั้งนี้จะเป็นการสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาพดี และได้อิ่มใจไปพร้อมกัน ทั้งยังถือเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ตำบลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวแลนด์มาร์คแห่งใหม่ และเป็นแหล่งเช็คอิน ที่เป็นที่รู้จักของสาธุชนสายบุญจากทุกสารทิศ และประชาชนทั่วไปของประเทศไทยอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น”
ริว จิตสัมผัส ประธานวิหารอริยะเจ้ากวนอู กล่าวว่า “การกินเจเป็นวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน ในปีนี้เราจัดขึ้นท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจและโรคระบาดโควิด-19 จึงริเริ่มจัดงานเพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจให้คนที่กำลังทุกข์ เพราะคนจีนเชื่อว่าการถือศีล กินเจ นั้นเป็นกุศลทำให้คนนั้นมีความคิด และใช้ชีวิตอย่างมีสติที่ดีขึ้น จากการไหว้พระสวดมนต์ ด้วยแนวคิดที่ว่านี้ จึงเกิดโครงการเทศกาลกินเจมหากุศลขึ้น โดยความร่วมมือจากเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง ที่เอื้อเฟื้ออำนวยความสะดวกการจัดงานในครั้งนี้
สำหรับความพิเศษเพื่อทุกคนที่มาร่วมงานจะได้รับก็คือ ร่วมพิธีสวดมนต์ นำสวดโดย คณะสงฆ์จีน วัดเล่งเน่ยยี่ 2 และร่วมชมขบวนแห่องค์สมมุติพระโพธิสัตว์กวนอิมที่สวยงาม และยิ่งใหญ่ ในพิธีเปิดงานวันที่ 24 กันยายน 2565 ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 10.00 น. โดยทางวิหารอริยะเจ้ากวนอูได้ทำพิธีเสี่ยงทายคัดเลือก ผู้ที่เหมาะสมทำหน้าที่สำคัญในการโปรยน้ำมนต์ และมอบเหรียญมงคล ให้แก่ผู้ชมตลอดเส้นทาง คือ เด็กหญิงเบญญาภา ไอยรารัตน์ อายุ 14 ปี จาก โรงเรียนสหศึกษาบางบัวทอง สังกัดเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง ซึ่งขบวนแห่ในครั้งนี้ยังได้อัญเชิญรูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิม เทพเจ้ากวนอู ร่วมขบวนแห่เพื่อความเป็นสิริมงคล อำนวยอวยพร ให้ผู้ที่มาชมโชคดี ภาษาจีนเรียกว่า เผ่งอัง พร้อมชมขบวนแห่ สิงโต มังกร สวยงามอลังการ และในช่วงค่ำจะได้ชมการแสดง แสง สี สิงโต มังกร เล่นพลุ เล่นไฟอีกด้วย
อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญคือ วันพิธีปิดงาน 2 ตุลาคม 2565 เวลา 19.00 น.จะมีพิธีเดินสะพานสะเดาะเคราะห์ เพื่อเป็นการตัดเคราะห์ตัดโศก ตามความเชื่อว่าหลังออกเจครบแล้ว จะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ให้ เฮง เฮง ให้โชคดี นอกเหนือจากพิธีกรรมแล้ว ปรัมพิธีก็ไม่แพ้ที่ไหน ทางวิหารอริยะเจ้ากวนอูได้อัญเชิญองค์พระพุทธรูปที่งดงามมาก มีความสูง 1.80 เมตร ให้มากราบสักการะบูชา ไม่ว่าจะเป็น รูปปั้นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 3 พระองค์ รูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิม รูปปั้นเทพเจ้ากวนอู ในบรรยากาศจำลองวิหารจีน พร้อมร่วมพิธีสวดมนต์อุทิศส่วนบุญกุศล ให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร ในเวลาเย็นของทุกวัน ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ณ ลานพิธี นำสวดมนต์ โดย คณะสงฆ์จีน วัดเล่งเน่ยยี่ 2 ในโอกาสนี้ริวขออนุโมทนาสำหรับผู้ถือศีลกินเจไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนภาคไหนก็ตาม ขอเชิญทุกท่านมาเที่ยวชมความยิ่งใหญ่ ชิมอาหารเจหลากสไตล์ ช้อปปิ้งถนนคนเดินในสวนสวย ที่ เดอะ วิสด้า พาร์ค บางบัวทองแห่งนี้กัน”
ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทาง Facebook : The Visda Park, Facebook : V Food Market, Facebook : ริว จิตสัมผัส, Facebook : วิหารอริยะเจ้ากวนอู”
สำหรับแฟนๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หากต้องการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปักษ์ ส่งตรงถึงบ้าน รวดเร็วทันใจอ่านได้ในทุกๆ 15 วัน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ คลิกลิ้ง https://shorturl.asia/0zJwQ 📲- Line: @matichonbook หรือ สำนักพิมพ์มติชน เลขที่ 12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ติดต่อฝ่ายขาย 02-589-0020 ต่อ 3354
MOST POPULAR
ตำลึง หรือที่หลายคนคุ้นเคยในฐานะ “ผักริมรั้ว” แท้จริงแล้วมีถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติเหมาะสมในระบบนิเวศป่า ซึ่งต้องการร่มเงา ความชื้น และพืชพี่เลี้ยงในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ไผ่ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการปลูกป่าในพื้นที่เกษตรผสมผสานอย่างเหมาะสม ตำลึงจึงเกิดขึ้นเองอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ และให้ผลผลิตที่ดี ใบใหญ่ รสชาติดี เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี คุณพอต-อภิวรรษ สุขพ่วง เจ้าของไร่สุขพ่วง อยู่ที่ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ผู้เป็นหัวแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างรายได้ในชุมชน “ไร่สุขพ่วง” นับเป็นไร่ตัวอย่างของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ทำไร่นาสวนผสมอย่างมีไม่ขาดตกบกพร่อง และไร่สุขพ่วงก็มีอะไรใหม่ๆ ให้เราตื่นเต้นได้อยู่เสมอ โดยครั้งนี้พระเอกของเรื่องคือ “ตำลึง” พืชพื้นบ้าน หรือผักริมรั้วที่เรารู้จักกันนี่แหละ หลายคนบอกไม่เห็นจะตื่นเต้นตรงไหน ก็คงจะใช่ถ้าบอกเรามองว่าตำลึงเป็นแค่ผักริมรั้วก็ไม่น่าตื่นเต้นจริงๆ นั่นแหละ แต่ถ้าบอกว่าเขาเอา “ตำลึง” มาบดทำเป็นผงชาเขียว นี่ตื่นเต้นจนตะลึงกันเลยใช่ไหม งั้นตามมาดูกันเลยว่าเขาทำกันย
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง เป็นการลดต้นทุนที่เห็นผล เกษตรกรสามารถทำได้ คุณดำรงค์ จินะกาศ ประธานลำไยแปลงใหญ่แม่ทา จังหวัดลำพูน และเกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ (ศพก.) การผลิตลำไยคุณภาพ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้แนะนำเทคนิคการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไย ที่ใช้เงินลงทุนต่ำและประหยัดแรงงาน ไม่ต้องขนย้าย รวมทั้งประหยัดการให้น้ำ ประมาณร้อยละ 50 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ประมาณร้อยละ 30 เก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินได้นาน และลดปัญหาหมอกควันจากการเผากิ่งและใบลำไย เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี สังเกตได้จากมีไส้เดือนดินเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดินร่วนซุย รากฝอยแตกใหม่มาก สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ดี ทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์แข็งแรง ในกรณีที่เกษตรกรจะทำลำไยนอกฤดู การราดสารจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย เมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวลำไย หลังเกษตรกรตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มแล้ว ให้นำกิ่งลำไยที่ได้จากการตัดแต่ง ตัดลิดใบแล้ววางกิ่งเรียง
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเทพารักษ์ได้ยกย่องนายสุรศักดิ์ กระฉอดนอก เป็นเกษตรกรต้นแบบศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน หมู่ที่ 11 บ้านวังกระทะเหนือ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการทำเกษตรผสมผสาน สร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนโดยประเด็นที่หลายคนสนใจเข้ามาเรียนรู้ คือ การปลูกกล้วยหอมทอง 1 ไร่ สร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท/ปี การดูแลรักษาต้นกล้วย ในขั้นตอนการเตรียมดิน นายสุรศักดิ์ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักปรับปรุงดิน คลุกเคล้าด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องโรคตายพราย พร้อมกับจัดการระบบน้ำ แบบน้ำพุ่ง เพื่อให้กล้วยได้น้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ช่วยให้ต้นกล้วยสมบูรณ์และเจริญเติบโตเร็ว จากนั้นบำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตลอดอายุของต้นกล้วย วิธีการปลูกขยายพันธุ์ นายสุรศักดิ์ จะปลูกขยายพันธุ์โดยใช้หน่อกล้วยจากต้นกล้วยที่เก็บผลผลิตแล้ว ซึ่งต้นกล้วย 1 ต้น จะออกหน่อประมาณ 3-5 หน่อ เมื่อเก็บผลผลิตแล้วจะต้องทำการตัดต้นกล้วยนั้นออกทิ้ง เพื่อไม่ให้แย่งอาหาร โดยตัดให้เหลือความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นแม่เป็นอาหารเลี้ยงหน่อเล็ก และเลือกเฉพา