นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานการจัดงานตรุษจีนเยาวราช ประจำปี 2568 พร้อมด้วย นายกมลนัย ชัยเฉนียน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารกลาง บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และนางภาวินี ไชยสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักประสานงานภายนอก บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมส่งมอบเงินจำนวน 110,454 บาท จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเครือและสินค้าชุมชน งานตรุษจีนเยาวราช ปี 2568 ให้กับ นายสมัย กวักเพฑูรย์ ประธานกรรมการ โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ และคณะกรรมการ เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือผู้ป่วย และกิจกรรมสาธารณชนต่างๆ ณ โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมา
MOST POPULAR
ตำลึง หรือที่หลายคนคุ้นเคยในฐานะ “ผักริมรั้ว” แท้จริงแล้วมีถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติเหมาะสมในระบบนิเวศป่า ซึ่งต้องการร่มเงา ความชื้น และพืชพี่เลี้ยงในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ไผ่ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการปลูกป่าในพื้นที่เกษตรผสมผสานอย่างเหมาะสม ตำลึงจึงเกิดขึ้นเองอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ และให้ผลผลิตที่ดี ใบใหญ่ รสชาติดี เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี คุณพอต-อภิวรรษ สุขพ่วง เจ้าของไร่สุขพ่วง อยู่ที่ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ผู้เป็นหัวแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างรายได้ในชุมชน “ไร่สุขพ่วง” นับเป็นไร่ตัวอย่างของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ทำไร่นาสวนผสมอย่างมีไม่ขาดตกบกพร่อง และไร่สุขพ่วงก็มีอะไรใหม่ๆ ให้เราตื่นเต้นได้อยู่เสมอ โดยครั้งนี้พระเอกของเรื่องคือ “ตำลึง” พืชพื้นบ้าน หรือผักริมรั้วที่เรารู้จักกันนี่แหละ หลายคนบอกไม่เห็นจะตื่นเต้นตรงไหน ก็คงจะใช่ถ้าบอกเรามองว่าตำลึงเป็นแค่ผักริมรั้วก็ไม่น่าตื่นเต้นจริงๆ นั่นแหละ แต่ถ้าบอกว่าเขาเอา “ตำลึง” มาบดทำเป็นผงชาเขียว นี่ตื่นเต้นจนตะลึงกันเลยใช่ไหม งั้นตามมาดูกันเลยว่าเขาทำกันย
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง เป็นการลดต้นทุนที่เห็นผล เกษตรกรสามารถทำได้ คุณดำรงค์ จินะกาศ ประธานลำไยแปลงใหญ่แม่ทา จังหวัดลำพูน และเกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ (ศพก.) การผลิตลำไยคุณภาพ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้แนะนำเทคนิคการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไย ที่ใช้เงินลงทุนต่ำและประหยัดแรงงาน ไม่ต้องขนย้าย รวมทั้งประหยัดการให้น้ำ ประมาณร้อยละ 50 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ประมาณร้อยละ 30 เก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินได้นาน และลดปัญหาหมอกควันจากการเผากิ่งและใบลำไย เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี สังเกตได้จากมีไส้เดือนดินเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดินร่วนซุย รากฝอยแตกใหม่มาก สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ดี ทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์แข็งแรง ในกรณีที่เกษตรกรจะทำลำไยนอกฤดู การราดสารจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย เมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวลำไย หลังเกษตรกรตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มแล้ว ให้นำกิ่งลำไยที่ได้จากการตัดแต่ง ตัดลิดใบแล้ววางกิ่งเรียง
สาหร่ายพวงองุ่นผักมหัศจรรย์ที่มีพลังช่วยฟื้นฟูร่างกาย กินง่าย ให้สัมผัสกรุบกรอบ เคี้ยวเล่นสนุกทุกคำมีวิตามินกระจายจัดเต็ม “สาหร่ายพวงองุ่น” มีถิ่นกำเนิดจากชายฝั่งทะเลในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นหนึ่งในสาหร่ายที่ทานได้ และได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะหนึ่งเลยสาหร่ายพวงองุ่นเขามีคุณค่าทางอาหารสูง! ซึ่งสาหร่ายพวงองุ่นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติส่วนใหญ่มักจะพบตามบริเวณโขดหิน และพื้นทรายใต้ทะเล แน่นอนว่าในปัจจุบันหลังจากสาหร่ายพวงองุ่นกลายเป็นที่นิยม บวกกับมีผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นพืชเศรษฐกิจมีการเพาะเลี้ยงและมีการวิจัยต่างๆ เพื่อขายในประเทศไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศ สำหรับวงการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ สาหร่ายพวงองุ่นถูกเพาะขายครั้งแรกในประเทศฟิลิปปินส์ ตามมาด้วยประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกจัดอันดับเป็นต้นๆ ที่มีผู้บริโภคนิยมทานสาหร่ายพวงองุ่น เห็นชัดได้จากปัจจุบันการเพาะเลี้ยงเริ่มกระจายไปยังประเทศอื่นๆ อีกเช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศจีน และประเทศไทย ที่มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ซึ่งนิยมบริโภคกันมากในภาคใต้และภาคตะวันออก คนในพื้นที่บาง