วันนี้ (9 มกราคม 2561) นายกฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายวีระยุทธ สุขอ้น หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมแสดงความยินดีกับหนังสือพิมพ์มติชน ในเครือบริษัท มติชน จำกัด มหาชน เนื่องในโอกาสครอบ 41 ปีของการจัดตั้ง หนังสือพิมพ์มติชน โดยมีคณะผู้บริหารหนังสือพิมพ์มติชนร่วมให้การต้อนรับ ณ สำนักพิมพ์มติชน
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
MOST POPULAR
ตำลึง หรือที่หลายคนคุ้นเคยในฐานะ “ผักริมรั้ว” แท้จริงแล้วมีถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติเหมาะสมในระบบนิเวศป่า ซึ่งต้องการร่มเงา ความชื้น และพืชพี่เลี้ยงในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ไผ่ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการปลูกป่าในพื้นที่เกษตรผสมผสานอย่างเหมาะสม ตำลึงจึงเกิดขึ้นเองอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ และให้ผลผลิตที่ดี ใบใหญ่ รสชาติดี เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี คุณพอต-อภิวรรษ สุขพ่วง เจ้าของไร่สุขพ่วง อยู่ที่ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ผู้เป็นหัวแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างรายได้ในชุมชน “ไร่สุขพ่วง” นับเป็นไร่ตัวอย่างของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ทำไร่นาสวนผสมอย่างมีไม่ขาดตกบกพร่อง และไร่สุขพ่วงก็มีอะไรใหม่ๆ ให้เราตื่นเต้นได้อยู่เสมอ โดยครั้งนี้พระเอกของเรื่องคือ “ตำลึง” พืชพื้นบ้าน หรือผักริมรั้วที่เรารู้จักกันนี่แหละ หลายคนบอกไม่เห็นจะตื่นเต้นตรงไหน ก็คงจะใช่ถ้าบอกเรามองว่าตำลึงเป็นแค่ผักริมรั้วก็ไม่น่าตื่นเต้นจริงๆ นั่นแหละ แต่ถ้าบอกว่าเขาเอา “ตำลึง” มาบดทำเป็นผงชาเขียว นี่ตื่นเต้นจนตะลึงกันเลยใช่ไหม งั้นตามมาดูกันเลยว่าเขาทำกันย
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเทพารักษ์ได้ยกย่องนายสุรศักดิ์ กระฉอดนอก เป็นเกษตรกรต้นแบบศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน หมู่ที่ 11 บ้านวังกระทะเหนือ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการทำเกษตรผสมผสาน สร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนโดยประเด็นที่หลายคนสนใจเข้ามาเรียนรู้ คือ การปลูกกล้วยหอมทอง 1 ไร่ สร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท/ปี การดูแลรักษาต้นกล้วย ในขั้นตอนการเตรียมดิน นายสุรศักดิ์ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักปรับปรุงดิน คลุกเคล้าด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องโรคตายพราย พร้อมกับจัดการระบบน้ำ แบบน้ำพุ่ง เพื่อให้กล้วยได้น้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ช่วยให้ต้นกล้วยสมบูรณ์และเจริญเติบโตเร็ว จากนั้นบำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตลอดอายุของต้นกล้วย วิธีการปลูกขยายพันธุ์ นายสุรศักดิ์ จะปลูกขยายพันธุ์โดยใช้หน่อกล้วยจากต้นกล้วยที่เก็บผลผลิตแล้ว ซึ่งต้นกล้วย 1 ต้น จะออกหน่อประมาณ 3-5 หน่อ เมื่อเก็บผลผลิตแล้วจะต้องทำการตัดต้นกล้วยนั้นออกทิ้ง เพื่อไม่ให้แย่งอาหาร โดยตัดให้เหลือความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นแม่เป็นอาหารเลี้ยงหน่อเล็ก และเลือกเฉพา
คุณพร้อมพงษ์ คำมุงคุณ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์คนเก่ง ให้ข้อคิดหลักการทำเกษตรเบื้องต้นว่า “ทำการเกษตร ถ้ารู้จักจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะมีพื้นที่กี่ไร่ มีน้อย มีมาก ก็สามารถสร้างรายได้ อย่างไม่ขัดสนได้เช่นกัน คุณพร้อมพงษ์ คำมุงคุณ อยู่บ้านเลขที่ 100 หมูที่ 1 ตำบลหนองบัว อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เจ้าตัวบอกว่า หลังลาออกจากงาน ก็มาเริ่มลุยงานเกษตรแต่ความรู้งานเกษตรมีน้อยมาก รู้แค่ว่าอยากปลูกอยากขายเท่านั้น แต่ไม่รู้วิธีการอื่นๆ เพราะฉะนั้นก่อนลงมือทำ จำเป็นต้องเข้าอบรมตามแหล่งศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ได้มีการลงสนามทำจริง ปลูกจริง ทำให้รู้ว่างานเกษตรกรรมนอกจากจะต้องสู้กับฝนฟ้าอากาศแล้ว ยังต้องสู้กับพ่อค้าคนกลางอีกด้วย กว่าที่ผลผลิตจะไปถึงมือผู้บริโภค ก็เสียเปรียบจนแทบไม่เหลืออะไร จึงได้ข้อคิดแล้วว่า หากคิดจะทำการเกษตร ก่อนลงมือปลูก คือต้องศึกษาหาตลาดก่อน ทางรอดของเกษตรกรคือ ต้องสามารถเป็นได้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้ได้ควบคู่กันไป “เมื่อเข้าใจวิธีการปลูกและการตลาดอย่างลึกซึ้งแล้ว จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ พืชที่เลือกปลูกเป็นอย่างแรกคือ มะนาว เนื่องจากเมื่อปี ’53 ตอนนั้นยังเรียนมหาวิทย