วิวรรณ พยัฆวิเชียร ผู้จัดการส่วนอาวุโส ส่วนประชาสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) แวะมาสวัสดีปีใหม่ กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
MOST POPULAR
ในยุคที่เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกพืชแบบปลอดสารพิษมากขึ้น สมุนไพรพื้นบ้าน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดการใช้สารเคมี หนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ “หนอนตายหยาก” ซึ่งมีสรรพคุณโดดเด่นในการ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะหนอนและแมลงต่างๆ ได้ผลดีแถมปลอดภัยกับคนและสิ่งแวดล้อม รู้จักกับ “หนอนตายหยาก” หนอนตายหยาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Derris elliptica) เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณของไทย มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น “กำลังช้างเผือก”, “เครือเขาหนัง”, หรือ “บงตายหยาก” นิยมใช้รากและเถ้าเป็นส่วนผสมหลักในการทำยากำจัดแมลง จุดเด่นอยู่ที่สาร โรติโนน (Rotenone) ที่มีอยู่ในรากและเปลือกลำต้น ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ในการทำลายระบบประสาทของแมลง ทำให้แมลงหยุดกิน หยุดเคลื่อนไหว และตายในที่สุด สรรพคุณในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยไม่ทำอันตรายต่อพืชหรือผู้บริโภค จึงเหมาะกับเกษตรอินทรีย์หรือผู้ที่ต้องการลดการใช้สารเคมีในสวนของตน หนอนตายหยากสามารถใช้ไล่และฆ่าแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น วิธีการทำน้ำหมักสมุนไพรหนอนตายหยาก ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้เจือจางน้ำหมัก 100 ซีซี ต่อน
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง เป็นการลดต้นทุนที่เห็นผล เกษตรกรสามารถทำได้ คุณดำรงค์ จินะกาศ ประธานลำไยแปลงใหญ่แม่ทา จังหวัดลำพูน และเกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ (ศพก.) การผลิตลำไยคุณภาพ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้แนะนำเทคนิคการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไย ที่ใช้เงินลงทุนต่ำและประหยัดแรงงาน ไม่ต้องขนย้าย รวมทั้งประหยัดการให้น้ำ ประมาณร้อยละ 50 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ประมาณร้อยละ 30 เก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินได้นาน และลดปัญหาหมอกควันจากการเผากิ่งและใบลำไย เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี สังเกตได้จากมีไส้เดือนดินเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดินร่วนซุย รากฝอยแตกใหม่มาก สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ดี ทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์แข็งแรง ในกรณีที่เกษตรกรจะทำลำไยนอกฤดู การราดสารจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย เมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวลำไย หลังเกษตรกรตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มแล้ว ให้นำกิ่งลำไยที่ได้จากการตัดแต่ง ตัดลิดใบแล้ววางกิ่งเรียง
ถั่วพู ไม่ใช่ ถั่วพลู (ถั่ว ก็ ถั่ว พลู ก็ พลู) ชื่อสามัญ : ถั่วพู, winged bean, princess bean ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus วงศ์ : Leguminosae ถั่วพู มักถูกเรียกผิดๆ ว่า ถั่วพลู เป็นประจำ ที่จริงต้องเรียกว่า ถั่วพู จึงจะถูกต้อง ผู้เขียนเห็นใครเรียกถั่วพลู จะหงุดหงิดทุกครั้งไป คนตั้งชื่อเขาคิดดีคิดถูกแล้ว ที่เรียกว่า ถั่วพู ก็เพราะลักษณะของฝัก จะเป็น พู มี 4 แฉก ซึ่งตรงกับ คอมมอนเนม ภาษาอังกฤษว่า winged bean หากรักกันจริงทราบแล้วโปรดเรียกให้ถูกกันสักนิดนะครับ ภาษาไทยของเรายอดเยี่ยมอยู่แล้ว ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ดีเถอะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ถั่วพู เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี (Herbaceous perennials plant) เมื่อถึงวัยแก่เต็มที่ ส่วนลำต้นที่เป็นเถาเหนือดินก็จะแห้งเหี่ยวตายไป เหลือไว้เพียงหัวหรือลำต้นใต้ดิน แอบซุ่มรอคอยเวลาเจริญเติบโตได้ในฤดูฝนถัดไป ดอกถั่วพูจะเป็นชนิดดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีสีม่วงอ่อนอมขาว หากมีค้างให้ก็สามารถเลื้อยไปได้ไกลๆ ระบบรากของถั่วพูจะแข็งแรงมาก มีจำนวนปมจุลินทรีย์ (Rhizobium) ที่ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้มากกว่าถั่วชนิดอื่นด้วยกัน จึงเหมาะสำหรับปลูกบำร
กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ แนะ 7 แนวทางดูแลรักษา “ กล้วย ” ในช่วงฤดูฝน ดังนี้คือ 1. หมั่นตรวจดูแปลงกล้วยสม่ำเสมอ 2. ระบายน้ำในสวนให้ไหลสะดวก ไม่ท่วมขัง 3. ตัดแต่งใบแห้ง ใบเป็นโรคและหน่อส่วนเกิน 4. ให้น้ำต้นกล้วยเพิ่มเติม ในช่วงฝนทิ้งช่วง 5. เฝ้าระวังโรคและแมลง หากพบให้ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัด 6. กำจัดวัชพืชในแปลงและค้ำยันต้น 7. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น N-P-K เกษตรกรควรใส่ใจดูแลต้นกล้วยในช่วงหน้าฝนอย่างใกล้ชิดเพราะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคตายพรายในกล้วย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคตายพรายหรือโรคปานามาหรือโรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเท