ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน คนใกล้ชิดของ นายกองโท พเยาว์ เนียะแก้ว อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม หรือนายกยัพ อดีตนายก อบจ. ขวัญใจประชาชนชาวจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า
นายกองโท พเยาว์ เนียะแก้ว ได้โพสต์ส่งข้อความให้กำลังใจทีมท่อสูบน้ำซิ่งมาตลอดตั้งแต่วันแรก และคอยให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังมาตลอด และล่าสุดหลังจากทีมท่อสูบน้ำซิ่งพญานาค ของพี่น้องชาวนครปฐม ที่ไปสร้างชื่อเสียง สร้างคุณงามความดีที่ถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จนสำเร็จภารกิจช่วยน้องๆออกมาได้แล้ว และเตรียมตัวกลับนครปฐมนั้น ทางนายกองโท พเยาว์ เนียะแก้ว ได้โพสต์ข้อความส่งมาในไลน์ว่า “ขอให้เดินทางปลอดภัย”, “ค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทาง บอกทุกคนเบิกได้จากพเยาว์”, “กลับมาถึงแล้วอีกสองสามวันจะจัดงานเลี้ยงให้สมเกียรติคนดี ทำดี แทนคุณแผ่นดิน”
ขณะที่ นายชยาทิต หสตังไทรแก้ว หรือนายกทอม นิลเพชร กล่าวว่า นายกองโท พเยาว์ เนียะแก้ว ให้การสนับสนุน และให้คำปรึกษากับตน และทีมงานตลอดตั้งแต่แรก โทร.มาให้กำลังใจตลอด และหรือขาดเหลืออะไรให้บอกนาย พวกเราไม่เคยลืมคำสอนของนายที่บอกเราเสมอว่า “ทำความดีไป ไม่ต้องหวังผลตอบแทน วันหนึ่งความดีที่ทำจะหนุนเราเอง”
ด้านผู้สื่อข่าวรายงานที่ประจำการอยู่จังหวัดเชียงราย พบขบวนรถทีมท่อสูบน้ำสิงห์อาสา เคลื่อนรถผ่านหน้า อบต. โป่งผา ประมาณ 4-6 คัน
ที่มา มติชนออนไลน์
MOST POPULAR
ก่อนที่จะลงมือปลูกไม้เศรษฐกิจ เรามารู้จักความหมายกันก่อนดีกว่า ไม้เศรษฐกิจ หมายถึง ไม้ยืนต้นทุกชนิด รวมถึงไผ่ที่ปลูก หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่มีการใช้ประโยชน์เนื้อไม้ หรือผลิตผลอื่นที่ไม่ใช่เนื้อไม้เพื่อการค้า ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมว่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจเป็นไม้ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งให้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้ปลูก นำไปสู่แนวทางส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ตามนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดินอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไม้หวงห้าม เหมือนการปลูกพืชทั่วไป การตัด ขาย ขนย้าย แปรรูป ไม่ต้องขออนุญาตหรือจะให้เจ้าหน้าที่รับรองไม้เพื่อการค้าการส่งออกก็ได้ โดยการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวบรวมไม้เศรษฐกิจ 5 ชนิดมาฝาก และเหมือนจะเป็นไม้นอกสายตาที่หลายคนยังไม่รู้ว่าไม้ชนิดนี้เป็นไม้เศรษฐกิจและมีเนื้อไม้ที่สวยงามมากๆ แถมผลยังกินได้อีกด้วย 1. มะริด มะริดเป็นไม้โบราณดั้งเดิมของไทย อยู่ในกลุ่มไม้เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดี เนื่องจาก
การที่คิดนอกกรอบอย่างหนุ่มช่างแอร์ที่สู้ชีวิตคิดค้นและต้องทำให้ได้จนประสบความสำเร็จ กับการเลี้ยงปูดำทะเลในที่ๆ ไกลจากทะเล และเลี้ยงแบบออร์แกนิกด้วย เท่ากับว่ายกทะเลมาไว้ที่ภาคเหนือคือ หนุ่มโอม หรือ นายธนกฤต พลอยงาม ช่างแอร์วัย 36 ปี ผู้นี้จนเป็นที่ฮือฮา และสมควรยกย่องในความคิดนอกกรอบของเขาให้เป็นผู้นำในการศึกษาทดลองการเลี้ยงปูดำทะเล จนประสบความสำเร็จ สร้างรายได้หลายหมื่นบาทต่อเดือน ยังไม่พอแค่นี้ หนุ่มโอมยังเตรียมขยายพื้นที่เพิ่มเพื่อเลี้ยงปูดำทะเลเพื่อรองรับออร์เดอร์จากลูกค้าที่สั่งจองมาไม่ขาดสาย อยู่ภาคเหนือได้กินปูทะเลสดๆ เป็นๆ แถมยังรสชาติดี เนื้อหวาน และปลอดสารพิษหรือออร์แกนิกอีกด้วย ลูกค้าต่างติดอกติดใจ สั่งจองออร์เดอร์ข้ามปี ได้กินของสด สะอาด รสชาติดี ต้องจากฟาร์มที่พิษณุโลกเท่านั้น “ผมภูมิใจจากการลองผิดลองถูก หมดค่าใช้จ่ายไปมากมายแต่ไม่ท้อ จนในที่สุดได้มาพบว่าน้ำเกลือง่ายๆ ไม่ต้องมีอะไรยุ่งยาก ผมเลี้ยงในน้ำเกลือมา 3 ปีโดยที่ไม่ต้องเติมเกลือ เติมแค่น้ำสะอาดเท่านั้น ที่ว่าน้ำสะอาดได้ระเหยออกไป ก็เติมน้ำสะอาดทดแทน หลักการแค่นี้ก็เลี้ยงปูทะเลดำได้แล้วครับ” นายธนกฤต พลอยงาม เจ้าของธ
โกสนจัดเป็นไม้มงคล ที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดี เนื่องจากชื่อ “ โกสน” เป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “กุศล” หมายถึง การสร้างบุญงาม ความดี จึงนิยมปลูกโกสนไว้หน้าบ้าน ในทางทิศตะวันออกของบ้าน มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นไม้เสริมสิริมงคล ให้ทุกคนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ความมีเสน่ห์ของโกสนอยู่ที่ลวดลายใบที่สวยงามสลับเฉดสีต่างๆ เช่น เฉดสีชมพูก็จะมีสีเขียวเข้มมีชมพูเข้ม เส้น ลายใบชัดเจน เฉดสีเหลืองก็จะออกสีไล่เลี่ยกันในโทนเหลือง เป็นต้น โกสน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า โคร-ออน (Croton) เป็นไม้ประดับประเภทไม้พุ่ม ที่มีใบเป็นจุดเด่น โดยใบมีรูปทรงและสีที่สวยงามแตกต่างไปกับพรรณไม้อื่นๆ นิยมเป็นไม้กระถาง ให้มีลักษณะทรงพุ่มเล็กๆ หากต้องการให้มีทรงพุ่มใหญ่ จะใช้วิธีปลูกลงดิน โกสนมีทั้งใบเล็ก-ใบใหญ่ ต้นโกสนเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดตั้งแต่ พุ่มเล็ก จนถึงพุ่มใหญ่ ลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้นี้คือ ทรงของใบมีหลายลักษณะผันแปรตามธรรมชาติ และมีเด่นที่ใบมีหลายสี เช่น เหลือง ส้ม ม่วง ขาว ชมพู ดำ และยังมีลักษณะใบลูกผสม ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา โกสนที่ใช้เป็นไม้ประดับงดงามนั้นมีชนิด (species) เดียวคือ โคเดียมหรือโคดิเอี้ยม
ถั่วพู ไม่ใช่ ถั่วพลู (ถั่ว ก็ ถั่ว พลู ก็ พลู) ชื่อสามัญ : ถั่วพู, winged bean, princess bean ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus วงศ์ : Leguminosae ถั่วพู มักถูกเรียกผิดๆ ว่า ถั่วพลู เป็นประจำ ที่จริงต้องเรียกว่า ถั่วพู จึงจะถูกต้อง ผู้เขียนเห็นใครเรียกถั่วพลู จะหงุดหงิดทุกครั้งไป คนตั้งชื่อเขาคิดดีคิดถูกแล้ว ที่เรียกว่า ถั่วพู ก็เพราะลักษณะของฝัก จะเป็น พู มี 4 แฉก ซึ่งตรงกับ คอมมอนเนม ภาษาอังกฤษว่า winged bean หากรักกันจริงทราบแล้วโปรดเรียกให้ถูกกันสักนิดนะครับ ภาษาไทยของเรายอดเยี่ยมอยู่แล้ว ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ดีเถอะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ถั่วพู เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี (Herbaceous perennials plant) เมื่อถึงวัยแก่เต็มที่ ส่วนลำต้นที่เป็นเถาเหนือดินก็จะแห้งเหี่ยวตายไป เหลือไว้เพียงหัวหรือลำต้นใต้ดิน แอบซุ่มรอคอยเวลาเจริญเติบโตได้ในฤดูฝนถัดไป ดอกถั่วพูจะเป็นชนิดดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีสีม่วงอ่อนอมขาว หากมีค้างให้ก็สามารถเลื้อยไปได้ไกลๆ ระบบรากของถั่วพูจะแข็งแรงมาก มีจำนวนปมจุลินทรีย์ (Rhizobium) ที่ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้มากกว่าถั่วชนิดอื่นด้วยกัน จึงเหมาะสำหรับปลูกบำร