ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชลเกียรติ ขอประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รับมอบหน้ากากอนามัย N95 จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) และคนงานของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำหรับป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ ณ ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
MOST POPULAR
ก่อนที่จะลงมือปลูกไม้เศรษฐกิจ เรามารู้จักความหมายกันก่อนดีกว่า ไม้เศรษฐกิจ หมายถึง ไม้ยืนต้นทุกชนิด รวมถึงไผ่ที่ปลูก หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่มีการใช้ประโยชน์เนื้อไม้ หรือผลิตผลอื่นที่ไม่ใช่เนื้อไม้เพื่อการค้า ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมว่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจเป็นไม้ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งให้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้ปลูก นำไปสู่แนวทางส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ตามนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดินอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไม้หวงห้าม เหมือนการปลูกพืชทั่วไป การตัด ขาย ขนย้าย แปรรูป ไม่ต้องขออนุญาตหรือจะให้เจ้าหน้าที่รับรองไม้เพื่อการค้าการส่งออกก็ได้ โดยการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวบรวมไม้เศรษฐกิจ 5 ชนิดมาฝาก และเหมือนจะเป็นไม้นอกสายตาที่หลายคนยังไม่รู้ว่าไม้ชนิดนี้เป็นไม้เศรษฐกิจและมีเนื้อไม้ที่สวยงามมากๆ แถมผลยังกินได้อีกด้วย 1. มะริด มะริดเป็นไม้โบราณดั้งเดิมของไทย อยู่ในกลุ่มไม้เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดี เนื่องจาก
ในยุคที่เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกพืชแบบปลอดสารพิษมากขึ้น สมุนไพรพื้นบ้าน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดการใช้สารเคมี หนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ “หนอนตายหยาก” ซึ่งมีสรรพคุณโดดเด่นในการ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะหนอนและแมลงต่างๆ ได้ผลดีแถมปลอดภัยกับคนและสิ่งแวดล้อม รู้จักกับ “หนอนตายหยาก” หนอนตายหยาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Derris elliptica) เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณของไทย มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น “กำลังช้างเผือก”, “เครือเขาหนัง”, หรือ “บงตายหยาก” นิยมใช้รากและเถ้าเป็นส่วนผสมหลักในการทำยากำจัดแมลง จุดเด่นอยู่ที่สาร โรติโนน (Rotenone) ที่มีอยู่ในรากและเปลือกลำต้น ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ในการทำลายระบบประสาทของแมลง ทำให้แมลงหยุดกิน หยุดเคลื่อนไหว และตายในที่สุด สรรพคุณในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยไม่ทำอันตรายต่อพืชหรือผู้บริโภค จึงเหมาะกับเกษตรอินทรีย์หรือผู้ที่ต้องการลดการใช้สารเคมีในสวนของตน หนอนตายหยากสามารถใช้ไล่และฆ่าแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น วิธีการทำน้ำหมักสมุนไพรหนอนตายหยาก ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้เจือจางน้ำหมัก 100 ซีซี ต่อน
โกสนจัดเป็นไม้มงคล ที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดี เนื่องจากชื่อ “ โกสน” เป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “กุศล” หมายถึง การสร้างบุญงาม ความดี จึงนิยมปลูกโกสนไว้หน้าบ้าน ในทางทิศตะวันออกของบ้าน มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นไม้เสริมสิริมงคล ให้ทุกคนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ความมีเสน่ห์ของโกสนอยู่ที่ลวดลายใบที่สวยงามสลับเฉดสีต่างๆ เช่น เฉดสีชมพูก็จะมีสีเขียวเข้มมีชมพูเข้ม เส้น ลายใบชัดเจน เฉดสีเหลืองก็จะออกสีไล่เลี่ยกันในโทนเหลือง เป็นต้น โกสน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า โคร-ออน (Croton) เป็นไม้ประดับประเภทไม้พุ่ม ที่มีใบเป็นจุดเด่น โดยใบมีรูปทรงและสีที่สวยงามแตกต่างไปกับพรรณไม้อื่นๆ นิยมเป็นไม้กระถาง ให้มีลักษณะทรงพุ่มเล็กๆ หากต้องการให้มีทรงพุ่มใหญ่ จะใช้วิธีปลูกลงดิน โกสนมีทั้งใบเล็ก-ใบใหญ่ ต้นโกสนเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดตั้งแต่ พุ่มเล็ก จนถึงพุ่มใหญ่ ลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้นี้คือ ทรงของใบมีหลายลักษณะผันแปรตามธรรมชาติ และมีเด่นที่ใบมีหลายสี เช่น เหลือง ส้ม ม่วง ขาว ชมพู ดำ และยังมีลักษณะใบลูกผสม ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา โกสนที่ใช้เป็นไม้ประดับงดงามนั้นมีชนิด (species) เดียวคือ โคเดียมหรือโคดิเอี้ยม
ถั่วพู ไม่ใช่ ถั่วพลู (ถั่ว ก็ ถั่ว พลู ก็ พลู) ชื่อสามัญ : ถั่วพู, winged bean, princess bean ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus วงศ์ : Leguminosae ถั่วพู มักถูกเรียกผิดๆ ว่า ถั่วพลู เป็นประจำ ที่จริงต้องเรียกว่า ถั่วพู จึงจะถูกต้อง ผู้เขียนเห็นใครเรียกถั่วพลู จะหงุดหงิดทุกครั้งไป คนตั้งชื่อเขาคิดดีคิดถูกแล้ว ที่เรียกว่า ถั่วพู ก็เพราะลักษณะของฝัก จะเป็น พู มี 4 แฉก ซึ่งตรงกับ คอมมอนเนม ภาษาอังกฤษว่า winged bean หากรักกันจริงทราบแล้วโปรดเรียกให้ถูกกันสักนิดนะครับ ภาษาไทยของเรายอดเยี่ยมอยู่แล้ว ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ดีเถอะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ถั่วพู เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี (Herbaceous perennials plant) เมื่อถึงวัยแก่เต็มที่ ส่วนลำต้นที่เป็นเถาเหนือดินก็จะแห้งเหี่ยวตายไป เหลือไว้เพียงหัวหรือลำต้นใต้ดิน แอบซุ่มรอคอยเวลาเจริญเติบโตได้ในฤดูฝนถัดไป ดอกถั่วพูจะเป็นชนิดดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีสีม่วงอ่อนอมขาว หากมีค้างให้ก็สามารถเลื้อยไปได้ไกลๆ ระบบรากของถั่วพูจะแข็งแรงมาก มีจำนวนปมจุลินทรีย์ (Rhizobium) ที่ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้มากกว่าถั่วชนิดอื่นด้วยกัน จึงเหมาะสำหรับปลูกบำร