พืชทำเงิน
สารกำจัดวัชพืช นับเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรไทยนิยมใช้กันมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากตัวเลขล่าสุดพบว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าสารกำจัดวัชพืช ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2559 มากถึง 51,347.43 ตัน โดยเป็นปริมาณสารสำคัญ จำนวน 28,396.18 ตัน หากคำนวณเป็นตัวเงินถึง 4,162.49 ล้านบาท ดังนั้น หากเกษตรกยังเห็นว่าจำเป็นต้องใช้สารกำจัดวัชพืช ต้องมีข้อใส่ใจ โดยเฉพาะการใช้ต้องถูกวิธีและถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งใช้อย่างไรนั้น นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ให้ข้อแนะนำถึง 4 เทคนิคหลัก ประกอบด้วย หนึ่ง เลือกชนิดสารกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัชพืชและชนิดพืชที่ปลูก เช่น ใช้สารไกลโฟเสท และพาราควอต พ่นกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล ส่วนสารอาทราซีนใช้ฉีดพ่นคุมหญ้าวัชพืชหลังปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย และข้าวโพด เป็นต้น สอง ใช้ในอัตราที่เหมาะสมตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร อาทิ สารไกลโฟเสท แนะนำให้ใช้ใน อัตรา 500 ซีซี และสารพาราควอต 400 ซีซี ผสมน้ำ 80 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ สารอาทราซีน สูตร 80%WP ให้ใช้ใน อัตรา 320 ซีซี ผสมน้ำ 80 ลิตร ฉีดพ่นคลุมพื้นที่ 1 ไร่ สาม ใช้ให้ตรงต
ข้าว ยังเป็นพืชอาหารหลักที่สำคัญของมนุษย์ ตามสถิติถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ปริมาณการผลิตข้าวของโลก ผลิตได้ 470.6 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งขึ้นในหลายประเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประจำเดือนพฤษภาคม 2559) ประเทศไทย ยังเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้กันเลย มาดูประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก มี จีน อินเดีย บังกลาเทศ เวียดนาม และไทย มีปริมาณการผลิต 145, 103, 35, 28 และ 16 ล้านตันข้าวสาร ตามลำดับ ข้อน่าสังเกต ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลง หากภาวะปกติ ประเทศไทยผลิตข้าวได้ 20 ล้านตันข้าวสาร และในปีนี้ ประเทศผู้ส่งออกข้าวสำคัญ มี ไทย อินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่งออกจำนวน 10.0, 9.0, 7.0 และ 3.0 ล้านตันข้าวสาร และสำหรับประเทศนำเข้าข้าว มี ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ อียู ในปริมาณ 2.5, 2.0, 2.0 และ 1.6 ล้านตันข้าวสาร กลับมาที่ฟิลิปปินส์ ยังไม่สามารถผลิตข้าวให้พอเพียงบริโภคภายในประเทศ แม้จะเป็นที่ตั้งของ สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Rescarch Institute : IRRI)
ธรรมชาติได้จัดสรรต้นไม้และระบบนิเวศไว้อย่างสมดุลดีแล้ว เราจึงควรให้ความสำคัญและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเหมาะสม และหาหนทางที่จะอนุรักษ์ธรรมชาตินั้นไว้ให้คงอยู่ตลอดไป แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกษตรกรได้ใช้สารปราบศัตรูพืช โรคพืชและปุ๋ยเคมีกันอย่างกว้างขวาง ส่งผลเสียต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเราเริ่มเรียนรู้จากการใช้สารเคมีในการปลูกพืชอย่างเกินความจำเป็นว่ามีบทเรียนอย่างไรทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค คนส่วนหนึ่งตระหนักในสิ่งนี้และพยายามขวนขวายที่จะหาพืชผักที่ไร้สารเคมีมาทดแทนในการบริโภคประจำวัน เราจะเห็นข่าวคนใกล้ตัวเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งด้วยวัยเพียงยี่สิบกว่าปีกันบ่อย ทั้งที่เมื่อก่อนคนสูงวัยจึงมักจะเป็นโรคนี้เนื่องจากการสะสมของสารพิษต้องใช้เวลานาน แต่ปัจจุบันการก่อตัวของโรคมะเร็งในร่างกายใช้เวลาไม่นาน เป็นเพราะเราใช้สารพิษในพืชผักมากขึ้นทำให้ระยะเวลาของการสะสมสารพิษสั้นลง เมื่อเดือนมิถุนายน มีการเปิด “ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลห้วยขุนราม” อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณสุจิตรา ฉ่ำเพชร หรือ ป้าอร หญิงเหล็กของวง
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งทวีความรุนแรง และขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ จ.ชัยนาท ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องงดการเพาะปลูกเพราะไม่มีน้ำเพียงพอ โดยมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งใน อ.สรรพยาหันมาปลูกพริกด้วยระบบน้ำหยดเเทน สามารถสร้างรายได้มากกว่าการทำนา นางสุภาพร โฮงยู อายุ 45 ปี เกษตรกรใน อ.สรรพยาเปิดเผยว่า ได้เปลี่ยนจากการทำนาปรังมาเป็นการยกร่องปลูกพริกพันธุ์ซุปเปอร์ฮอต บนเนื้อที่ 1 ไร่ หลังพื้นที่ อ.สรรพยาประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก แต่ได้รับการชักชวนจากผู้นำท้องถิ่นให้เข้าร่วมศึกษาดูงานการปลูกพริกด้วยระบบน้ำหยด นางสุภาพรกล่าวว่า ในครั้งแรกต้องมีการลงทุนทั้งหมด ทั้งค่ายกร่อง ค่าต้นพันธุ์ และค่าอุปกรณ์ระบบน้ำหยด รวมประมาณ 10,000 บาท และทำให้พบข้อดีของการใช้ระบบน้ำหยดคือ ประหยัดน้ำซึ่งรวมถึงประหยัดต้นทุนการสูบน้ำด้วย การให้ปุ๋ยก็ทำได้ง่ายเพียงผสมปุ๋ยลงในถังระบบน้ำแล้วเปิดวาล์วให้ปุ๋ยผสมน้ำหยดลงโคนต้นวันละ 30-40 นาที โดยไม่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากเหมือนการให้ปุ๋ยแบบใช้คนหว่านทั่วไป นางสุภาพรกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่ออายุครบ 90 วันพริกพันธุ์ซุปเปอร์ฮอตในแปล
หน้าแล้งปีนี้ราคามะพร้าวน้ำหอมที่หน้าสวนลูกละ 25-27 บาท สูงสุดชนิดไม่เคยมีมาก่อน เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนี้ ก็เพราะกระแสอาหารเพื่อสุขภาพมาแรงทั่วโลก โดยถือว่าน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ดื่มเข้าไปร่างกายใช้ประโยชน์ได้ทันที ยิ่งน้ำมะพร้าวของไทยมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ยิ่งได้รับการตอบรับ ซึ่งประเทศอื่นๆมีไม่เหมือนเรา จากราคามะพร้าวน้ำหอมที่เย้ายวนใจนี่เอง ทำให้เกษตรกรไทยเร่งผลิต … ที่มีปลูกอยู่แล้วก็มาคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้มีผลผลิตดี ส่วนที่ยังไม่ปลูกก็คิดว่าตนจะปลูกอย่างไรให้ได้ผลผลิตเหมือนคนอื่นเขาบ้าง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย “คิดก่อนปลูก” ไม่ใช่ปลูกแล้วค่อยมาคิด ขอนำมุมมองของ คุณเปรม ณ สงขลา บรรณาธิการใหญ่ วารสารสารเคหการเกษตรมานำเสนอ เพราะว่าเป็นคนหนึ่งที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมอยู่ที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี จากเริ่มแรกปลูกเพียง 5 ไร่ ก็จะเพิ่มอีก 30 ไร่ แสดงว่าต้องมีอะไรดีอย่างแน่นอน และสิ่งสำคัญในวันเสาร์ที่ 21 พ.ค. 59 จะเป็นหนึ่งในวิทยากรที่จะมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์บนเวทีสัมมนา “มะพร้าวน้ำหอม โอกาสทองของเกษตรกรไทย” ที่จะจัดขึ้น ณ ม.เกษตรฯ
“เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม” คำขวัญประจำจังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีหลายคนอยากมาเยี่ยมเยือนสัมผัสความหนาวเย็น และธรรมชาติที่สวยงาม ภูกระดึง เมื่อเอ๋ยชื่อต่างรู้จักทั้งชาวไทยและต่างชาติ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของ จังหวัดเลย ด้วยความที่จังหวัดเลยยังคงมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดได้ผลดี และพร้อมที่จะกลายเป็นของฝากให้กับผู้มาเยือนได้ พืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเลย ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มะม่วง ข้าวเปลือกเหนียวนาปี อ้อยโรงงาน มะขามหวาน มันสำปะหลัง ขิง และกล้วยน้ำว้า จึงทำให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเลย เข้ามาพัฒนาพันธุ์พืช ให้มีความแข็งแรง ปราศจากแมลงศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร ข้าวโพดตักหงาย เป็นข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวเมล็ดสีม่วงที่นิยมปลูกกันมากในจังหวัดเลย โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆ เช่น อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว และมีปลูกกันบ้างในอำเภอท่าลี่และอำเภอเมือง ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกรวมกั
คุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ เจ้าของสวนบ้านวังทอง เลขที่ 90 หมู่ 4 ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โทร. 056-771430 เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนพื้นที่เพียง 10 ไร่เศษ แต่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิดในแปลงเดียวกัน มีการจัดการเรื่องการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ามาทุกวัน คุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ ยังมีความเชี่ยวชาญใน“การพัฒนาพันธุ์พืช” หลายคนไม่ทราบว่าฝรั่งไม่มีเมล็ดพันธุ์ “บางกอกแอ๊ปเปิ้ล” เป็นฝรั่งไทยที่เกิดจากการผสมพันธุ์และเจ้าของฝรั่งพันธุ์นี้ก็คือคุณดำรงศักดิ์และความก้าวหน้าของการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งไม่ได้หยุดลงแค่นั้น, ปัจจุบันคุณดำรงศักดิ์ได้ประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์ฝรั่งได้ฝรั่งพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีกหลายสายพันธุ์ อาทิ สามสีกรอบ, แดงสยาม, ทับทิมสยาม ฯลฯ “บางกอกแอ๊ปเปิ้ล” ฝรั่งไม่มีเมล็ดผลงานที่น่าภูมิใจ “ฝรั่ง” จัดเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภคกันทั่วไปและมีคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากนั้นยังจัดเป็นผลไม้ที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิตได้ทั้งปี ในอดีตพันธุ์ฝรั่งที่เกษตรกรนิยมปลูกและคนไทยรู้จักดีก็คือ พันธุ์แป้นสีทอง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดก
คุณบุญ แก้วภิภพ เกษตรกรเจ้าของสวนผักหวานป่า เล่าว่า มีพื้นที่ทั้งหมด 49 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่นา 30 ไร่ อ้อย 14 ไร่ และพื้นที่ป่าซึ่งมีพื้นที่ป่าเต็งรังเป็นป่าไม้ผลัดใบ ประมาณ 5 ไร่ ในช่วงปี 2551 เริ่มมีแนวความคิดอยากทำการเกษตรที่นอกเหนือจากทำนาข้าว จึงมาพิจารณาสวนผืนป่าเต็งรังที่มีอยู่ หากทำไร่ก็ต้องถางป่า ตัดต้นไม้ออก เกิดความเสียดายต้นไม้ และยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ทั้งพืชผักท้องถิ่น ทั้งเห็ดป่า และสัตว์ป่า ดังนั้น จึงปรึกษากับครอบครัว หาข้อมูล สรุปว่า ผักหวานป่า เหมาะที่สุด เนื่องจากในพื้นที่ป่ามีต้นผักหวานป่าอยู่เดิมแล้ว และเป็นอาหารของคนอีสานที่ชอบรับประทาน ประกอบกับช่วงนั้นต้นผักหวานป่าตามธรรมชาติเริ่มลดลง หายาก จึงมีแนวคิดอยากลองปลูก ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ป่าไปในตัว สวนกระแสของคนท้องถิ่นที่ถางป่าทำไร่ในขณะนั้น จึงถูกมองว่าเป็นคนสวนกระแส ปลูกในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะผักหวานป่าปลูกยาก มีคนในพื้นที่ลองปลูกมาแล้วหลายคนก็ไม่สามารถดูแลรักษาให้รอดได้ ยิ่งทำให้อยากลองเพื่อพิสูจน์ตนเองให้คนอื่นๆ เห็นว่า ทำได้ จึงตัดสินใจหาข้อมูล เดินทางหาเมล็ดผักหว
จากการเปิดเผยข้อมูลของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ถึงผลการสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้อินทรีย์ หลายรายการพบสารเคมีตกค้างที่สูงเกินค่ามาตรฐานกำหนด ข้อมูลนี้สร้างความตื่นตัวให้กับผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก และเมื่อค่ามาตรฐานความปลอดภัย ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือ พฤติกรรมการเลือกซื้อของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปด้วย ก่อนหยิบจับสินค้าใส่ตะกร้าต้องสืบค้นหาข้อมูลให้รู้ชัด มาจากแหล่งไหน รูปแบบการปลูกเป็นอย่างไร มีวิธีการตรวจสอบไหม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ทางมูลนิธิสังคมสุขใจ หนึ่งในหน่วยงานที่ขับเคลื่อนวิถีเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ สามพรานโมเดล จึงจัดทริปพิเศษ พาลูกค้าตลาดสุขใจสัญจร ที่สนใจในเรื่องเกษตรอินทรีย์ ทั้งพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สื่อมวลชน และภาคเอกชน อย่าง บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี และนครปฐม ไปพบคนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของเกษตรอินทรีย์ ภายใต้กิจกรรม “Shop สุขใจพาเที่ยวสวน” ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อสัมผัสวิถีชีวิต แนวคิด และการเอาใจใส่ดูแลผลผลิตของเ
“ทุเรียนปราจีน” ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) อย่างเป็นทางการ มีผลตั้งแต่ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งการทำสวนทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ ไม่ได้เน้นการทำสวนแบบจำนวนมาก โดยเกษตรกรแต่ละรายจะมีสวนทุเรียนที่สามารถดูแลกันเองได้ภายในครอบครัว จึงทำให้ผลผลิตที่ได้แต่ละปีมีการดูแลอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งมีการใส่ใจในเรื่องของการผลิตให้ได้มาตรฐาน จีเอพี (GAP) ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด คุณธัญญรัตน์ ชาญยงค์ อยู่บ้านเลขที่ 127/1 หมู่ที่ 2 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ได้ทำสวนทุเรียนปลูกอยู่รอบบริเวณบ้านรวมกับพันธุ์ไม้อื่นๆ เมื่อถึงหน้าฤดูกาลทุเรียนออกผลก็จะดูแลอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี ผลผลิตได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้า และเมื่อทุเรียนหมดฤดูกาลไปก็จะได้ผลผลิตจากไม้อื่นทำรายได้แทน เธอจึงมีรายได้จากพืชหลากหลายชนิดทำรายได้ตลอดทั้งปี คุณธัญญรัตน์ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เธอจำความได้ตั้งแต่สมัยเด็ก ครอบครัวของเธอก็มีสวนไม้ผลอยู่รอบบริเวณบ้าน โดยเน้นเป็นทุเรียนพันธุ์โบราณเป็นหลัก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่