คติสัญลักษณ์ของพระนั่ง : คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรม

คติสัญลักษณ์ของพระนั่ง – หลังจากอธิบายคติ สัญลักษณ์ ความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า พระนอน ที่มีขนาดใหญ่ในประเทศมาพอสมควร ครั้งนี้จะอธิบายคติสัญลักษณ์ ของพระพุทธรูปอีกชนิดหนึ่ง (เฉพาะขนาดใหญ่) ที่ เป็นที่รู้จักกันดีของพุทธศาสนิกชนอีกรูปแบบที่เรียกว่า พระนั่ง

พระนั่งขนาดใหญ่ในประเทศที่ประดิษฐานอยู่ในวัดต่างๆ มีหลายรูปแบบ เรียกว่า ปางต่างๆ นั่งราบก็มี นั่งห้อยพระบาทหรือขาก็มี แต่ที่สำคัญก็คือ การใช้อิริยาบถที่เป็นการแสดงธรรมที่เรียกเป็นภาษาพระคือ มุทรา หรือท่าต่างๆ เป็นคติสัญลักษณ์ในการแสดงธรรมะว่าด้วยเรื่องใด

พระพุทธรูปที่นำมาเล่ามาอธิบายนี้ ขอเริ่มที่พระพุทธรูปศิลาสีเขียวเก่าแก่ อยู่ในยุคต้นๆ ของพระพุทธรูปในประเทศไทย เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี หรือรูปแบบเรียกว่า พระคันธารราฐ (มีเรือนแก้วรอบพระเศียรเป็นศิลปะแบบจีน) อยู่ที่วิหารหลักข้างพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรี อยุธยา

เดิมอยู่ที่วัดมหาธาตุ เกาะเมืองอยุธยาที่นักโบราณคดีเชื่อกันว่า อยู่ที่วัดทุ่งพระเมรุ จ.นครปฐม บันทึกของพระยาไชยวิชิตผู้บูรณะวัดหน้าพระเมรุ ว่าพระพุทธรูปองค์นี้ พระอุบาลีมหาเถระนำมาจากศรีลังกา

เป็นพระพุทธรูปปางนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์วางอยู่บนพระเพลา (เข่า) ทอดพระเนตรดูต่ำ เป็นลักษณะของพระนั่งสมาธิทำวิปัสสนา พิจารณาเรื่องของมหาสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ การพิจารณากาย เวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์) จิต และธรรม

โดย…ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน