ชมบ้านดำ-วัดขาว ศิลปะนรก-สวรรค์

ชมบ้านดำ-วัดขาว – เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมกับบริษัท สิงห์ปาร์ค เชียงราย จำกัด และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดโครงการสิงห์ซัมเมอร์แคมป์ โดยนำเยาวชนอายุ 8-13 ปี ร่วมกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และยุวมัคคุเทศก์ ค่ายละ 30 คน

ชมบ้านดำ-วัดขาว

มัคคุเทศก์น้อยสิงห์ซัมเมอร์แคมป์

ล่าสุดสิงห์ซัมเมอร์แคมป์นำคณะไป ชมการทำงานในค่ายยุวมัคคุเทศก์ .เชียงราย ไกด์เยาวชน คนเก่งแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้อย่างคล่องแคล่ว

สถานที่แรกที่น้องๆ เยาวชนคนเก่งพาคณะท่องเที่ยวไปคือพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ของ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี อดีตศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ตั้งอยู่ .นางแล .เมือง .เชียงราย บนพื้นที่กว่า 100 ไร่

ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบไปด้วยเรือนไม้ในศิลปะล้านนา และบ้านก่ออิฐถือปูนรวม 36 หลัง เป็นบ้านสีดำทุกหลัง เนื่องจากเป็น สีที่อาจารย์ถวัลย์โปรดปราน จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบ้านดำแต่เปิดให้เข้าชมเพียง 2-3 หลังเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่เป็นบ้านที่เก็บของสะสมต่างๆ ที่อาจารย์ถวัลย์เก็บมานานนับสิบปี

ชมบ้านดำ-วัดขาว

หนึ่งในบ้านดำงดงามแปลกตา

ภายในปราสาทไม้ในวิหารหลังแรกตั้งอยู่ด้านหน้าสุด และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เป็นที่บรรจุอัฐิของอาจารย์ถวัลย์ ซึ่ง นายดอยธิเบต ดัชนี บุตรชายเชิญมาบรรจุ ที่แห่งนี้

ปราสาทไม้หลังใหญ่และงดงาม ออกแบบมาจากผลงานจิตรกรรมตู้พระธรรมที่อาจารย์ถวัลย์สร้างสรรค์ไว้ก่อนเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีรูปสลักหินอ่อนของอาจารย์ถวัลย์ และงานปั้นรูปนกกรวิคสีทองงดงามหัวใหญ่ยักษ์ ซึ่งเป็นที่วางรูปวาดผลงานอาจารย์ถวัลย์

ภายในบ้านดำทุกหลังเป็นที่เก็บของสะสมสุดรักของอาจารย์ถวัลย์ อาทิ เสาไม้แกะสลัก เขาควายมากกว่า 100 ชิ้น เขากวาง หนังจระเข้ เปลือกหอยขนาดใหญ่ กระดูกสัตว์ เช่น กระดูกช้าง เตียงไม้โบราณ เฟอร์นิเจอร์ไม้โบราณที่งดงามและหายาก อาจารย์ถวัลย์นำมารวบรวมไว้ ภายในพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ร่มรื่นด้วยร่มไม้ใหญ่ให้นักท่องเที่ยวนั่งพักผ่อนหย่อนใจ

ชมบ้านดำ-วัดขาว

ไม้แกะสลักสุดอลังการ

ชมบ้านดำ-วัดขาว

ไม้แกะสลักโบราณ

นอกจากอาจารย์ถวัลย์ จะสร้างผลงานศิลปะล้ำค่ามากมาย ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ไว้ให้คนรุ่นหลังศึกษาเรียนรู้ ยังเก็บผลงานศิลปะมากมายรวมไว้ ที่แห่งนี้ ให้นักท่องเที่ยวชื่นชมด้วยเอกลักษณ์ที่ทรงคุณค่า และควรค่าแก่การอนุรักษ์

พิพิธภัณฑ์บ้านดำเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-17.00 . ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์มีร้านขายผลงานศิลปะให้นักท่องเที่ยวเลือกชมเลือกซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก

จากบ้านดำ ยุวมัคคุเทศก์พาคณะไปชมสวรรค์สีขาว ความงามอลังการที่ วัดร่องขุ่น .ป่าอ้อดอนชัย .เมือง .เชียงราย ผลงานของ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ อีกหนึ่งศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ผู้สร้างสรรค์ความงดงามอันวิจิตรตระการตาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จนมีคำกล่าวพูดกันติดปากว่าเฉลิมสร้างสวรรค์ ถวัลย์สร้างนรกเปรียบเทียบวัดร่องขุ่นสีขาวราวสวรรค์ กับพิพิธภัณฑ์บ้านสีดำของถวัลย์

ชมบ้านดำ-วัดขาว

ศิลปะอันวิจิตร

ชมบ้านดำ-วัดขาว

วัดร่องขุ่น

ชมบ้านดำ-วัดขาว

นักท่องเที่ยวหลายคนคงมีโอกาสเข้าไปชื่นชมสถาปัตยกรรม อันเป็นแหล่งรวมข้อคิดคติธรรมที่อาจารย์เฉลิมชัยสร้างสรรค์ และสอดแทรกไว้ให้ตีความเข้าถึงธรรม แต่หากมาเยือนวัดร่องขุ่น ควรเข้าไปเยี่ยมชมความวิจิตรงดงามของผลงานศิลปะในหอศิลป์เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าวัด

หอศิลป์แห่งนี้เป็นที่รวบรวมผลงานภาพวาดของอาจารย์เฉลิมชัย ตั้งแต่ครั้งเยาว์วัยไล่เรียงมาจนถึงผลงานในปัจจุบันรวมหลายร้อยภาพ ทั้งยังมีเหรียญที่ระลึกสร้างขึ้นในโอกาสต่างๆ หลายผลงานงดงามจนมีผู้ขอซื้อในราคานับสิบล้านบาท แต่อาจารย์เฉลิมชัยไม่ขาย ด้วยต้องการเก็บไว้ให้ประชาชนทั่วไปชื่นชม

ภายในหอศิลป์เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์ ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ หากอยากชมผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติผู้นี้ต้องไปชมด้วยตาตนเอง ถ้าประทับใจในผลงาน สามารถซื้อภาพพิมพ์กลับมาเป็นที่ระลึก

นอกจากนรกสวรรค์ของถวัลย์และเฉลิมชัยแล้ว เชียงรายยังมีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่คือวัดร่องเสือเต้น ตั้งอยู่ในหมู่บ้านร่องเสือเต้น .ริมกก .เมือง .เชียงราย

ชมบ้านดำ-วัดขาว

โบสถ์วัดร่องเสือเต้น

ชมบ้านดำ-วัดขาว

ความสวยงามภายในวัดร่องเสือเต้น

เดิมเป็นวัดร้าง ก่อนที่ชาวบ้านจะรวบรวมเงินบูรณะวัดให้กลับมาเป็นที่พึ่งทางใจอีกครั้ง สร้างและออกแบบโดยศิลปินพื้นบ้านชาวเชียงรายสล่านกนายพุทธา กาบแก้ว ลูกศิษย์อาจารย์เฉลิมชัย

โดดเด่นด้วยตัววัดที่เน้นโทนสีน้ำเงินและสีทอง นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยงแห่งใหม่อีกแห่งที่สะท้อน และบอกเล่าเรื่องราวของศิลปะได้เป็นอย่างดี

แม้จะเป็นเมืองรองแห่งการท่องเที่ยว แต่เชียงรายนับได้ว่าเป็น เมืองแห่งศิลปะที่รอคนมีใจรักแวะมาเที่ยวชมเสพงานศิลป์ ควบคู่ไปกับความสวยงามของธรรมชาติ และความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมแห่งล้านนา

ธีรดา ศิริมงคล

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน