ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย – สายการบินไทยสมายล์ขยายเส้นทาง และเพิ่มเที่ยวบินสู่ประเทศอินเดียมาอย่างต่อเนื่อง เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยสีสันทั้งสิ่งปลูกสร้าง โบราณสถาน และผู้คน

จาก “ลัคเนา” เมืองหลวงรัฐอุตตรประเทศ มาต่อกันที่ “อัครา” (Agra) อดีตเมืองหลวงอินเดียในสมัยที่ยังเรียกว่า “ฮินดูสถาน” เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในรัฐอุตตรประเทศ

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

ทัชมาฮาล

มีโบราณสถานระดับมรดกโลกถึง 3 แห่ง แต่ทริปนี้มีโอกาสไปชม 2 แห่ง เริ่มที่ “ทัชมาฮาล” (Taj Mahal) สุสานหินอ่อนหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยุมนา

ก่อนเข้าไปชม จะถูกตรวจตราสัมภาระ ห้ามไม่ให้นำกระเป๋าที่มีขนาดใหญ่เข้าไป รวมทั้งของมีคม หรือสิ่งของที่อาจทำให้โบราณสถานเกิดรอยเสียหาย เช่น ปากกา ลิปสติก อาหาร ขาตั้งกล้อง

ทัชมาฮาลเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความรักของ “พระเจ้าชาห์ชะฮัน” กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โมกุลที่ปกครองอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 16-19

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

พระองค์อภิเษกสมรสกับ “อรชุมันท์ พานุ เพคุม” ธิดาของรัฐมนตรี และทรงเรียกพระมเหสีของพระองค์ว่า “มุมตัซ มาฮาล” แปลว่า อัญมณีแห่งราชวัง

พลันที่พระมเหสีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1631 นำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก จึงสร้าง “ทัชมาฮาล” อนุสรณ์สถานแห่งความรักขึ้น

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

นักท่องเที่ยวมากมายรอบทัชมาฮาล

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

โดยทุ่มเทเวลาทั้งหมดในการวางแผนเขียนแปลนก่อสร้างด้วยพระองค์เอง จ้างสถาปนิกและช่างชาวอาหรับมีฝีมือมากมาย เพื่อระดมสติปัญญาและกำลังในการก่อสร้าง ใช้แรงงานผู้คนมากมายกว่า 20,000 คน ใช้งบประมาณในการสร้างประมาณ 45 ล้านรูปี และกินเวลานานถึง 22 ปี

ความวิจิตรงดงามของทัชมาฮาล เห็นได้ตั้งแต่ทางเข้า เมื่อผ่านพ้นกรอบประตูรูปโค้งจะพบกับลานอุทยาน สระน้ำ น้ำพุ และถนนมุ่งหน้าตรงไปสู่ตัวอาคาร ตั้งอยู่บนลานหินอ่อนสีขาวโล่งกว้าง

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

หออะซาน รอบทัชมาฮาล

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

รอบลานหินมีราวหินอ่อนโปร่งตาเป็นที่ตั้งของมัสยิด ตัวอาคารล้อมรอบด้วยหออะซาน 4 ด้าน ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะเป็นโดมขนาดใหญ่รูปทรงบัวตูม หรือหัวหอม (Onion Dome)

โดยทุกส่วนสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวนวลบริสุทธิ์ ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมรา และเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ตามแบบสถาปัตยกรรมแนว โมกุลของอินเดีย และอาหรับเปอร์เซียนมุสลิม มีเนื้อที่ 42 เอเคอร์

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

พระตำหนักของพระเจ้าชาห์ชะฮัน ที่ป้อมอัครา

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

ระเบียงที่พระเจ้าชาห์ชะฮันทอดพระเนตรทัชมาฮาล

ภายในห้องโถงกลางที่ใหญ่ที่สุดใต้โดมยักษ์นี้ มีแท่นวางพระศพที่ทำด้วยหินอ่อนของทั้ง 2 พระองค์วางเคียงคู่กัน แต่พระศพจริงๆ นั้นไม่ได้อยู่ในหีบ แต่ถูกฝังอยู่ภายในอุโมงค์ใต้ดิน ตรงกับที่วางหีบศพลึกลงไป 10 เมตร

นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าว่า หลังจากทัชมาฮาลเสร็จสมบูรณ์แล้ว พระเจ้าชาห์ชะฮันทรงเกรงว่าเหล่าสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบ และผู้สร้างทั้งหลายจะไปออกแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงามเช่นนี้อีก

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

อีกมุมของป้อมอัครา

จึงสั่งประหาร หรือตัดมือ ตัดขา ควักลูกตาช่างทุกคน เพื่อไม่ให้มีโอกาสได้สร้างผลงานที่สวยเท่านี้อีก นี่คืออนุสรณ์แห่งความรักอันยิ่งใหญ่ที่มองได้หลายแง่มุม และเป็นอุทาหรณ์แห่งความสูญเสียที่แลกมาด้วยชีวิตและทรัพย์สมบัติจำนวนมากเพื่อบูชาความรัก

ต่อมาปี ค.ศ.1658 ออรังเซบ (Aurangzeb) พระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าชาห์ชะฮัน ทรงเห็นว่าพระราชบิดาใช้จ่ายไปมากมายมหาศาล จึงชิงบัลลังก์และจับพระราชบิดาไปคุมขังในปราสาทหินแดง หรือ “ป้อมอัครา” (Agra Fort) ถึง 8 ปี สถานที่ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อพระองค์จะสามารถมองเห็นทัชมาฮาลได้ตลอดเวลา

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

จุดตรวจสัมภาระทางเข้าป้อมอัครา

มาถึง “ป้อมอัครา” หนึ่งในโบราณสถานที่ถูกยกให้เป็นมรดกโลก ตั้งอยู่ในเมืองอัครา ริมฝั่งแม่น้ำยุมนา เป็นสถานที่คุมขังพระเจ้าชาห์ชะฮันจนสิ้นพระชนม์

เป็นพระราชวังที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์อัคบาร์ ใช้เวลายาวนานถึงสามยุคของกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมกุล มีลักษณะเป็นกำแพง สองชั้น และป้อมอาคารทางเข้าสี่ทิศ

ภายในประกอบด้วยพระราชวัง มัสยิด สวนดอกไม้ สนาม และอาคารหินทรายสีแดง โดยพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับของกษัตริย์ และเหล่าสนมกว่า 300 ชีวิต สามารถมองเห็นทัชมาฮาลที่สวยที่สุด

ชม 2 มรดกโลก เมืองอัครา-อินเดีย

ป้อมอัครา

ภายในป้อมอัครา ในส่วนพระตำหนักของพระเจ้าชาห์ชะฮัน สร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง อยู่ด้านหน้าของแม่น้ำยุมนา ตามตำนานกล่าวว่า ขณะที่ถูกคุมขัง พระเจ้าชาห์ชะฮันเฝ้ามองทัชมาฮาล และทรงกำเศษกระจกจากทัชมาฮาลไว้ในพระหัตถ์ตลอดเวลา เพื่อจะได้ทอดพระเนตรเห็นภาพสะท้อนของทัชมาฮาลในยามที่พระองค์สิ้นลมหายใจ

แม้ทัชมาลฮาลจะถูกสร้างขึ้นจากความอาลัยรัก แต่เบื้องหลังนั้นแฝงไปด้วยความโหดร้าย ความทุกข์ยากทรมาน การขูดรีดภาษี หยาดเหงื่อแรงงาน สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและชีวิตของราษฎรมากมายในยุคนั้น

ในแต่ละปีมีผู้คนนับล้านเดินทางมาชมความสวยงาม และยิ่งใหญ่ของทัชมาฮาล หนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

นิชานันท์ นิวาศะบุตร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน