หลังจากอังกฤษถูกก่อการร้ายสะเทือนขวัญครั้งใหญ่ที่คอนเสิร์ตในเมืองแมนเชสเตอร์ เมื่อ 22 พ.ค. มีผู้เสียชีวิต 22 ราย โดยชายหนุ่มชื่อ ซัลมาน อะเบดี วัย 22 ปี เชื้อสายลิเบีย เอเอฟพีรายงานบทวิเคราะห์ว่า อังกฤษตกเป็นหมายหลักของการโจมตีโดยกลุ่มจีฮัด (ญิฮาด) มาเป็นเวลานานเกือบกว่า 15 ปีแล้ว

เริ่มต้นจากกกลุ่มอัลไคด้า หรือ อัล กออิดะห์ และตามมาด้วยกลุ่มรัฐอิสลาม หรือไอเอส ที่ประกาศตัวในการวางระเบิดคอนเสิร์ตที่เมืองแมนเซสเตอร์เมื่อเร็วๆ นี้

นายแมตธิว กิแดร์ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยปารีส ชี้ว่าการวางระเบิดในเขตพื้นที่จำกัดโยงไปถึงการโจมตีขนส่งมวลชนในกรุงลอนดอนเมื่อปี 2548 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 52 ราย

เหตุก่อการร้ายปี 2548

แต่ทำไมต้องเป็นอังกฤษ

ผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศสมองว่าทั้งไอเอสและอัลไคด้าวางอังกฤษเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ เท่ากับสหรัฐอเมริกา

สาเหตุหลักต้องย้อนกลับไปตั้งแต่การบุกอิรักของสหรัฐในปี 2546 ซึ่งมีพันธมิตรเหนี่ยวแน่นอย่างอังกฤษร่วมขบวนทำสงครามด้วย

อังกฤษในวันนี้ยังถือว่าเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งในระดับนานาชาติที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการต่อสู้ไม่ว่าจะใช้ทหารราบหรือการโจมตีทางอากาศแก่กลุ่มไอเอสในประเทศซีเรียและอิรัก

แล้วทำไมต้องเป็นการวางระเบิด

นายกิแดร์วิเคราะห์ว่าการวางระเบิดเป็นรูปแบบการปฏิบัติการเคลื่อนไหวที่สำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มญิฮัด ตั้งแต่ปี 2548 แล้วที่ว่ากลุ่มอัลไคด้าแสดงให้โลกเห็นว่าสมาชิกกลุ่มสามารถเตรียมการที่จะระเบิดฆ่าตัวตายได้ทุกเมื่อในพื้นที่สาธารณะ

สมาชิกมักจะเป็นคนที่อยู่ในอังกฤษอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องส่งสมาชิกข้ามประเทศเพื่อโจมตี

รูปแบบดังกล่าวตอกย้ำในเหตุที่เกิดขึ้นในงานคอนเสิร์ตแมนเชสเตอร์ ซึ่งแรงจูงใจและเหตุผลก็มาจากปัจจัยเดียวกันก็คืออังกฤษเป็นต้นเหตุในการบุกรุกประเทศอิรัก

เหตุระเบิดในแมนเชสเตอร์ อารีนา

แต่การออกมาประกาศตัวไม่ได้หมายถึงว่า กลุ่มจิฮัดจะเป็นตัวการยุยงก่อเหตุ นายกิแดร์ระบุต้องรอจนกว่าผลการสืบสวนจะออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกี่ยวพันกันในลักษณะหลวมๆ และมีการไหลเวียนสมาชิกระหว่างไอเอสและกลุ่มอัลไคด้า

ในช่วงที่ผ่านมาประมาณ 2- 3 เดือนจำนวนนักสู้กลุ่มไอเอสที่เริ่มต้นจากการเป็นสมาชิกอัลไคด้าเปลี่ยนชื่อเป็นดาเอช หรืออีกชื่อหนึ่งของกลุ่มไอเอส และสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มดาเอชก็มีการโยกย้ายอยู่เป็นประจำกับการสังกัดในซีกของอัลไคด้ากับไอเอส

ซัลมาน อะเบดี

มีความเป็นไปได้ว่านายซัลมาน อะเบดี ผู้ก่อการในครั้งนี้อาจเคยเป็นสมาชิกในกลุ่มดาเอชและย้ายไปสังกัดอัลไคด้า

แต่ไม่ว่าจะเป็นอัลไคด้า หรือไอเอส ต่างมีความยืดหยุ่นทั้งสิ้น เพราะเป้าของทั้งสองกลุ่มนี้มีลักษณะเหมือนกันคือการสร้างรัฐอิสลามและสนับสนุนการใช้กฎหมายอิสลามหรือกฎหมายชาริอะห์ แต่สิ่งที่แตกต่างคือวิธีการและกลยุทธ์เท่านั้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน