ภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการในคณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปประเทศ 11 คณะ จำนวน 120 คน จากจำนวน 165 คน ไปเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

มีผู้ตั้งข้อสังเกตและข้อสงสัยโดยเฉพาะในประเด็นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิรูปติดตามขึ้นมาโดยพลัน

ประการหนึ่ง เพราะตัวบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมานั้น ส่วนใหญ่เป็น ?ขาประจำ? ที่เข้ามารับใช้รัฐบาลปัจจุบัน ทำงานทั้งด้านบริหารราชการทั่วไปและตอบสนอง ?การปฏิรูป? ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

ผลงานที่ปรากฏออกมาเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่สังคมทั่วไปประจักษ์ดีอยู่แล้ว

และเป็นที่มาของข้อสังเกตและสงสัยที่เกิดขึ้น

ประการหนึ่ง ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาเป็นกรรมการปฏิรูปนั้น อยู่ในแนวทาง ?อนุรักษนิยม? มากกว่าจะเป็น ฝ่ายก้าวหน้าหรือเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยน แปลง

ความเป็นอนุรักษนิยมนั้นมิใช่ความผิดใน ตัวเอง แต่คำถามก็คือ ถ้ากลุ่มคนที่มีความคิดเดียวกันจำนวนมาก รวมอยู่ด้วยกันในองค์กรหรือหน่วยงานที่มีบทบาทหรือมีผลกำหนดอนาคตของสังคมได้ไม่มากก็น้อย

ความอนุรักษนิยมจะฉุดรั้งสังคมไทยให้มีสภาพอย่างไร ในโลกที่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมหาศาล ถึงขั้นนับเป็นวินาที

แรงต้านการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นคุณหรือเป็นโทษมากกว่ากันต่อคนส่วนใหญ่

แต่ประการสำคัญที่สุดยังอยู่ที่กรอบของการปฏิรูปเอง

ด้านหนึ่ง การปฏิรูปที่จัดมาให้โดย คสช. และรัฐบาลนั้น มิได้มีความยึดโยงกับประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะอ้าง ?ในนามของความหวังดี? อย่างไร การที่คนทั่วไปมิได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมด้วยก็ทำให้ความชอบธรรมของการปฏิรูปหดหายไปมากแล้ว

ด้านหนึ่ง กรอบของการปฏิรูปที่จะผูกมัดสังคมและประชาชนไทยยืดยาวต่อเนื่องไปอีกถึง 20 ปีนั้น นอกจากจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

ยังมีโอกาสจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง ผู้สนับสนุน-ผู้เห็นต่างในการปฏิรูปได้สูงยิ่ง

แทนที่จะเป็นคุณ การปฏิรูปก็กลายเป็นปัญหาสังคมเสียเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน