พระครูโสภิตบุญญาทร วัดยายร่ม เขตจอมทอง กทม. : อริยะโลกที่ 6

หลวงพ่อมนัส จันทูปโมพระครูโสภิตบุญญาทร หรือ หลวงพ่อมนัส จันทูปโมเจ้าอาวาสวัดยายร่ม แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

เป็นพระนักปฏิบัติ พระนักพัฒนาที่มีผลงานเป็นรูปธรรมมากมาย

นามเดิม มนัส เทศมาสา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2495 บ้านเลขที่ 122 หมู่ที่ 5 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน

จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนพุทธบูชา ศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

เมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบท พัทธสีมาอุโบสถวัดยายร่ม แขวงบางมด เขตจอมทอง มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จันทสิริ) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูธรรมฉัตรสุนทร (แสวง นันทิโย) อดีตเจ้าอาวาสวัดยายร่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเทพวรมุนี (สุกรี สุตาคโม) วัดหนังราชวรวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา จันทูปโม

ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นตรีโทเอก ตามลำดับ ที่สำนักเรียนวัดราชโอรส ..2526 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดยายร่ม ..2527 เข้ารับการอบรมพระธรรมทายาท วัดชลประทาน รังสฤษดิ์

ด้วยความโดดเด่นทางด้านการสอน การเทศน์ จึงได้เป็นวิทยากรพิเศษอบรมประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เป็นองค์แสดงธรรมเทศนาสั่งสอนประชาชนประจำอุโบสถ

..2530 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยายร่ม เป็นครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนโรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์) ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดยายร่มและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ในราชทินนามพระครูโสภิตบุญญาทร..2543 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส

ระหว่างนั้นได้รับหน้าที่ในการสานงานก่อสร้างอุโบสถ 2 ชั้น ต่อจากพระครู โสภณธรรมรส ซึ่งได้วางรากฐานไว้ในพิธีพระราชทานเพลิงอดีตเจ้าอาวาส ท่านได้เป็นแม่แรงใหญ่ในการสร้างเมรุลอยไม้สักพร้อมปราสาทตั้งปรก จนเป็นที่รู้จักกันดีทั้งละแวกใกล้เคียงและต่างจังหวัด จุดประสงค์เพื่อเป็นการบูชาคุณพระอาจารย์

งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี 2545 ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง วัดยายร่มได้ร่วมกิจกรรมจัดนิทรรศการของวัดพร้อมนำมณฑปไปเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ นับเป็นเกียรติประวัติกับทางวัดยายร่มเป็น อย่างยิ่ง และเป็นผลงานชั้นเอกของพระครูโสภิตบุญญาทรด้วย

ผลงานโดดเด่นอีกอย่าง คือการสร้างอุโบสถ 2 ชั้น ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยโดยยึดหลักประหยัดยิ่ง ประโยชน์สุด

โดยท่านกล่าวว่า อุโบสถหลังเดิมทรุดโทรม ไม่สามารถที่จะบูรณะซ่อมแซมได้แล้ว ทั้งบริเวณเนื้อที่ของวัดก็ไม่ได้กว้างขวางเท่าที่ควร หากการสร้างอุโบสถชั้นเดียวเหมือนเดิมก็คงจะใช้งานได้เฉพาะพระสงฆ์ทำวัตร ทำสังฆกรรมเท่านั้น

การสร้างอุโบสถ 2 ชั้น จะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะชั้นบนเป็นสถานที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ในวัด ชั้นล่างยังสามารถใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาใช้ในกิจกรรมอื่นๆ เช่น เป็นที่ประชุมสัมมนา เป็นที่อบรมนักเรียน หรือจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานที่

นอกจากจะเน้นเรื่องการใช้ประโยชน์ ความสวยงามแล้วยังรักษาเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย ภายในอุโบสถมีภาพแกะสลักด้วย ไม้สัก เรื่องราวทางพระพุทธศาสนาและวรรณคดีให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า อาทิ ภาพพุทธประวัติ 32 ภาพ ภาพพระเวสสันดรชาดก 14 ภาพ ภาพพระเจ้าสิบชาติ 10 ภาพ ภาพรามเกียรติ์ 20 ภาพ ภาพประกอบประตูหน้าต่าง 14 ภาพ ภาพพระมาลัย 14 ภาพ ภาพพาหุง พระพุทธเจ้าชนะมาร 8 ภาพ ภาพลายไทยประกอบอีกมากมาย ภาพปริศนาธรรม 47 ภาพ

ภาพแต่ละภาพแกะจากช่างฝีมือดี มีความชำนาญ การวางภาพแต่ละภาพจึงมีความเหมาะสมกลมกลืน ดูแล้วสบายตา เข้าใจง่าย ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ความภูมิใจฝีมือของคนไทยที่มีความศรัทธาวิริยะ อุตสาหะ และมีความอดทน ภาพแกะสลักเหล่านี้ จะเป็นมรดกอันล้ำค่าของพุทธศาสนิกชนไปอีกนาน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน