พระกริ่งนิรันตรายรุ่นแรก หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต

พระกริ่งนิรันตรายรุ่นแรก หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต : สดหน้าพระ – พระนิรันตราย” นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง และได้มีการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้ง พระบูชา พระกริ่ง พระพิมพ์ และเหรียญ

หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต

พระกริ่งนิรันตรายรุ่นแรก หลวงปู่จื่อ

พระกริ่งนิรันตรายรุ่นแรก หลวงปู่จื่อ

พระกริ่งนิรันตรายรุ่นแรก หลวงปู่จื่อ

พระกริ่งนิรันตรายรุ่นแรก หลวงปู่จื่อ

วัดเขาตาเงาะอุดมพร”.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ โดย หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต จึงดำริจัดสร้างพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เพื่อเป็นปูชนียวัตถุอนุสรณ์มอบเป็นปฏิการคุณ แด่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์อารามแห่งนี้ ซึ่งจะมีพิธีพุทธาภิเษกประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นี้

หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต

รายการจัดสร้างพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) ประกอบด้วย พระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และขนาด 1 นิ้ว (ตั้งหน้ารถ)

พระกริ่งนิรันตราย จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงินก้นทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองสัมฤทธิ์ เนื้อทองระฆังโบราณ เนื้อทองแดงผิวรุ้ง และชุดกรรมการอุปถัมภ์ การจัดสร้างจำนวนจำกัด วัตถุมงคลมีโค้ดและหมายเลขทุกองค์

ติดต่อสั่งจองวัตถุมงคลได้ที่วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ โทร.09-3540-2444 และศูนย์วัตถุมงคลวัดยานนาวา กรุงเทพฯ โทร.08-4899-9541, 08-9341-8111, 08-8288-9111

สําหรับพระนิรันตราย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในราวปี พ..2399 นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาล

โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (ทำบุญตรุษ), พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ

หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต

ตามประวัติการค้นพบกล่าวไว้ว่า ในครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 74 หรือ พ..2399 กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อ นายยัง ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิประมาณ 3 เส้น ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ

คำว่า “นิรันตราย” อันหมายถึง ปราศจากอันตรายนิรันดร์ นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานพระนาม สืบเนื่องจากในปี พ..2403 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษ ฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า

พระองค์มีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไป แต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงมีพระราชดำริให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระพุทธรูปองค์ใน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดี ไว้อีกชั้นหนึ่ง พระราชทานพระนามว่า “พระนิรันตราย” และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ไว้คู่กัน

ในปี พ..2411 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน เป็นเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมแสดงพระพุทธคุณจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูป พระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ พระราชทานนามว่า “พระนิรันตราย” เช่นกัน

เพื่อจะพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันทำกะไหล่ทอง พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายช่างทำกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตจำนวน 18 วัด ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วัดราชา ธิวาส, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดเทพศิรินทราวาส, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดบรมนิวาส,วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดโสมนัสวิหาร,วัดบุรณศิริมาตยาราม, วัดราชผาติการาม, วัดปทุมวนาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดเครือวัลย์, วัดบุปผาราม, วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี, วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี, วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา และวัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้นทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละ 1 องค์

ปัจจุบัน “พระนิรันตรายองค์จริง” ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน