หลวงพ่อคง พ.ศ.๒๔๘๔ : รอบด้านวงการพระ

โดยอริยะ เผดียงธรรม

หลวงพ่อคง พ.ศ.๒๔๘๔ : รอบด้านวงการพระ – ถ้าดีกว่าเรา สูงกว่าเรา ก็ให้เคารพบูชาเชื่อฟัง ถ้าเสมอกันก็ให้รักใคร่กลมเกลียวกัน ถ้าอยู่ในฐานะที่ต่ำกว่าเรา ก็ให้เมตตาสงสาร” สารธรรมมงคล ท่านพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต อดีตพระเกจิชื่อดังวัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม วัตถุมงคลโดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก มีที่มาจากการที่ พระยาศรีสุรสงคราม (เปลื้อง ดิลกโยธิน) ได้พบกับหลวงพ่อคง ในงานพิธีพุทธาภิเษกที่วัดราชบพิธ เมื่อปีพ..2481 เกิดเคารพเลื่อมใสศรัทธามากจึงขออนุญาตทำเหรียญรูปเหมือนไว้เป็นที่ระลึก

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหู จัดสร้างปีพ..2484 มีขอบเหรียญ 2 ชนิดด้วยกัน คือขอบหยักๆ แบบข้างเหรียญบาท มีประมาณ 200 เหรียญ ส่วนอีก 2,800 เหรียญที่เหลือเป็นขอบเหรียญเรียบ ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อคงครึ่งองค์หันหน้าตรง ล้อมรอบขอบเหรียญ เขียนคำว่า “พระอุปัชฌาย์คง วัดบางกะพ้อม ชนมายุ ๗๗ ปี พ..๒๔๘๔” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นพระยันต์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ด้านบนเขียนคำว่า “ลาภ ผล พูน ทวี” ขอบโค้งด้านล่างเขียนคำว่า “ศิษย์สร้างบูชาพระ คุณของหลวงพ่อ” จัดเป็นเหรียญหล่อที่สวยงาม

พระพิมลพัฒนาทร” หรือ “หลวงปู่พวน วรมังคโล” เจ้าอาวาสวัดช้างหมอบ (วัดมงคลคชาราม) .กาบเชิง จ.สุรินทร์ พระเกจิ อาจารย์ชื่อดังของอีสานใต้ ดำริสร้างพระปรางค์กุญชรมณี ศรีไตรยอดเพชร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งต้องใช้ปัจจัยก่อสร้างเป็นจำนวนมาก จึงอนุญาตให้คณะศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคล “รุ่นชินบัญชร (ปฐมฤกษ์)” ประกอบด้วย พระปิดตาเทหล่อโบราณ, พระรูปหล่อลอยองค์หลวงปู่ทวด (รุ่นแรก), เหรียญหล่อครึ่งองค์หลวงปู่พวน (รุ่นแรก) เนื้อทองแดงผิวไฟ เนื้อเหล็กเปียก เนื้อเงิน ฯลฯ

หลวงปู่พวน วรมังคโล

หลวงปู่พวน วรมังคโล

สำหรับเหรียญหล่อครึ่งองค์หลวงปู่พวน ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ไม่มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่พวนครึ่งองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “หลวงพ่อพวน” ด้านหลังเหรียญเป็นรูปยันต์ ด้านบนยันต์เขียนคำว่า “วัดช้างหมอบ” ด้านใต้ยันต์เขียนคำว่า “สุรินทร์ ๒๕๕๘” เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่ควรค่าแก่การบูชา

หลวงปู่รอด พรหมสาโร

เหรียญรุ่นแรก “หลวงปู่รอด พรหมสาโร” หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อพรหมสร” วัดบ้านไพ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา พระเกจิชื่อดังที่ชาวเมืองโคราช คหบดีชาวลพบุรี เป็นผู้สร้างให้ ในราวปีพ..2492 ตอนที่หลวงปู่รอดจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านไพ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม พิมพ์ด้านหน้ายกขอบโดยรอบ 2 เส้น ตรงกลางมีรูปเหมือนหลวงปู่รอดหน้าตรง ครึ่งองค์ นับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมที่สุดอีกเหรียญหนึ่งของเมืองโคราช ด้วยจำนวนการสร้างน้อยมากไม่เกิน 1,000 เหรียญ

พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดสุวรรณาราม (วัดทอง)” หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระปิดตามหาอุดเนื้อโลหะอันลือลั่น ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบลอยองค์ พระประธานนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวารจะล้วงลงทางด้านใน ไม่ผ่านหน้าแข้งจึงทำให้เห็นกิริยาขัดสมาธิเพชรได้เด่นชัด หรือที่เรียกกันว่า “โยงก้นด้านใน” ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บ

เนื่องจากท่านสร้างโดยวิธีปั้นหุ่นด้วยเทียนขี้ผึ้งทีละองค์ แล้วจึงใช้ดินเหนียวประกอบด้านนอก จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอม ละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนละลายและสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน

พิมพ์นั่งบัว

พิมพ์นั่งบัว

การกำหนดเลขยันต์ที่จะบรรจุลงบนพระนั้น ท่านจะเลือกอักขระที่เหมาะสม มีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงาม องค์พระจึงไม่เหมือนกันเลยทั้งรูปทรงและลวดลายของอักขระยันต์ จึงหาผู้สร้างลอกเลียนได้ยากมาก สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 พิมพ์ใหญ่ คือ พิมพ์นั่งบัว, พิมพ์บายศรี, พิมพ์ตุ๊กตา และพิมพ์ยันต์ยุ่ง นอกจากนี้ ยังแยกออกเป็นพิมพ์ย่อยและมีหลายขนาด แต่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะที่สามารถจดจำได้ว่าเป็นของท่าน ซึ่งทุกพิมพ์ล้วนเป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่อง และสนนราคาแพง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน