พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ

พระวิปัสสนา-วัดป่าสามัคคีธรรม

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ พระวิปัสสนา-วัดป่าสามัคคีธรรม – “พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ” วัดป่าสามัคคีธรรม บ้านนาเหมือง ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เป็นพระป่าสายปฏิบัติในสายของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกรูปหนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีเมตตาธรรมสูง มุ่งเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ครองตนอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์ สมถะเสมอต้นเสมอปลาย

พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ

อัตโนประวัติ พระอาจารย์คำมี (พระครูศรีภูมานุรักษ์) นามสกุล “สุวรรณศรี” เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2463 ที่บ้านบก หมู่ที่ 3 .หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี บิดามารดาชื่อ นายเคนและนางดี สุวรรณศรี

ชีวิตในวัยเด็กช่วยครอบครัวเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เมื่อถึงฤดูทำนาก็ช่วยไถนา ช่วยดำนา เมื่อถึงคราวไปโรงเรียนก็ไปตามปกติ

จนกระทั่งเรียนจบชั้น ป.4 จึงได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 29 มี..2478 ที่อุโบสถวัดศรีบุญเรือง ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โดยมี พระอุปัชฌาย์อ่อน สิริจันโท วัดบ้านก่อ เป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้นต่อมาเมื่อวันอังคารที่ 12 ..2481 บรรพชาเป็นสามเณรธรรมยุติกนิกาย ที่วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระศรีธรรมวงศาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

บรรพชาแล้วอยู่จำพรรษาที่วัดสุปัฏนาราม 1 ปี จนอายุครบบวชได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสายมหานิกาย ณ อุโบสถวัดบ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

กระทั่งได้ญัติเป็นพระสายธรรมยุต ที่วัดศรีเมือง จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 3 ..2483 โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกานาค วัดศรีเมือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาอินทร์ วัดศรีเมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ เป็นพระนักปฏิบัติที่ซื่อตรง ตอนหนึ่งในบันทึกชีวประวัติเขียนไว้อย่างซื่อๆ เป็นคำสารภาพตรงไปตรงมา ท่านบันทึกไว้ว่า

การปฏิบัติทางวิปัสสนาในตอนบั้นปลายชีวิตนับจากปี พ..2518 เป็นต้นมา ได้ย้ายออกจากวัดไปพักผ่อนบำเพ็ญตบะธรรมภายในให้ควบคู่กับฝ่ายคันถธุระที่ทำหนักมาแล้วตั้งแต่ปี พ..2497 เป็นต้นมาโดยลำดับ

นับว่าเอาชีวิตจิตใจมุ่งมั่นไปในด้านวัตถุและทางปริยัติการศึกษาของกุลบุตรผู้ที่จะสืบอายุของพระพุทธศาสนาต่อไป

ในด้านวัตถุ คือ ต้องการให้เป็นหลักฐานมั่นคงของเสนาสนะ เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ พระพุทธรูปและเจดีย์ จนเวลาล่วงเลยไปถึง 21-22 ปี

ในปี พ..2518 อายุ 45 ปี พรรษา 64 จึงรู้สึกตัวว่าสภาพสังขารร่างกายย่างเข้าสู่วัยชราแล้ว จึงถอนตัวออกจากหล่ม คือ ความคลุกคลีด้วยการงานและหมู่คณะทางฝ่ายการปกครองไปบ้าง

แต่มิได้วางเสียจริงๆ ได้หาลูกศิษย์ลูกหาช่วยงานแทนมือไปเป็นครั้งคราว ก็เรียกว่าผ่อนเบาไปบ้างพอได้อบรมตัวเอง

ในความคลุกคลีการงานทั้งหมู่คณะด้านคันถธุระจนเกินไป พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมพร ท่านเคยเตือนเทศน์ให้ฟังบ่อยๆ ความว่า “มันจะตายทิ้งเปล่าๆ นะพระครูศรี!”

ท่านพระอาจารย์ฝั้นท่านบอกอย่างนี้ อัตตโน (อาตมา) จึงนึกแปลความหมายอยู่ถึง 3 ปี จึงไปได้ความกระจ่างในคราวที่ไปวิเวกอยู่ทางจันทบุรีว่า การตายย่อมเป็นไปได้ 3 นัย 3 อย่าง คือ ตายอย่างที่ 1 ตายจากเพศบรรพชิต ตายอย่างที่ 2 ตายจากคุณธรรมที่ควรจะได้แต่ก็ไม่ได้ เพราะความประมาท ตายอย่างที่ 3 ตายหมดลมหายใจ

เมื่อนึกขึ้นได้เช่นนั้นก็สลดสังเวชในความตายอย่างนี้ย่อมมีทุกๆ คน ทั้งหญิง ชาย นักบวช ฆราวาส ทั้งคนมีคนจนไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ดังพระบาลีว่า “อัชเชว กิจจมาตัปปัง โกชัญญา แปลว่า ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่จะหนีพ้นไปจากความตายนี้ได้”

พระอาจารย์คำมี มรณภาพอย่างสงบ เมื่อเวลา 23.20 . วันที่ 21 มิ..2530 สิริอายุ 66 ปี พรรษา 46 ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดอุดรธานี

การจากไปของท่านนี้ นายแพทย์แจ้งว่าสมองของพระอาจารย์คำมีไม่ทำงานอีกต่อไป สาเหตุเกิดจากท่านได้ตรากตรำทำงานฝ่ายคันถธุระเผยแผ่พระศาสนาอย่างหนัก จนเกินกำลังของสังขารร่างกาย สุดที่จะทนได้ไหว

สมจริงตามพระพุทธพจน์ว่า “สัพเพ เภทปริยันตัง เอวัง มัจจาน ชิวิตัง” ชีวิตของหมู่สัตว์เหมือนภาชนะดิน ล้วนมีความแตกสลายเป็นที่สุด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน