หลวงปู่คำจันทร์ ปัญญาโภ วัดบ้านเมย จ.กาฬสินธุ์

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

หลวงปู่คำจันทร์ ปัญญาโภพระครูปริยัตยานุวัตรหรือหลวงปู่คำจันทร์ ปัญญาโภ วัดบ้านเมย .ดงลิง .กมลาไสย .กาฬสินธุ์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้รับการยกย่องว่าเคร่งครัดระเบียบวินัย ใส่ใจด้านการปฏิบัติกัมมัฏฐาน เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน มีจิตใจที่เปี่ยมด้วยความเมตตา

ปัจจุบัน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 66

ชาติภูมิ มีนามเดิม คำจันทร์ ทองห้า เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ..2475 ที่บ้านสวนโคก .ดงลิง .กมลาไสย .กาฬสินธุ์ บิดามารดา ชื่อ นายพรหมและนางคำมา ทองห้า มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 5 คน

ช่วงวัยเยาว์ มีนิสัยชอบสันโดษ ไม่ค่อยจะซุกซนเหมือนกับเด็กวัยเดียวกัน บิดาและมารดามักจะพาไปทำบุญที่วัดบ้านสวนโคกอยู่เสมอ พออายุเข้าโรงเรียน พ่อแม่ส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนสวนโคกเมยวิทยา (ชื่อเดิม) จนจบชั้น .4 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในตอนนั้น

เป็นคนเรียนเก่ง ฉลาดเฉลียว เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย ชอบช่วยเหลืองานการของบิดามารดาอย่างดี หลังจากจบชั้นป.4 ไม่ได้เรียนต่อที่ไหน ด้วยฐานะทางบ้านยากจน จึงได้ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา หาเลี้ยงชีพตามวิถีชีวิตของชาวบ้านชนบท

อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปี ..2497 ที่วัดบ้านเมย .กมลาไสย .กาฬสินธุ์ มีพระครูสถิตปุญญาคม เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนโคก และเจ้าคณะตำบลดงลิง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์มี ปภากโร วัดบ้านโนนเมือง และพระอาจารย์สุวิทย์ วัดบ้านดอนหวาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลังจากบวชได้ระยะหนึ่ง ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านสวนโคก และศึกษา พระปริยัติธรรมด้วยความมุ่งมั่น

..2503 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีโทเอก ..2505 ได้รับแต่งตั้ง เจ้าอาวาสวัดบ้านเมย และแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลดงลิง ..2511 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

..2516 ได้พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูปริยัตยานุวัตร ..2538 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามเดิม ซึ่งตอนนั้นจำพรรษาที่วัดสมัยสำราญ .บึงกาฬ .หนองคาย

นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจด้านวิทยาคม ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระเกจิดังหลายรูป อาทิ พระครูสถิตย์ปุญญาคม เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนโคก, หลวงปู่แพง วัดโพธิ์ร้อยต้น .โพนทอง .ร้อยเอ็ด, หลวงปู่ปัน วัดโพธิ์ศรีบึงไฮ .หลักเมือง .กมลาไสย .กาฬสินธุ์

หลวงปู่ศรี ถ้ำภูเขาควาย ประเทศลาว, หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง .อุบลราชธานี, หลวงพ่อเก้า วัดบ้านโพนงาม .กมลาไสย .กาฬสินธุ์, หลวงปู่ทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี .เสลภูมิ .ร้อยเอ็ด เป็นต้น

..2520 ธุดงค์ไปจำพรรษาที่วัดสมัยสำราญ .บึงกาฬ .หนองคาย ในสมัยนั้น

จำพรรษาอยู่ที่วัดสมัยสำราญ 12 ปี จึงออกธุดงค์ไปยังสถานที่อื่นๆ หลายต่อหลายแห่ง จำพรรษาอยู่ที่ .ไพศาลี .นครสวรรค์ 1 ปี หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์กลับภาคอีสาน จำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยพรหม .วังน้ำเขียว .นครราชสีมา กับพระครูประโชติสังฆกิจ และที่วัดแห่งนี้ได้เรียนวิชาแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพรรักษาคนป่วยจนมีชื่อเสียง

จากนั้นออกธุดงค์หาที่สงบเพื่อจำพรรษาไปหลายต่อหลายที่ จนมาถึงบ้านฝาง .กระนวน .ขอนแก่น หลวงปู่จำพรรษาที่วัดศูนย์ปฏิบัติธรรม จำพรรษาอยู่ที่นี่ 12 ปี พัฒนาจนวัดมีความเจริญรุ่งเรือง นำญาติโยม สร้างอุโบสถ และศาลาการเปรียญจนแล้วเสร็จ

หลังจากนั้นชาวบ้านเมยเห็นว่าอายุมากแล้ว จึงได้ตกลงกันนิมนต์ให้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านเมย .ดงลิง .กมลาไสย .กาฬสินธุ์

ด้วยความที่มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก จึงจัดสร้างวัตถุมงคล ส่วนมากจะมอบให้ผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างเสนาสนะภายในวัด

ด้วยความเมตตาของท่านที่คอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากอย่างเต็มที่ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง จนชื่อเสียงของหลวงปู่โด่งดังขจรขจายไปทั่วทุกทิศ ทำให้มีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากเข้ามากราบฝากตัวเป็นศิษย์

เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงอยู่เป็นเนืองนิตย์ พัฒนาวัดเก่าแก่เสื่อมโทรม จนกลายเป็นวัดพัฒนาควรแก่การยกย่องเกียรติคุณ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน