คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ถาปัตยกรรมไทย

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

อาคารทางพุทธศาสนาสำคัญในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ พระอุโบสถ หรืออีกชื่อว่า สิม หรือ พระวิหาร นั้น องค์ประกอบหรือสัญลักษณ์สำคัญของอาคารประเภทนี้จะต้องมีก็คือ ช่อฟ้า หรือ สัตบริภัณฑ์ หรือปราสาท

2

ช่อฟ้านั้นแตกต่างจากชื่อที่เรียกกันในภาคกลาง เพราะช่อฟ้าในรูปแบบพระอุโบสถหรือพระวิหารของภาคเหนือนั้น หมายถึง ส่วนประกอบของอาคารที่บอกให้รู้ถึงความสำคัญของอาคารนั้นจะอยู่กึ่งกลางบนสุดของหลังคา ส่วนช่อฟ้าของภาคกลางจะอยู่ปลายสุดของหลังคาทุกๆ ด้าน

จากรูปตัวอย่างช่อฟ้าของวัดเชียงทอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมตัวอย่างเปรียบเทียบกับพระอุโบสถหรือวิหารทั่วไปของภาคเหนือของไทยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่เรียกกันว่าช่อฟ้าร หรือ สัตบริภัณฑ์ หรือ ศูนย์กลางของจักรวาลอันมีเขาพระสุเมรุเป็นหลักรายล้อมด้วยเทือกเขาบริวารทั้ง 4 โดยมีทะเลมหาสีทันดรล้อมรอบระหว่างเทือกเขา

3

สัญลักษณ์ของทะเลสังเกตเห็นจะเป็นรูปปลาอานนท์ที่มองเห็นเป็นฐานรองรับเทือกเขาทั้ง 7 ที่รายล้อมเขาพระสุเมรุอยู่อีกชั้นหนึ่ง ตัวปลายสุดของหลังคาเรียกโหง่หรือหงอน สัญลักษณ์ของพญานาค เป็นการย้ำให้ชัดเจนว่าจักรวาลนั้นอยู่ในทะเล สีทันดร

อันจะสรุปเป็นความหมายก็คือ พระอุโบสถหรือพระวิหารก็คือศูนย์กลางแห่งจักรวาล

อันมีพระพุทธเจ้าผู้มาตรัสรู้ในอริยสัจ 4

ซึ่งปรากฏเป็นพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหรือมหาวิหาร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน