วัตถุมงคลฉลอง 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม (ตอนที่ 1)

 

พุทธศักราช 2511 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก มีอายุนับตั้งแต่การสถาปนาพระอาราม เวียนมาบรรจบครบ 100 ปี วันที่ 18 มกราคม 2511 ประกอบกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฏฐายี) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม 2511

%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%88%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%86%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a-%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%99-%e0%b8%ad%e0%b8%b8

คณะกรรมการจัดงานฉลอง 100 ปี และฉลองพระชนมายุครบ 70 พรรษา สมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน อุฏฐายี) ได้กำหนดจัดงานในระหว่างวันที่ 15-18 มกราคม 2511

%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b

นอกจากนี้ ในศุภวาระมงคลดังกล่าว ควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบพระพุทธรูปและพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์คณะศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชา

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%8f2511

เหตุผลในการจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงสถาปนา วัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงมีพระนามเดิมเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏสมมุติเทววงศ์ฯ” ออกทรงพระผนวช (ก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ) ว่า “พระวชิรญาโณภิกขุ”

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามส่วนหนึ่งว่า วชิรญาณ (กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารและทรงเป็นสมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์ ในรัชกาลปัจจุบัน และทรงเป็นพระราชปนัดดา(เหลน) ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ทรงมีพระนามส่วนหนึ่งซึ่งทรงกรมว่า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

อีกทั้ง พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารหลวงวัดมกุฏกษัตริยาราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโดยมีพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปมีความแบบพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถวายพระนามว่า “พระพุทธวชิรมงกุฎ”

อีกประการที่สำคัญ ในฐานะที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน อุฏฐายี) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงเป็น “สมเด็จพระบรมราชกรรมวาจาจารย์” ในพระราชพิธีทรงพระผนวช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงพระผนวช พ.ศ.2499

ด้วยเหตุดังกล่าว การจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบพระพุทธรูปและพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ควรถวายพระนามพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้น เป็นอนุสรณ์ในมหามงคลวโรกาสครั้งนี้ ว่า พระวชิรมงกุฏ หรือ พระพุทธวชิรมงกุฏ

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%8e-%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b9%8c

ส่วนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ถวายพระนามว่า พระกริ่งวชิรมงกุฏ และ พระชัยวัฒน์วชิรญาณ เพื่อเป็นการบูชาพระมหากรุณาธิคุณ และพระกรุณาธิคุณ เป็นพระราชกุศลและพระกุศลเป็นอนุสรณ์สืบไป

ด้วยเหตุที่วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างเป็นพระอารามหลวงที่งดงามและทรงคุณค่าแห่งสมัย อีกทั้งวัดมกุฏกษัตริยาราม ยังมิเคยสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในส่วนของพระอาราม

สำหรับมวลสารในการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้ โดยที่สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็นองค์สกลมหาสังฆปริณายก พระเถรานุเถระ ทั้งสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าอาวาส รวมทั้งพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศกว่า 500 รูป ต่างยินดีทูลถวายโลหวัตถุที่ปลุกเสกไว้แล้ว รวมทั้งแผ่นโลหะชนิดต่างๆ ที่มีการลงอักขระยันต์มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย เพื่อให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่เป็นสิริมงคลทุกประการ

กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่จัดสร้าง พระพุทธวชิรมงกุฏ เป็นพระพุทธรูปที่จัดสร้างด้วยศิลปะไทยประยุกต์ผสมผสานกับศิลปะคุปตะของอินเดียจัดสร้าง 2 ขนาด คือ หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระพุทธลักษณะไรพระศกขมวด ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวหงายมีชายผ้าทิพย์และฉัตร 3 ชั้น มีลายพระหัตถ์ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) พระนาม “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อุฏฐายี)” อยู่ด้านหลัง จัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อนวโลหะและเนื้อสำริด มีลำดับเลขประจำองค์พระตอกอยู่ที่ฐานด้านหลัง

ส่วนขนาดหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว พระพุทธลักษณะ ไรพระศกเป็นมวยมุ่นประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำที่ฐานด้านหน้ามีผ้าทิพย์และมงกุฎมีพานแว่นฟ้ารองรับพระมหาพิชัยมงกุฎและมีฉัตรเครื่องสูง 5 ชั้น ขนาบ 2 ข้าง (สัญลักษณ์ตราประจำวัด) มีลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อุฏฐายี)” อยู่ด้านหลัง จัดสร้าง 2 เนื้อ คือ นวโลหะและเนื้อสำริด มีลำดับเลขหมายอยู่ด้านหลัง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน