การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อควบคุมตัว นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ อดีต พระพุทธะอิสระ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ผู้ต้องหาคดีอั้งยี่ซ่องโจร และคดีปลอมพระปรมาภิไธย เป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางการเมืองอย่างกว้างขวาง

การร้องเรียนให้ตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติเกินความเหมาะสมหรือไม่ เป็นประเด็นหนึ่ง

การขอโทษของผู้นำรัฐบาลต่อนายสุวิทย์และผู้ศรัทธา พร้อมตักเตือนเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

ส่วนกรณีการใช้มาตรา 44 นำกำลัง เจ้าหน้าที่ล้อมวัดพระธรรมกายเพื่อหาตัว พระธัมมชโย เมื่อปี 2560 เป็นอีกประเด็นเปรียบเทียบที่น่าคิดประกอบการพิจารณา

การขอโทษของบุคคลทางการเมืองเป็นเรื่องสำคัญและได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นสัญลักษณ์ของการคลี่คลายความขัดแย้ง

แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลหรือกลุ่มการเมืองนั้นๆ ตระหนักถึงการกระทำที่ผิดพลาดหรือบกพร่อง และจะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก

โดยเฉพาะการขอโทษประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือกระทบกระเทือนจิตใจจากการกระทำของรัฐ

แต่การขอโทษที่ดียังต้องยึดหลักและการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันสำหรับคนทุกกลุ่มทุกฝ่ายเป็นสำคัญ

ไม่ให้เกิดความรู้สึกสงสัยคลางแคลงหรือน้อยเนื้อต่ำใจ ว่ามีการเลือกที่รัก มักที่ชังเกิดขึ้น

คําอธิบายจากรัฐมนตรีที่ว่า การที่ผู้นำรัฐบาลออกมาขอโทษผู้ต้องหาที่เคยเป็นพระสงฆ์ เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองพุทธนั้น ยิ่งเพิ่มความเข้มข้นในการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้

เพราะหากถือหลักเมืองพุทธแล้วยังมีเหตุ การณ์อีกมากมายที่เป็นคำถามและข้อสงสัย ค้างคาอยู่ในประวัติศาสตร์ของประเทศ

เช่น การเป็นเมืองพุทธไม่ควรมีเหตุการณ์ใช้กำลังทหารเข้ามาจัดการผู้ประท้วงในเมืองหลวง ทำให้พลเรือนไร้อาวุธบาดเจ็บล้มตาย

การเป็นเมืองพุทธหมายถึงการยอมรับความแตกต่างของผู้คนที่นับถือศาสนาอื่น ไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้เกิดความคับข้องและคับแค้นใจ จนกลายเป็นปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้

การเป็นเมืองพุทธยังหมายถึงการสนับ สนุนให้ทุกคนใช้สติและปัญญาใคร่ครวญ ไม่ยึดอำนาจหรือสิทธิการตัดสินใจของ ผู้อื่นมาเป็นของตน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน