หากไม่มีการกำหนดผ่านคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 53/2560 การพบกันระหว่างคสช.กับพรรคการเมืองคงไม่เป็นเรื่องใหญ่

เป็นเรื่องใหญ่ในความรับผิดชอบของ นายวิษณุ เครืองาม

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าจะมีพรรคการเมืองขานรับหรือไม่ หากแต่อยู่ที่ว่าท่าทีของพรรคบางพรรคเป็นอย่างไร

โดยเฉพาะ 2-3 พรรคการเมือง

1 คือ พรรคประชาธิปัตย์ 1 คือ พรรคเพื่อไทย และ 1 คือพรรคชาติไทยพัฒนา

ตอนนี้ 2 พรรคหลังค่อนข้างแจ่มชัด

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่เคยแสดงท่าทีอย่างเป็นทางการ แต่บางแนวโน้มส่อความเอนเอียงที่จะปฏิเสธ

ตรงนี้แหละที่ทำให้เดือนมิถุนายนมีความร้อนแรง

เหมือนกับที่คสช.และรัฐบาลมอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รับผิดชอบในการนัดหมาย

“เผือกร้อน” จึงตกอยู่ในมือ นายวิษณุ เครืองาม

แต่มีหรือที่รองนายกรัฐมนตรีระดับ นายวิษณุ เครืองาม จะอ่านไม่ออก แทงไม่ทะลุ

เพราะ “เดิมพัน” จริงๆเป็นของ “คสช.”

จากเดือนพฤษภาคม 2557 กระทั่งผ่านเดือนพฤษภาคม 2561 มาแล้ว ทำไมเกจิระดับพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคเพื่อไทยจะอ่านไม่ออก

แม้กระทั่งพรรคหลานๆอย่าง “พรรคอนาคตใหม่”ยังมองเห็นตั้งแต่หัวตลอดหางได้เลย
จึงได้ตั้งเงื่อนไขว่า ต้อง “ไลฟ์”จึงจะไป

นั่นก็คือ การนัดพบครั้งนี้เป็นการนัดไปฟังอย่างเดียว และฟังใครพูดก็รู้อยู่แล้วทุกค่ำวันศุกร์

รูปธรรม “การหลับ”ของสนช.ก็เด่นชัด มิใช่หรือ

มีพรรคการเมืองจำนวนหนึ่งยอมรับคำบัญชาจากคสช.อย่างแน่นอน แต่ก็มีบางพรรคที่ไม่เป็นเช่นนั้น

การหารือระหว่าง “คสช.”กับ “พรรคการเมือง”จึงสำคัญ

สำคัญเพราะระหว่าง “คสช.” กับ “พรรคการเมือง”บางพรรคมีการต่อสู้ขับเคี่ยวกันอยู่อย่างเงียบๆเหมือนกับเป็นสงครามที่มิได้มีการประกาศ

“เดิมพัน”นี้จึงสำคัญยิ่งกับสถานะของ “คสช.”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน