ความปั่นป่วนอันเนื่องแต่คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 53/2560 ยังไม่หนำ แก่ใจ ยังตามมาด้วยคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2561 ต่ออีก

เสียงร้อง”โอ๊ก”จึงดังกระหึ่ม

กระหึ่มจากพรรคเพื่อไทย กระหึ่มจากพรรคชาติไทยพัฒนา กระหึ่มจากพรรคประชาธิปัตย์

ประสานเข้ากับกระหึ่มจาก”ว่าที่”พรรคอนาคตใหม่

กล่าวสำหรับคสช.และรัฐบาลอาจจะเข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา แต่กล่าวสำหรับกกต.คงกำลังปวดตับอย่างเป็นพิเศษ เพราะคนที่เชี่ยวในเรื่องสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่าง นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ก็ไม่อยู่เสียแล้ว

เสียงเตือนจาก”ว่าที่”พรรคอนาคตใหม่กับของ นายวราวุธ ศิลปอาชา สมควรล้างหูน้อมรับฟังอย่างเป็นพิเศษ

ประเด็นที่จะต้องรีบหาคำตอบโดยด่วนเหมือนกับจะอยู่ที่นิยามว่าด้วยว่าอย่างไรคือ “การหาเสียง”

การหา “สมาชิก”โดยไม่อธิบายเรื่องพรรคจะทำได้อย่างไร

ยิ่งกว่านั้น การจะกำหนดให้การสื่อสารระหว่างพรรคกับเป้า หมายให้ดำเนินไปในลักษณะ “ปิด” มิได้เป็นเรื่อง”สาธารณะ”จะทำแบบไหน

เรื่องทางการเมืองซึ่งควรจะ “เปิดเผย” กลับกลายเป็นเรื่อง”ปิดลับ”

และหากย้อนกลับไปศึกษา พรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ที่กกต.ไม่เพียงแต่จะตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกอย่าง เข้มงวด หากจะต้องตรวจสอบ”นโยบาย”อย่างละเอียดยิบ

คำถามก็คือ บุคลากรของกกต.มีความพร้อมเพียงใดกับพรรคการเมืองนับร้อย

คำถามก็คือ มีการตระเตรียม”เทคโนโลยี”พร้อมหรือไม่

ที่สำคัญก็คือ จะรองรับให้กับพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมพลังประชาชาติไทยได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ได้ละหรือ

พลันที่มีพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 ทุกพรรคการ เมืองก็เปิดเว็บไซต์เฉพาะของตนขึ้น

ไม่ว่าคลับเพื่อไทย ไม่ว่าพรรคชาติไทยพัฒนา

ทั้งนี้ แทบไม่ต้องไปตรวจสอบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีมานานแล้ว หรือพรรคอนาคตใหม่ทีประกาศจะแปร”อาสาสมัคร”เป็น”สมาชิก”โดยอัตโนมัติ

คำถามทั้งหมดล้วนประดังไปยัง”กกต.”ทั้งสิ้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน