FootNote : บทบาท การประชุม 7 ธันวา ผลสะเทือน จาก 11 ธันวาคม

นอกเหนือจากวันที่ 26 พฤศจิกายน แล้ว วันที่ 7 ธันวาคม กำลังจะกลายเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง
วันที่ 26 พฤศจิกายน ผูกติดกับล็อก 90 วันสังกัดพรรค
เพราะหากไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใดก็ไม่สามารถสมัครรับ เลือกตั้งตามพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.
จึงเกิดโกลาหลโดยเฉพาะที่พรรคพลังประชารัฐ
ขณะที่วันที่ 7 ธันวาคม ดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 53/2560 ที่กำหนดให้คสช. แม่น้ำ 5 สาย กกต.และพรรคการเมือง มาประชุมร่วมกัน
พื้นฐานที่บังคับเพราะในวันที่ 11 ธันวาคม กำหนด 90 วันตามบทเฉพาะกาลพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.จะสิ้นสุด
ความหมายจึงอยู่ที่วันที่ 11 ธันวาคม

สิ่งที่ทุกฝ่ายจับตามองก็คือ หลังการประชุมร่วมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม แล้วคสช.จะยังมี “คำสั่ง”อะไรอีกมาเป็นข้อกำหนดให้กับกระบวนการเลือกตั้ง
เพราะเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมานั่นก็เท่ากับอำนาจการเลือกตั้งจะอยู่ในมือของ “กกต.”
คำถามก็คือ “ล็อก”ทั้งหลายจะยังอยู่หรือไม่
ไม่ว่าจะเป็นประกาศคสช.ฉบับที่ 57/2557 ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558
ยิ่งกว่านั้น คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 53/2560 คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 13/2561 และคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 16/2561
จะยังคงมี”บทบาท”ในการบังคับใช้หรือไม่
เพราะว่าในความเป็นจริง รัฐธรรมนูญก็ยังให้อำนาจคสช.และหัวหน้าคสช.ยังสามารถใช้อำนาจตามมาตรา 44 อยู่จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่
นั่นย่อมเท่ากับ “คสช.” อยู่เหนือกว่า “กกต.”

ความสนใจของพรรคการเมืองไม่ว่าในส่วนที่จะเข้าร่วม หรือในส่วนที่ปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมกับคสช.และแม่น้ำ 5 สายในวันที่ 7 ธันวาคมก็คือ
คสช.จะมีท่าทีอย่างไรต่อ “การเลือกตั้ง”
จะเป็นการ”ปลดล็อค”อย่างเป็นจริง หรือเสมอเป็นเพียงการ
“คลายล็อก”
วันที่ 7 จึงสำคัญต่อวันที่ 11 ธันวาคม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน