พลันที่คำว่า “ปรองดอง” ปรากฏขึ้นในสนามทาง “การเมือง” ก็สัม ผัสได้ถึงความขัดแย้ง แตกแยกในทาง “ความคิด”

เด่นชัดยิ่งคือ ระหว่าง “คสช.” กับ”กลุ่มการเมือง”
คำว่า “กลุ่มทางการเมือง” แม้จะเป็นเรื่องใหญ่โต มากด้วยจำ นวนมากมาย แต่ขอจำกัดเพียงแต่กลุ่มการเมืองที่ปรากฏผ่าน”พรรคการเมือง”
เด่นชัดว่า ความเห็นมิได้เป็น “เอกภาพ”
ไม่เพียงแต่พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์จะมีมุมมองอันแตกต่างกัน
หากภายในพรรคเพื่อไทยก็แตกต่างกัน
ยิ่งภายในพรรคประชาธิปัตย์ ยิ่งมากด้วยความแตกต่าง มากด้วยสีสัน พรรณรายฉายฉัน
ไม่เพียง นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ กับ นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ หากแม้กระทั่งเมื่อเสียงจาก นายถาวร เสนเนียม ดังขึ้น ก็มากด้วยความแตกต่าง
แทบไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

ในทาง “เปิด” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปฏิเสธความสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะ “สมาชิก”
เพราะได้ลาออกไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2556
แต่ถามว่าคนที่ห้อมล้อม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกอบ ด้วยใครบ้าง
ต้องยอมรับว่า นายถาวร เสนเนียม เป็น”ประชาธิปัตย์”
ยิ่ง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย หรือ นายอิสระ สมชัย ยิ่งไม่เคยบอกว่าลาออกเหมือนกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ปรากฏการณ์ “ปรองดอง”จึงมีบทบาทและความหมาย
พลันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มอบหมายงานนี้ให้กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ก็เหมือน “ลิ่ม”ที่ทะลวงเข้าไปยัง “กลุ่มการเมือง”
และ “กลุ่มการเมือง”ที่มากด้วยความอ่อนไหวอย่างเป็นพิเศษ คือภายใน “พรรคประชาธิปัตย์”
“หงุดหงิด” แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี

ความหงุดหงิดอันสัมผัสได้จากภายในพรรคประชาธิปัตย์นั้นเด่นชัดยิ่งว่าเป็นความหงุดหงิดต่อ
บทบาท “ปรองดอง” ของ “คสช.”
ไม่เพียงแต่คนระดับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะออกมายืนยันไม่ลงนามใน “เอ็มโอยู”
หากแต่ระดับ นายกษิต ภิรมย์ ก็สะกิดต่อม”ทหาร”
ทั้งที่รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และรัฐประหารเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2557 เกิดขึ้นได้อย่างไรและด้วยปัจจัยเชื้อเชิญจากใคร
มีหรือที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะไม่รู้ มีหรือที่ นายกษิต ภิรมย์ จะไม่รู้
“อาหารดี ดนตรีไพเราะ”
ความหงุดหงิดอันมาจาก “ภายใน” พรรคประชาธิปัตย์จึงสำคัญและทรงความหมาย
สำคัญกับ “ประชาธิปัตย์” ทรงความหมายกับ”คสช.”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน