สงกรานต์จบการเมืองไม่จบ

สงกรานต์จบการเมืองไม่จบ : การเมืองหลังสงกรานต์ ทวีความร้อนแรงแข่งกับสภาพอากาศ

เริ่มจากพรรคพลังประชารัฐ ปล่อยข่าวอ้างว่าสามารถรวบรวมเสียงส.. จัดตั้งรัฐบาลได้เกิน 251 เสียง มากกว่าพรรคฝ่ายประชาธิปไตยคือเพื่อไทยอนาคตใหม่

โดยดึงเสียงส่วนหนึ่งมาจากประชาธิปัตย์ในสายของนายถาวร เสนเนียม 35 เสียง กับพรรคเศรษฐกิจใหม่ของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ที่มีอยู่ 6 เสียง

ซึ่งต่อมาได้รับการปฏิเสธจากนายถาวรว่า ประชาธิปัตย์จะดำเนินการทาง การเมืองตามมติพรรค ไม่มีงูเห่าแน่นอน

เช่นเดียวกับนายมิ่งขวัญ ที่ยืนยัน พรรคไม่เคยไปเจรจาร่วมจัดตั้งรัฐบาล หรือต่อรองตำแหน่งทางการเมืองใดๆ กับพลังประชารัฐตามที่มีข่าว

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายมิ่งขวัญ ยังแถลงยืนยันหลังเกิดเหตุการณ์ว่าที่ส..ไปยื่นยุบพรรค อ้างว่าพรรคถูกครอบงำจากบุคคลภายนอก ว่า พรรคเศรษฐกิจใหม่ยังยึดมั่นอยู่กับขั้วพรรคเพื่อไทย ไม่ไปร่วมกับพลังประชารัฐแน่นอน

จึงมองได้ว่า กระแสข่าวพปชร.ได้เกิน 251 เสียง จงใจปล่อยออกมา เพื่อเร่งเร้าให้นักการเมืองที่ยังแทงกั๊กรีบตัดสินใจหันไปสนับสนุนพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ

เพราะหากอยู่นิ่งๆ ปล่อยให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยรวบรวมเสียงได้เกิน 250 เสียง

ถึงพล..ประยุทธ์ จะได้รับเลือกเป็นนายกฯ จากการโหวตสนับสนุนของ 250 .. และสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จริง แต่ก็จะเป็นรัฐบาล ที่ไม่สามารถบริหารประเทศได้

เราพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ส..เกิน 251 เสียง เพื่อให้สามารถทำงานในสภาได้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ ระบุ

ขณะที่น..เกศปรียา แก้วแสนเมือง โฆษกพรรคเพื่อชาติ เปิดเผยถึงมูลค่างูเห่าจากตัวเลข 8 หลัก

ล่าสุดพุ่งขึ้นไปถึง 9 หลักแล้ว

นอกจากการใช้ผลประโยชน์หลอกล่อดูดว่าที่ส..ไปร่วมแล้ว

ในช่วงผลเลือกตั้งยังไม่สะเด็ดน้ำยังคงมีความพยายามด้วยวิธีอื่นอีก เช่น การแจกใบต่างๆ

รวมถึงวิธีคิดพิสดาร สูตรคำนวณส..แบบบัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์ ผลักภาระให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ทั้งที่ในรัฐธรรมนูญ และพ...ว่าด้วยการเลือกตั้งส.. กำหนดหลักเกณฑ์วิธีคิดไว้ชัดเจน

หลายคนหวั่นเกรง หากมีความพยายามจัดตั้งรัฐบาลด้วยวิธีการใช้อำนาจทุกอย่างที่มีอยู่โดยไม่สนใจเสียงประชาชนและความถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยสากล อาจทำให้เกิดการเผชิญหน้าขัดแย้งรุนแรงรอบใหม่

ช่วงหยุดสงกรานต์ ยังมีประเด็นน่าสนใจอีก 2 เรื่องใหญ่ๆ

กรณีนายเทพไท เสนพงศ์ ว่าที่ส..นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาจุดพลุแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติพร้อมเสนอรายชื่อบุคคลเหมาะสมเป็นนายกฯ คนกลาง 4 ชื่อ

ประกอบด้วย 1.พล..เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรีและอดีตผบ.ทบ. 2.นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี 3.นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการอังค์ถัด และ 4.นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

รัฐบาลแห่งชาตินี้จะเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องและแก้รัฐธรรมนูญ มีวาระเพียง 2 ปี จากนั้นต้องคืนอำนาจให้กับประชาชนด้วยการจัดเลือกตั้งใหม่

อย่างไรก็ตามข้อเสนอของนายเทพไท ได้รับการคัดค้านจากพรรคต่างๆ ไม่ว่าเพื่อไทย อนาคตใหม่ ประชาชาติ และเพื่อชาติ เป็นต้น

พรรคฝ่ายประชาธิปไตยมองว่า สถานการณ์ขณะนี้มีความพยายามสร้างภาพให้เห็นว่า การเมืองมีความ ขัดแย้งในการจัดตั้งรัฐบาล กำลังก้าวไปสู่ทางตัน

ทั้งที่ความจริงหากทุกฝ่ายเดินไปจนสุดเส้นทางประชาธิปไตยก็จะมีทางออก ปัญหาตอนนี้เป็นเพราะฝ่ายผู้มีอำนาจ เฉไฉออกนอกกฎกติกา

พรรคอนาคตใหม่ยังมีจุดยืนแข็งแรง ระบุข้อเสนอ ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เป็นไปไม่ได้ด้วยเหตุผล 3 ข้อ

นอกจากขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักประชาธิปไตย ยังขัดต่ออุดมการณ์ของพรรค ที่ประกาศจะไม่ร่วมงานกับพล..ประยุทธ์ และพรรคพลังประชารัฐเด็ดขาด ไม่ว่าในนามรัฐบาลปกติ หรือรัฐบาลแห่งชาติ

รวมถึงคนในพรรคประชาธิปัตย์ อย่างนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ก็เชื่อว่า แนวทางจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เป็นไปได้ยากมาก นอกจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เขียนปิดช่องไว้หมด

การจัดตั้งรัฐบาลก็ยังไม่ถึงทางตัน ต้องรอให้ กกต.ประกาศรับรองผลเลือกตั้งครบ 95 เปอร์เซ็นต์ เพราะเชื่อว่าจะมีว่าที่ส..หลายสิบคนโดนสอย ซึ่งจะเป็นตัวแปร ให้หลายพรรคตัดสินใจว่าจะตอบรับเข้าร่วม จัดตั้งรัฐบาลกับขั้วใด

ที่สำคัญคือ แกนนำพรรคพลังประชารัฐก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพราะเชื่อว่าข้อเสนอรัฐบาลแห่งชาติของนายเทพไท เป็นแผนการทางอ้อม ที่เสนอขึ้นมาเพื่อต้องการตัดพล..ประยุทธ์ พ้นจากอำนาจนั่นเอง

ก่อนการเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคขณะนั้น ประกาศแนวทางการเมืองแบบสามก๊ก คือ ไม่เอาทั้งพล..ประยุทธ์ ไม่เอาทั้งพรรคเพื่อไทย

ข้อเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ จึงเข้าทางประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคอื่นๆ โดยเฉพาะการเสนอชื่อนายชวน หลีกภัย เป็นหนึ่งในนายกฯ คนนอกอีกด้วย

จบจากเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ ฝุ่นควันเพิ่งจาง

ก็มาถึงคิวนายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรรคประชาชนปฏิรูป เสนอไอเดียแปลกแหวกแนวยิ่งกว่า

เสนอให้ใช้มาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ เปิดทาง 250 ..มีส่วนร่วมกับส..ในการพิจารณาผ่านพ... งบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อแก้ปัญหารัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ

ข้อเสนอดังกล่าวก่อให้เกิดเสียงคัดค้านหนัก ทั้งจากนายชูศักดิ์ ศิรินิล ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย นายอลงกรณ์ พลบุตร จากพรรคประชาธิปัตย์

รวมทั้งนักวิชาการด้านกฎหมายที่มองว่าเป็นแนวคิดสุดโต่ง เป็นการขยายขอบเขตอำนาจให้กับส..กว้างขวางมากเกินไปทั้งที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

จากการออกความเห็นของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ และนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังทำให้เห็นว่าข้อเสนอของนายไพบูลย์ มีความเป็นไปได้น้อยกว่าเป็นไปไม่ได้

เมื่อแนวคิดรัฐบาลแห่งชาติ และแนวทางการขยายอำนาจส.. เพื่อแก้ปัญหารัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ มีอันต้องปิดฉากลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่วัน

สปอตไลต์การเมืองจึงหันกลับมาฉายจับที่การประกาศรับรองผลเลือกตั้งส..ในวันที่ 9 ..นี้ ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญของสถานการณ์ทั้งหมด

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เตือน กกต.ชุดปัจจุบัน ให้เตรียมหาแผนสำรองไว้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความสูตรส..ปาร์ตี้ลิสต์ ไม่ทันวันที่ 9 .. ซึ่งเป็นเส้นตายที่ต้องประกาศรับรองผลเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จ

นายวิษณุ เครืองาม พยายามชี้ช่องทางออกให้ กกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความกรอบเวลาต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 150 วัน หลังกฎหมายเลือกตั้งมีผลใช้บังคับ ซึ่งจะยืดเวลาไปได้ถึงวันที่ 22 .. หรือยึดกรอบภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 9 ..

ทั้งหมดสะท้อนถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่มาจากความพยายามบิดพลิ้วกฎกติกาต่างๆ ของบางฝ่าย เพื่อให้ตัวเองได้อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุด

โดยไม่สนใจว่าการดันทุรังยื้อสถานการณ์ต่อไป

จะส่งผลเสียหายต่อประเทศชาติร้ายแรงมากขนาดไหน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน