เสียงจากภายนอก

คอลัมน์ บทบรรณาธิการ

เสียงจากภายนอก – เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่ฮ่องกงเพื่อต่อ ต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปจีน โดยมีมวลชนเรือนแสนออกมาชุมนุมตามท้องถนน เป็นประเด็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก

พร้อมกับสะท้อนว่าความเคลื่อนไหวทาง ประชาธิปไตยยังเกิดขึ้นได้ในดินแดนที่ยังให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก แม้ว่าบางส่วนอาจ มองว่าเป็นความวุ่นวาย ไม่สงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เหตุการณ์หนึ่งๆ จะมีคนเห็นแตกต่างหลากหลายมุมมอง

กรณีของไทยก็เช่นเดียวกัน นับจากการเลือกตั้ง ครั้งแรกหลังเหตุการณ์รัฐประหาร จนมาถึงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นคนเดิมจากคณะรัฐประหาร ย่อมทำให้นานาชาติจับจ้องมองประเทศไทย

ส่วนสื่อมวลชนต่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ความเป็นไปใน มุมมองต่างๆ รวมถึงมุมมองด้านประชาธิปไตย

ก่อนหน้านี้ กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องทางการไทยหยุดคุกคามนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม โดยระบุชัดถึงวิธีการใช้กฎหมายจัดการหลาย รูปแบบ ไม่ว่า ตั้งข้อหาปลุกระดม หรือใช้พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

ต่อมาหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ วอชิงตันโพสต์ สื่อใหญ่ของอเมริกา เผยแพร่บทบรรณาธิการเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐพิจารณาให้รอบคอบ ไม่เร่งรีบฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยเห็นว่าประชาธิปไตยขณะนี้ยังไม่ได้ฟื้นฟูจริง แต่มาจากการจัดแจงตีกรอบไว้

ด้าน ดิ อีโคโนมิสต์ นิตยสารวิเคราะห์เจาะลึกการเมืองและเศรษฐกิจของอังกฤษ ก็มองเช่น กันว่า เป้าหมายที่ทำผ่านการเลือกตั้ง สูตร คำนวณส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ รวมถึงการที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่วุฒิสภาเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี

ล้วนก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม

มุมมองต่างๆ เหล่านี้อาจคล้ายกับคนไทยจำนวนหนึ่ง เพียงแต่สื่อต่างประเทศแสดงออกได้อย่างตรงไปตรงมา

ดังนั้น การรับรู้รับทราบความเห็นของปฏิกิริยาภายนอก ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางประชา ธิปไตย

ฝ่ายไม่เห็นด้วยมีสิทธิโต้แย้งตามเหตุผล แต่ไม่ควรใส่ร้ายว่าเป็นการยุยง หรือชักศึกเข้าบ้าน

เพราะโลกประชาธิปไตยนั้นไม่มีพรมแดน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน