วิบากกรรมของว่าที่รัฐมนตรีอันมีพื้นฐานมาจากการเป็น ส.ส.บางคน ไม่ว่าจะจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะจากพรรคภูมิใจไทย เด่นชัดยิ่งว่าเป็นวิบากกรรมมาจากอดีต

เพียงแต่เป็นอดีตอันเป็นการก่อขึ้นโดยใคร

อย่างเช่นกรณีของ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.หลายสมัยจากอุทัยธานี เด่นชัดอย่างยิ่งว่าเป็นเรื่องในห้วงหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

นายชาดา ไทยเศรษฐ ตระหนักดีว่าเป็นคำสั่งของใครและดำเนินการโดยใคร

ขณะที่กรณีของ นายนิพนธ์ บุญญามณี มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งกว่า

เหมือนกับเป็น”ศึกใน”แต่ประสานมาจาก”ภายนอก”

ประเด็นของ นายนิพนธ์ บุญญามณี เด่นชัดยิ่งว่ามาจากความขัด แย้งภายในพรรคประชาธิปัตย์เป็นหลัก

ดูจาก 3 สถานการณ์เป็นหลัก

1 สถานการณ์การชิงหัวหน้าพรรคระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม

และ 1 สถานการณ์การชิงหัว หน้าพรรคระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ กับ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

ถามว่าในสงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี อยู่ตรงข้ามใคร

ขณะเดียวกัน อีกสถานการณ์ 1 ซึ่งสำคัญเป็นลำดับถามว่าการต่อสู้ในสงขลาพรรคประชาธิปัตย์ต่อสู้กับใคร และพรรคการเมืองใดที่มาแย่งชิงพื้นที่อันพรรคประชาธิปัตย์เคยยึดครองในสงขลา

คำตอบคือ พรรคพลังประชารัฐ

ถามต่อไปว่าแกนใหญ่ของพรรคพลังประชารัฐ ที่สามารถแย่งชิงหลายพื้นที่อันเคยเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ไปเป็นใครและมีเป้าหมายการเมืองอย่างไร

คำตอบคือ ต้องการชิงพื้นที่อบจ.สงขลา

ไม่ว่ากรณีของ นายนิพนธ์ บุญญามณี แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่ากรณีของ นายชาดา ไทยเศรษฐ แห่งพรรคภูมิใจไทย คงมองเห็นแล้วว่าคู่ต่อสู้เป็นใคร มิใช่เพื่อไทย มิใช่อนาคตใหม่

ตรงกันข้าม เป็นพรรคพลังประชารัฐ เป็นคนที่แนบแน่นอยู่กับคสช.มาอย่างยาวนาน

หากมิใช่ตรงนี้ก็คงต้องต่อสู้ไปอย่างสะเปะสะปะ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน