การปรากฎตัวของ นายพริษฐ์ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ ที่ สน.ดุสิต ร้อง ทุกข์ในเรื่อง”หมุดคณะราษฎร”

เหมือนกับเป็นการ”ปักหมุด”
ตามมาด้วย การร้องทุกข์ของนิสิต นักศึกษา 3 คนจากต่างมหาวิทยาลัย
น.ส.ภัคจิรา กิตติวิบูลย์วงศ์ จากจุฬาฯ
น.ส.สุทธิดา วัฒนสิงห์ จากเกษตรศาสตร์
นายคุณภัทร คะชะมา จากรามคำแหง
3 คนหลังอยู่ในรุ่น 20 กว่าปี เยาวเรศรุ่นเจริญศรีอย่างยิ่ง 1 คนแรกอาจเข้าสู่หลัก 30
แต่พวกเขาคือ “เลือดใหม่”
บทสรุปจากปาก ร.ต.อ.มอ ระนา รองสารวัตร(สอบสวน) น่าสนใจ
“ทรัพย์สินที่หายไปนั้นเป็นทรัพย์สินของทางราชการ”

ทั้งๆที่เป็น “ทรัพย์สินของทางราชการ” ทั้งๆที่เป็นทรัพย์สินซึ่งอยู่ใกล้กับกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 และกองบัญชาการตำรวจ นครบาล
แต่ 2 หน่วยงานนี้เล่นบท”จ่าเฉย”
ร้อนถึง “คนรุ่นใหม่” ต้องเดินขึ้น สน.ดุสิต ร้องทุกข์ให้ช่วยติดตาม “ทรัพย์สิน”ที่หายไปคืนมา
เป็นทรัพย์สิน”ทางราชการ”
โดย “นายกรัฐมนตรี” บัญชาและมอบหมายให้”กระทรวง มหาดไทย”เป็นเจ้าของเรื่อง และติดตั้งอย่างเป็นทางการในเดือน ธันวาคม 2479
ร้อนถึง”คนรุ่นใหม่”ต้องมา”แจ้งความ”ร้องทุกข์

ท่วงทำนองของนิสิต นักศึกษา 3 คนจากต่างมหาวิทยาลัยน่าสนใจอยู่แล้ว
นายพริษฐ์ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ ยิ่งน่าสนใจ
เขาเป็นหลาน หลวงเสรีเริงฤทธิ์ 1 ในสมาชิกคณะราษฎร สายกองทัพบก เพื่อนนักเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกับ หลวงพิบูล สงคราม
เคยเป็นแม่ทัพไปรบเชียงตุง เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงคมนาคม
สังคมจึงรอคอย”ผล”จากการติดตามของ”ตำรวจ”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน