FootNote:วัฒนธรรม จุดเทียน การเมืองใหม่ ประสานเทียน เข้ากับ สมาร์ทโฟน

เมื่อเพลง “แสงดาวแห่งศรัทธา” กังวานขึ้น ณ พื้นที่ข้างหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างคณะอักษรศาสตร์ กับ คณะวิศวกรรม ศาสตร์

ภาพแห่งการถูก “โยนบก” นายจิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อกลางทศวรรษที่ 1390 ก็หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

นี่คือการเชื่อมต่อระหว่างปัจจุบันกับอดีต

เหมือนกับการเคลื่อนไหวชุมนุมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประกาศปัก “เสาหลัก” ประชาธิปไตยขึ้นมาในพื้นที่มหาวิทยาลัย

เพราะเมื่อปี 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือผู้จุดประ กายการประท้วงเลือกตั้งสกปรก

เพียงแต่ครั้งนี้ปะทุขึ้นในปี 2563 เท่านั้น

หากมองอย่างศึกษาและวิเคราะห์ จากการชุมนุมจุดเทียนของนักศึก ษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มายังการชุมนุมจุดเทียนของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ก็จะสัมผัสได้ในความสัมพันธ์ ยึดโยง ต่อเนื่องและพัฒนาการในทางรูปแบบและเนื้อหา

จุดเริ่มต้นเหมือนกัน คือเห็นความไม่ยุติธรรมที่ยุบ”อนาคตใหม่”

ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เครื่องเสียงยังไม่พร้อมอย่างเต็มเปี่ยม แต่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำโพงดังกึกก้อง ไม่ว่าในพื้นที่หรือเมื่อปรากฏผ่านคลิปวิดิโอ

จุดร่วมอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็คือบทบาทของนิสิตนักศึกษาที่เป็นหญิง

ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน บริสุทธิ์กล้าหาญ บานอย่างเสรี

วัฒนธรรมการจุดเทียนอาจเริ่มต้นภายหลังสถานการณ์เดือนตุลาคม 2516 แต่ก็มีพัฒนาการไปตามยุคสมัย

การจุดเทียนหลังเดือนตุลาคม 2516 เป็นเทียนจริงๆ

ขณะที่การจุดเทียนที่เห็นหลังสถานการณ์ยุบพรรคอนาคตใหม่ด้านหลักยังเป็นเทียน แต่องค์ประกอบหนึ่งคือสมาร์ทโฟน

และส่วนหนึ่งยังเป็นเทียนที่อยู่ในเกราะกำบังสวยงาม

คนรุ่นใหม่ยังได้ประสานการจุดเทียนและการเปิดไฟผ่านสมาร์ท โฟนให้เข้ากับการร้องเพลงให้กำลังใจกันและกัน

เป็นการเมืองวัฒนธรรมในยุคแห่ง”เทคโนโลยี”ใหม่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน