FootNote:อำนาจ ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังสถานการณ์‘ฉุกเฉิน’

สถานการณ์การประกาศภาวะฉุกเฉินในเดือนมีนาคม 2563 สะท้อนบทบาทของรัฐบาล สะท้อนอำนาจของนายกรัฐมนตรี อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

คนจำนวนไม่น้อยอาจนึกถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อ เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

เพราะเป็นสถานการณ์ที่เพิ่งผ่านมาเพียง 10 ปี

ทั้งๆที่ความเป็นจริงอันเป็นพื้นฐานแห่งสถานการณ์ฉุกเฉินเดือนมีนาคม 2563 มีความสัมพันธ์และการผสมปสานประวัติศาสตร์หลายประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน

ทั้งประวัติศาสตร์เดือนพฤศจิกายน 2494 ทั้งประวัติศาสตร์เดือนตุลาคม 2501 ทั้งประวัติศาสตร์เดือนพฤศจิกายน 2514

และรวมทั้งประวัติศาสตร์เดือนเมษายน พฤษภาคม 10 ปีก่อน

สถานการณ์เดือนพฤศจิกายน 2494 คือ การยึดอำนาจตนเองโดยคณะรัฐประหารที่มีรากฐานมาจากรัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2490

นั่นคือ กลุ่มของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาล จอม พล.ป.พิบูลสงคราม

แล้วมอบอำนาจให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม

กลายเป็นบทเรียนให้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กระทำซ้ำในเดือนตุลาคม 2501 หลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2500

กลายเป็นบทเรียนให้ จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจจากรัฐ บาล จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2514 แล้วมอบอำนาจให้ จอมพลถนอม กิตติขจร

เพียงแต่ในเดือนมีนาคม 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจจากรัฐมนตรีมามอบให้กับ”ปลัดกระทรวง”เท่านั้นเอง

ลักษณะเด่นชัดของโครงสร้างศูนย์อำนวยการบริหารราชการในสถาน การณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) เดือนมีนาคม 2563 จึงไม่มีบทบาทของ “รัฐมนตรี” แต่มีบทบาทของ “ปลัดกระทรวง”

โดยอยู่ภายใต้การกำกับของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

รัฐบาลยังคงอยูเหมือนเดิม รัฐมนตรีก็ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ดำรงอยู่อย่างเสมอนอก อำนาจเป็นของปลัดกระทรวงมากกว่า

นี่คือความละเอียดอ่อนของสถานการณ์ฉุกเฉินปี 2563

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน