วิรูปเงา “ศอฉ.”

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ต่อกร “โควิด”

คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

รูปเงา “ศอฉ.” ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อกร “โควิด” – โครงสร้างของ “ศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน” น่าศึกษา

น่าศึกษาตรงที่ได้ให้บทบาทของ “ปลัดกระทรวง” แต่ละกระทรวงอย่างสูงเด่น แทบจะเหนือกว่าบทบาทของ “รัฐมนตรี”

ไม่ว่า “สาธารณสุข” หรือ “พาณิชย์”

เมื่อใดที่โครงสร้าง “ศอฉ.” ประกาศและมีผล นั่นหมายถึงบทบาทของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หายไป นั่นหมายถึงบทบาทของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หายไป

ที่โดดเด่นกลับเป็นบรรดา “ปลัดกระทรวง”

 

ลักษณาการแห่งโครงสร้าง “ศอฉ.” เช่นนี้สะท้อนนัยยะอะไร

ที่เด่นชัดที่สุดก็คือ การมอบบทบาทและความหมายให้กับ “ปลัดกระทรวง” สะท้อนว่าบทบาทของ “ข้าราชการ” จะเหนือกว่าบทบาทของ “นักการเมือง”

นี่เป็นแนวทางที่แทบมิได้นอกเหนือความคาดคิด

เพราะว่านายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มาจาก “ข้าราชการ” ไต่เต้าจากนายทหารธรรมดา กระทั่งทะยานไปดำรงตำแหน่งเป็น “ผู้บัญชาการทหารบก”

“ข้าราชการ” ก็ย่อมจะไว้ใจ “ข้าราชการ”

 

ในความเป็นจริง บทบาทของ “รัฐมนตรี” ก็ใช่ว่าจะมีความโดดเด่น

กล่าวสำหรับกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล ก็มีพื้นฐานมาจากผู้รับเหมาก่อสร้าง ไม่มีความรู้ในเรื่องแพทย์ ไม่มีความรู้ในเรื่องสาธารณสุข

ยิ่งบทบาทของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ยิ่งน่าเป็นห่วง

จุดอันทำให้เกิดข้อสงสัยก็เนื่องมาจากสภาวะขาดแคลนหน้ากากอนามัย ขาดแคลนเจลล้างมือ อันนำไปสู่ข่าวอื้อฉาวว่ามีที่ปรึกษารัฐมนตรีเข้าไป มีส่วนในการถูกกล่าวหา

ภาพเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดข้อกังขา

 

โครงสร้างของ “ศอฉ.” ในสถานการณ์โรคระบาดจึงสะท้อนความเป็นจริง

1 ความเป็นจริงที่ระบบ “รัฐราชการรวมศูนย์” ครอบงำเหนือระบอบการปกครอง ระบอบการเมือง 1 ความเป็นจริงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงอยู่

คำถามจึงตามมาอย่างคึกคักและเข้มข้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน