ส่อง 10 กิจกรรมยามโควิด-19

มหา’ลัยเงียบเหงาแต่เรายังเดินต่อ

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

ส่อง 10 กิจกรรมยามโควิด-19 – กระแสการเรียนออนไลน์ หรือ Study from home ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้บรรยากาศของมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เคยครึกครื้นดูจะเงียบเหงาลง

น้องๆ นักศึกษาคงจะคิดถึงเพื่อนๆ และบรรยากาศการเรียนในมหาวิทยาลัยอยู่ไม่น้อยแต่ช่วงเวลาแห่งการปรับตัวก็มักจะพาสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเสมอ

วันนี้อาสาพาไปดู 10 กิจกรรมในช่วงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ทั้งจากผู้เรียน อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัย

1.เรียนในห้องออนไลน์ หลายคนค้นพบช่องทางการติดต่อสื่อสารกันผ่าน Zoom, Microsoft Team, Google Hangouts, Webex เป็นต้น ซึ่งมีฟังก์ชันเด็ดๆ ให้ลองเล่นมากมาย การปรับตัวโดยการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนหรือทำงานออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพนับว่าเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ

2.พัฒนาศักยภาพตัวเองผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ที่สนใจ เช่น การทำธุรกิจ เทคโนโลยี การจัดการข้อมูลภาษา เว็บไซต์การเรียนออนไลน์ที่น่าสนใจ ได้แก่ coursera.org, alison.com, edx.org

3.เปิดโลกท่องเที่ยวแบบออนไลน์ ขอแนะนำเว็บไซต์ที่พาทุกคนออกไปเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวรอบโลกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย artsandculture.withgoogle.com ที่รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวสุด อันซีนในสหรัฐอเมริกา หรือใครที่ชอบท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนนี้มีเว็บไซต์ louvre.fr/en/visites-en-ligne พาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประเทศฝรั่งเศส

4.เอาเวลาว่างจากการเดินทางมาอ่านหนังสือ ทำงานอดิเรกที่สนใจ 5.แบ่งเวลาทำเพื่อสังคม ในรูปแบบออนไลน์ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือเพื่อคนตาบอดผ่านแอพพลิเคชั่น Read for the Blind อาสาทำสื่อการเรียนให้นักศึกษาตาบอดในมหาวิทยาลัยผ่านแอพพลิเคชั่น Guidelight หรืออาสาเป็นพี่เลี้ยง ทำหน้าที่รับฟัง ชวนคุย ชวนคิดกับน้องๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น มูลนิธิยุวพัฒน์ เป็นต้น

6.พัฒนาฝีมือทำอาหารในช่วงกักตัว เอามาอวดกันในวิดีโอคอล กับเพื่อน

7.ลุก ขยับ ออกกำลังกาย เสริมสร้างภูมิต้านทาน ควบคุมน้ำหนัก 8.เตรียมการสอนรูปแบบออนไลน์ ให้ดึงดูดใจนักศึกษาและหาวิธีการประเมินผู้เรียน

9.เปลี่ยนมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์พิเศษเพื่อผู้ป่วย

10.ผลิตนวัตกรรมการแพทย์ช่วยสังคม

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่าสถานการณ์การเรียนออนไลน์ไม่เพียงแต่นักศึกษาที่ต้องปรับตัว แต่อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยต่างก็ต้องพยายามปรับตัว เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สจล. มั่นใจว่าการปรับตัวครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และเมื่อวิกฤตครั้งนี้ผ่านพ้นไปเราจะมีภูมิคุ้มกันติดตัวที่ดีกว่าเดิม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน