การปรากฏขึ้นของข่าว “ราคาข้าว” เสื่อมทรุดและตกต่ำ กระทั่งดำ รงอยู่ในลักษณะอันเป็น”กระแส”ในทางสังคม

น่าศึกษา
เพราะหากไม่ศึกษาและทำความเข้าใจ ก็มีโอกาสสูงเป็นอย่าง ยิ่งจะไม่เข้าใจ
มองว่าเป็นการ”ปั่น”ขึ้นโดย”นักการเมือง”
มองว่าเป็นการ”นิมิต” หรือสร้างขึ้นโดย “สื่อมวลชน”บางกลุ่มขึ้นมาโดยเจตนา
เมื่อเข้าใจเช่นนี้ก็จะทำให้”การวิเคราะห์”ผิดพลาด
เมื่อวิเคราะห์ผิดพลาดและคลาดเคลื่อน ผลที่สุดก็จะไม่เข้าใจในสภาพความเป็นจริงของ 1 สถานการณ์ราคาข้าว และ 1 สภาพที่เกษตรกรชาวนาประสบ
เมื่อไม่เข้าใจกระบวนการในการแก้ไขปัญหาก็จะผิดพลาดและคลาดเคลื่อนไปด้วย
เข้าลักษณะ “งูกินหาง”

 

ลองหยิบหนังสือพิมพ์”ข่าวสด”ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม ขึ้นมา
พลิกไปยัง หน้า 10
จะเห็นภาพข่าวของชาวนา ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โชว์เอก สารรับเงินค่าข้าวที่ขายให้โรงสีในราคาตันละ 5,000 บาท หรือกิโลกรัมละ 5 บาท
เป็นการขายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม
ยิ่งไปอ่านข่าวของเกษตรกรชาวนา ไม่ว่าจะจากอ่างทอง ชัย นาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ไม่ว่าจะจากพิจิตร ล้วนยอมรับตรงกัน
ต่อปัญหา”ราคาข้าว”ที่พวกเขาประสบอยู่
อาจปรากฏผ่าน”หนังสือพิมพ์” อาจปรากฏผ่านสื่อออนไลน์ แต่ก็เป็นเรื่องของเกษตรกรอย่างที่เรียกว่า”ชาวนา”ล้วน-ล้วน
“กระแส”จึงมีรากฐานมาจาก”ชาวนา”

 

ขณะเดียวกัน หากตรวจสอบผ่านการเคลื่อนไหวของ”เจ้าหน้าที่รัฐ” ก็จะได้”ข้อมูล”แทบไม่แตกต่างกัน
ไม่ว่าจะมาจาก กระทรวงพาณิชย์
ไม่ว่าจะมาจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตัวอย่างง่ายๆก็คือ ความเห็นร่วมที่จะเสนอผ่านที่ประชุมคณะ กรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว(บนข.)ในวันที่ 31 ตุลาคม
ให้ดำเนินมาตรการ”จำนำยุ้งฉาง”
โดยกำหนดอัตราเอาไว้ที่การจำนำในราคาตันละ 11,000 บาท
นี่เท่ากับเป็นการยอมรับอย่างเป็น “ทางการ” ในความเป็นจริงที่ราคาเสื่อมทรุดและตกต่ำ
คือ ความพยายามจะดันราคาจาก 6,000 บาทให้ได้ 11,000 บาท
เป็นโครงการตั้งแต่ยุค ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
เพียงแต่เลี่ยงบาลีจาก “จำนำข้าว” จากยุค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชิน วัตร มาเป็น “จำนำยุ้งฉาง”
แต่ก็”อัด”เงินเข้าไป”แทรกแซง”เหมือนกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน