วิเคราะห์การเมือง : สำทับ เข้มข้น ต่อข้าราชการ ประจำ จาก นักการเมือง

ทําไม ...เฉลิม อยู่บำรุง จึงเน้นไปยังข้าราชการประจำ เมื่อพาดพิงถึงการเคลื่อนไหวของพรรคพลังประชารัฐ

เป็นเพราะเคยเป็นข้าราชการมาก่อน

หรือเป็นเพราะเห็นว่ารัฐบาลคสช.ภายหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นรัฐบาลอย่างที่เรียกกันว่า เป็นรัฐราชการ

ถือเอาข้าราชการเป็นศูนย์กลาง

ถูกทุกข้อสันนิษฐาน แต่นัยแท้จริงหากดูจากความเป็น ...เฉลิม อยู่บำรุง ที่สั่งสมมาก็ต้องยอมรับว่าจุดแข็งของคสช.” อาจอยู่ที่ข้าราชการ

แต่ข้าราชการก็ทำให้กลายเป็นจุดอ่อนได้

รัฐบาลปกติเมื่อถึงช่วงปลาย คือ ก่อนการเลือกตั้ง 1-2 เดือนจะอยู่ในสภาพที่เรียกว่าข้าราชการปล่อยเกียร์ว่างอย่างเปิดเผย

เพราะไม่แน่ใจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

แต่กล่าวสำหรับรัฐบาลคสช. รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจอย่างเต็มที่มิได้อยู่ในสถานะอันเป็นรัฐบาลรักษาการเหมือนในอดีต

สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 44” ได้ตามปกติ

เพราะว่าหัวหน้ารัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี มีพื้นฐานมาจากหัวหน้าคสช.ก็คือ ยังมีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยม

ตรงนี้แหละคือความเหนือกว่า และน่าเกรงขาม

ดูเหมือนว่าพรรคพลังประชารัฐอันเป็นมือไม้ แขนขาของคสช.จะฉวยโอกาสจากรัฐธรรมนูญมาอำนวยประโยชน์ในทางการเมืองอย่างเต็มพิกัด

เป็นไปตามบทสรุปรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบเพื่อพวกเรา

ดังนั้น แม้จะมาดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค แต่ก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แม้จะมาดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคแต่ก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เป็นเลขาธิการพรรคพร้อมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นโฆษกพรรคพร้อมกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ออกไปจับระบำรำฟ้อนตามที่ข้าราชการจัดให้

คําเตือนของ ...เฉลิม อยู่บำรุง มิได้อยู่ที่ 4 รัฐมนตรีที่มาเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ หากแต่อยู่ที่บรรดาข้าราชการ

เตือนให้ระวังถึงผลสะเทือนจากเลือกตั้ง

เพราะว่าทุกการเคลื่อนไหวในห้วงปลายสมัยรัฐบาล ย่อมติดตรึงและจะมีผลต่อเนื่องไปภายหลังการเลือกตั้งอย่างแน่นอน

หากว่าพรรคพลังประชารัฐแพ้การเลือกตั้ง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน