การรุก การรับ ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย กับ พลังประชารัฐ : วิเคราะห์การเมือง

ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทยสถานการณ์การเมืองก่อนวันที่ 5 มิถุนายนเด่นชัดอย่างยิ่งว่า พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย อยู่ในฐานะอันเป็นฝ่ายรุกในทางการเมือง

รุกกระทั่งพรรคพลังประชารัฐหลังติดเชือก

ไม่ว่าจะอยากได้กระทรวงคมนาคมล้วนฉลุย ไม่ว่าจะอยากให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญล้วนพร้อมบรรจุเอาไว้ในนโยบาย

แต่หลังวันที่ 5 มิถุนายนสถานการณ์ก็เกิดการแปรเปลี่ยน

แปรเปลี่ยนพลันที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เปล่งนาม พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา แปรเปลี่ยนพลันที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล เปล่งนาม พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา

จํานวน 53 เสียงของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 50 เสียงของพรรคภูมิใจไทย ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ 500 เสียงที่เห็นชอบให้ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

จุดนี้เองคือพลานุภาพอันยิ่งใหญ่ในทางการเมือง

ทำให้ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เคยมาจากรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มีความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง

จะเรียกว่าสืบทอดอำนาจก็ได้ จะเรียกว่าไม่สืบทอดอำนาจก็ได้

แต่การผ่านความเห็นชอบนี้ได้ทำให้ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคพลังประชารัฐมีอำนาจในการต่อรองสูงขึ้นอย่างเด่นชัด

หากพรรคพลังประชารัฐไม่มีอำนาจต่อรองมากขึ้นก็คงไม่มีการปล่อยข่าวว่าอาจจะมีการรื้อดีลเก่าและมีการสรรตำแหน่งต่างๆ กันใหม่

เรียกคืน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ยิ่งกว่านั้น ข้อเสนอที่จะปรับเปลี่ยนประชาธิปไตยวิปริตผ่านกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็ได้รับการประเมินว่ามิได้เป็น เรื่องเร่งด่วน

เรื่องเร่งด่วนอยู่ที่เศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน

รูปธรรมที่ตามมาก็คือ แทนที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย จะเป็นฝ่ายรุก ตรงกันข้าม พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคพลังประชารัฐ ต่างหากที่เป็นฝ่ายรุก

มาถึง ณ ตอนนี้ สังคมเริ่มเฝ้ามองท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย อย่างใจจดใจจ่อว่าในที่สุดแล้ว 2 พรรคนี้จะมีความเห็นอย่างไร

จะยอมรับอย่างเซื่องๆ หรือว่าแข็งขืน

สภาพของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย จะดำเนินไปเหมือนกับอ้อยอยู่ในปากอันทรงพลานุภาพของช้าง หรือไม่

ในที่สุดแล้วช้างก็ยอมจะเคี้ยวกลืนอ้อยอย่างหวานมันในรส

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน