คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

อาการตะลุมบอนทางการเมืองภายในสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้ คือ สัญญาณ 1 ในทางการเมืองก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง

เหมือนก่อน นายเลียง ไชยกาล กล่าวคำอำลา

เหมือนก่อน นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ และ นายใหญ่ ศวิตชาติ กล่าวคำอำลาเพื่อไปร่วมในการก่อตั้งพรรคกิจสังคมกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

เหมือนก่อน นายสมัคร สุนทรเวช จะแยกตัว

เหมือนก่อน นายอุทัย พิมพ์ใจชน จะแยกตัวออกไปเพื่อจัดตั้งพรรคก้าวหน้า พรรคเอกภาพ ตามลำดับ

เหมือนก่อน นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ จะแยกตัวไปจัดตั้งพรรคประชาชน

เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาและปกติอย่างยิ่งในแวดวงการเมือง แต่เมื่อเกิดขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์กลับไม่ธรรมดา

ถามว่าการถกเถียงของ “เจ้าชายสายฟ้า” กับผู้บริหารสถานีโทรทัศน์อันแนบแน่นอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์เกิดจากอะไร

คำตอบ 1 เกิดจากการดำรงอยู่ของ “กปปส.”

คำตอบ 1 เกิดจากผลสะเทือนจากการเคลื่อนไหวโดย “กปปส.” นำไปสู่การรัฐประหารและการขึ้นครองอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา

คำตอบ 1 เกิดจากการหวนคืนสู่พรรคประชาธิปัตย์ของ “กปปส.” จำนวนหนึ่ง

ต้องยอมรับว่า ปรากฏการณ์ของ “กปปส.” นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 กระทั่งเกิด “รัฐประหาร” เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มีความสัมพันธ์กัน

สัมพันธ์กับ “อนาคต” ของ “พรรคประชาธิปัตย์”

จากภายหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 กระทั่งมาถึงการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ทำให้พรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องเลือก

จะเลือกเหมือนกับที่ “กปปส.” เคยเลือกหรือไม่

จะเลือกเหมือนกับที่จำเป็นต้องคล้อยตามกับรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 โดยคสช.หรือไม่

นั่นก็คือ จะเลือกเห็นด้วยกับ “รัฐประหาร”

นั่นก็คือ จะเลือกที่จะเป็นพันธมิตรในแนวร่วมการสืบทอดอำนาจของรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ต่อไปอีกหรือไม่

ทางเลือกนี้สำคัญยิ่งต่ออนาคตของ “ประชาธิปัตย์”

วิวาทะอันเกิดขึ้นภายในพรรคประชาธิปัตย์ และกระจายขยายออกสู่แวดวงการเมืองจึงเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้

เพราะนี่เป็นอีกแพร่งหนึ่งภายใน “ทางเลือก” ทางการเมือง

ไม่ว่าจะเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าจะเป็น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มีความจำเป็น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน