มองทะลุเลือกตั้ง นักวิชาการดังชี้ สัญญาณเปลี่ยนแปลง

คอลัมน์ ทะลุคนทะลวงข่าว

วันเลือกตั้ง วันนี้ 24 มี.. 2562 วันเลือกตั้ง ประชาชนชาวไทยได้ใช้สิทธิเลือกผู้แทนของตัวเองเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี (เกือบ 5 ปีในอำนาจคณะรัฐประหาร) จึงนับเป็นวาระประวัติศาสตร์ และยิ่งต้องบันทึกไว้กับปรากฏการณ์ที่เรียกได้ว่าถล่มทลายของการเลือกตั้งล่วงหน้า ที่ผู้คนพากันออกไปแสดงออกถึงสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยกันอย่างคึกคัก

รายการพิเศษเลือกตั้ง 62 จุดเปลี่ยน หรือจุดแตกหักประเทศไทยจัดโดยมติชน เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อวิเคราะห์จากนักวิชาการ ชื่อดัง ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ถึงการเลือกตั้งและหลังเลือกตั้งไว้อย่างน่าสนใจ

.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ว่า ในอดีตชนชั้นนำไทยผลักดันประเทศให้ออกไปในแนวทางที่ต้องการ โดยร่วมมือกับฝ่ายทหารได้หลายครั้ง แต่แนวทางนี้ 5 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าการร่วมมือไม่ประสบความสำเร็จ หากมีการลงขันกันจริง เมื่อมีความล้มเหลวนักธุรกิจใหญ่ก็ต้องคิดทบทวนแล้วว่าจะพึ่งทหารได้อีกหรือไม่

วันเลือกตั้ง

ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร

การเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญมาก เป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้เกิดการร่วมคิดร่วมมือกัน หลังการเลือกตั้งหากผลออกมาว่าฟาก ตรงข้ามกับ คสช.ชนะถล่มทลาย จะมีพรรคการเมืองใหม่จำนวนมากที่มีอุดมการณ์ชัดเจนเข้าไปมีบทบาทในรัฐสภาดำเนินการตามที่ได้โฆษณาไว้

แต่หากเสียงไม่มากพอจัดตั้งรัฐบาลได้ อย่างน้อยส่งสัญญาณให้เห็นว่าการเปลี่ยน แปลงในภาคประชาชนไปไกลเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด

นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย และปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร

โดดเด่นงานวิชาการ วิจัย วิพากษ์สังคม โดยเฉพาะการทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบราชการไทย

เขียนหนังสือมากมาย อาทิ ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย, การต่อสู้ของทุนไทย, เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ ฯลฯ

เมธีวิจัยอาวุโส สกว. .. 2550 และ 2554 และศาสตราภิชาน จุฬาฯ

ให้ความเห็นถึงผลจากการเลือกตั้งครั้งนี้ เราจะเห็นการอภิปรายและการเสวนาทั้งในและนอกรัฐสภา รวมทั้งสื่อมวลชนจะเป็นตัวตะล่อมให้ชนชั้นนำได้ตระหนักว่า ถึงเวลา แล้วที่ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง

ไม่ควรดึงดันกับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หากคนรุ่นใหม่และคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้ต้องการแนวทางนั้น

รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ว่า เชื่อมั่นว่าประชาชน ฉลาดพอในการต่อสู้กับเกมการเมืองที่ออกแบบมาให้บิดเบี้ยว บทสนทนาการเมืองในโซเชี่ยลมีเดียและในพื้นที่ครอบครัว ชี้ให้เห็นว่าประชาชนรู้ทันและพร้อมที่จะต่อสู้กับกระบวนการนี้

วันเลือกตั้ง

รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

การเลือกตั้งครั้งนี้เต็มไปด้วยความหวังและความรู้สึกร่วม เป็นสัญญาณที่ประชาชนจะบอกกับชนชั้นนำได้

เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาหากเกิด สึนามิทางการเมือง มีความเป็นไปได้สูงว่าจะจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ แต่อย่างน้อยพลังของคน รุ่นใหม่ส่งสัญญาณว่าต้องการความเปลี่ยนแปลง จะใช้วิธีการแบบเดิมไม่ได้อีก

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.สิริพรรณไม่อยากเห็นจุดแตกหักทางการเมืองเพราะต้นทุนสูงเกินไป อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง และ เชื่อมั่นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะนำไปสู่การ เลือกตั้งอีกครั้ง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแปลงในอนาคต และสังคมไทยจะดีขึ้น

รัฐศาสตรบัณฑิต การปกครอง เกียรตินิยม อันดับหนึ่งเหรียญทอง จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ปริญญาโท การเมืองเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอก สังคมและการพัฒนา มหาวิทยาลัยเกียวโต ญี่ปุ่น

เคยเป็นหัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

เขียนหนังสือ ระบบการเลือกตั้งเปรียบเทียบ รวมถึง คำและแนวคิดในประชาธิปไตยสมัยใหม่ พจนานุกรมทางรัฐศาสตร์ ที่ช่วยให้สังคมไทยได้รู้จักภาพของสังคมประชาธิปไตยในมิติต่างๆ ได้มากขึ้น

เลือกตั้งครั้งนี้อาจจะไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ได้ระบอบประชาธิปไตย แต่จะเป็นหมุดหมายของการเปลี่ยนแปลงที่ป้องกันไม่ให้ระบอบอำนาจนิยมที่พยายามจะฝังตัวอย่างชอบธรรมภายใต้หน้ากากประชา ธิปไตย สามารถเพาะเมล็ดพันธุ์หยั่งรากไว้ได้

พลังที่ประชาชนบ่มไว้ในการเลือกตั้งจะบ่งบอกว่าคุณจะอยู่ได้ไม่นาน

ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ชัด พรรคพลังประชารัฐ ตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล ใช้เทคนิคแบบเก่าที่เห็นก่อนปี 2540

ถ้าตอนนี้ยังเป็นการเมืองก่อนปี 2540 สิ่งที่ทำทั้งหมดจะทำให้ชนะเลือกตั้ง เพราะชาวบ้านยังไม่ตื่นตัวกับการเลือกตั้งมากนัก และพรรคการเมืองยังไม่เป็นสถาบันการเมืองที่เข้มแข็ง ใครที่ดึงผู้มีอิทธิพลได้มากสุดก็จะชนะ จึงมีการใช้เครือข่ายหาเสียง ใช้หัวคะแนนแจกเงิน แจกสิ่งของที่ระลึกในคืนหมาหอน

วันเลือกตั้ง

ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ

แต่หลังปี 2540 การเมืองไทยเปลี่ยนไปในเชิงบวก คนให้ความสำคัญกับนโยบาย และพรรคการเมืองมีความเป็นสถาบันมากขึ้น ชาวบ้านตื่นรู้ ตื่นตัวมากขึ้น

น่าสนใจที่โอลด์แฟชั่นกลับมา การเมืองเก่ากลับมาในสภาพภูมิทัศน์การเมืองที่เปลี่ยนไปมากแล้ว ทั้งการใช้อิทธิพล ระบบอุปถัมภ์ ใช้เครือข่ายหัวคะแนน ผู้มีอิทธิพล และคืนหมาหอนที่เกิดก่อนการเลือกตั้งหลายรอบ แจกกันหลายระลอก

ปริญญาตรีรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทประวัติศาสตร์ สถาบันเดียวกัน รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิสคอนซินแมดิสัน สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย

เขียนหนังสือ และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ : การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ, เลือกตั้งไม่นองเลือด, การเมืองวัฒนธรรมไทย และประชา ธิปไตยในยุคเปลี่ยนผ่าน

ผศ.ดร.ประจักษ์ ยังชี้ว่า หลังการเลือกตั้งครั้งนี้เราจะหลุดพ้นสภาวะที่ไม่ปกติ ไปสู่สภาวะที่พื้นที่ประชาชนเปิดกว้างขึ้น สื่อมีเสรีภาพมากขึ้น มีสภาที่มีฝ่ายค้าน และเป็นสภาที่มีสีสันที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีนโยบายที่หลากหลายมาก ถ้ามีอะไรผิดพลาดรัฐบาลหน้าก็ไม่น่าจะอยู่ในอำนาจได้นาน

การเลือกตั้งครั้งถัดไปจะเป็นการเลือกตั้งที่ปกติที่จะจัดภายใต้สภาวะของการไม่มี คสช. ไม่มี ม.44 ไม่มีบรรยากาศที่เราเห็นในปัจจุบัน อำนาจจะคลายลง การเลือกตั้งครั้งหน้าจะค่อยๆ ปกติขึ้น ประชาชนจะส่งเสียงร้องสิทธิได้อย่างแท้จริงมากขึ้น

จุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่อยู่ที่วันนี้แล้ว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน