คอลัมน์ ทะลุคนทะลวงข่าว

3 คีย์แมนเศรษฐกิจ – รัฐบาลประยุทธ์ 2/3 ได้รมว.คลัง คนใหม่เรียบร้อย

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีหน้าเก่า ในบทบาทใหม่

จากรมว.คมนาคม รัฐบาลคสช. มารับหน้าที่ขุนคลัง

รับภาระหนักแก้วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ทุกอย่าง พร้อมเร่งสปีดนโยบายการเงินการคลัง ที่เดิน หน้าได้ไม่เต็มที่ หลังจาก ปรีดี ดาวฉาย เข้ามาทำหน้าที่รมว.คลังได้เพียง 27 วัน

รมว.คลัง คนใหม่ ต้องเป็นหัวหอกแก้วิกฤต ส่งผลทั้งแง่จิตวิทยาและความ เชื่อมั่น

ขณะเดียวกัน หัวขบวนทีมเศรษฐกิจในส่วนของข้าราชการประจำก็ปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ

 

ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ขยับขึ้นเป็น เลขาธิการ สศช. แทน ทศพร ศิริสัมพันธ์ ที่เกษียณอายุราชการ

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เข้ามาเป็น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ คนที่ 21 ต่อจาก วิรไท สันติประภพ ที่ครบวาระเมื่อ 30 ก.ย. และไม่ต่ออายุการทำงานในวาระที่ 2 ด้วย เหตุผลด้านครอบครัว

ต้องมาร่วมผนึกกำลังมันสมองฟื้นฟูประเทศ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมออกจากวิกฤต ให้อยู่ รอดและก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป

 

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เดิมชื่อ อาคม แซ่จึง
อายุ 64 ปี เกิด 25 ก.ย. 2499 ที่จ.ศรีสะเกษ

ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัย วิลเลียมส์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

รับราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์

ปี 2539 ผอ.กองวิเคราะห์และประมาณการเศรษฐกิจ
ปี 2542 ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผน และขึ้นเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ สศช. ปี 2543
ปี 2546 ที่ปรึกษาด้านนโยบายและ แผนงาน
ปี 2547 รองเลขาธิการ สศช.
ได้รับแต่งตั้งเป็น เลขาธิการ สศช. ปี 2553
ปี 2557 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (สนช.) สภาแต่งตั้งโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.

ส.ค. 2557 นั่งเก้าอี้รมช.คมนาคม รัฐบาลประยุทธ์ 1

ส.ค.ปีถัดมา ยื่นลาออกจากเลขาธิการ สศช. เพื่อรับตำแหน่งรมว.คมนาคม

กลับมาเป็นรัฐมนตรี สมัยที่ 3 เมื่อ 5 ต.ค.2563 ในบทบาท รมว.คลัง คนที่ 54

มีภารกิจยิ่งใหญ่และยากยิ่ง บริหารจัดการการเงินการคลังของประเทศ ที่กำลังประสบวิกฤตอย่าง รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี

 

ดนุชา พิชยนันท์
อายุ 50 ปี เกิด 5 ส.ค. 2513

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

M.S. Engineering Management, George Washington University, USA

อบรมหลักสูตร Director Certification Program (DCP 211/2015) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 10 (วพน.10) สถาบันวิทยาการพลังงาน
ลูกหม้อกระทรวงการคลัง และ สภาพัฒน์

ผ่านตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ, ผอ.สำนักวิเคราะห์โครงการลงทุนภาครัฐ

ต.ค. 2556 รักษาการที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สภาพัฒน์

ธ.ค. 2556 ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบาย และแผนทรงคุณวุฒิ)
ต.ค. 2559 รองเลขาธิการ สภาพัฒน์

นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่ง กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), ประธานกรรมการกำกับดูแลโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน อู่ตะเภา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), กรรมการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

ส.ค.ที่ผ่านมา ครม.แต่งตั้งเป็น เลขาธิการสภาพัฒน์ ลำดับที่ 16

ทำหน้าที่อย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 ต.ค. ด้วยภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ

พัฒนาการ “เศรษฐกิจ” และ “สังคม” ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

 

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ หรือ ‘ดร.นก’ อายุ 55 ปี

ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ Swarthmore College สหรัฐอเมริกา

ปริญญาโท และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา

ทำงานอยู่ที่ประเทศสหรัฐ ช่วงปี 2529-2531 เป็นที่ปรึกษาธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในแมคคินเซย์

ปี 2535 เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ประจำธนาคารโลก

ปี 2541 ถูกดึงตัวกลับมาประเทศไทย นั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการร่วม สถาบันวิจัยนโยบายการคลัง (สวค.)

หน่วยงาน “Think Thak” มันสมองของกระทรวงการคลัง ช่วงที่ไทยต้องกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

ปี 2544 กลับไปทำงานธนาคารโลก อีกครั้ง

ปี 2548 กลับเมืองไทยมาดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

ปี 2550 กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS)

ปี 2551 ขยับขึ้น กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBAM)

ปี 2552 ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารไทยพาณิชย์

ปี 2554 ออกจากธนาคารไทยพาณิชย์ ไปเป็น กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิแอดไวเซอร์ จำกัด และ กรรมการ ธนาคารทหารไทย

ปี 2555 ทำหน้าที่ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา ของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ตั้ง ขึ้นหลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบและถูกเว้นวรรค 5 ปี

ก.ย.2557 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นกรรมการ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธปท., กรรมการ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และยังเป็นกรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

ก่อนเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ได้รับ แต่งตั้งเป็น 1 ใน 6 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

ยื่นสมัครเข้าชิงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. ในนาทีสุดท้ายก่อนปิดรับสมัครรอบสอง ท่ามกลางตัวเก็ง ทั้งคนในแบงก์ชาติและคนดังแวดวงเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง ที่ต่างก็มีคุณสมบัติเพียบพร้อม

 

ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ ธปท. คนที่ 21 แบบฉลุย

ถูกจับตาในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ รุ่นใหม่ผู้โดดเด่นแห่งยุคสมัย

รับภาระดูแลควบคุมบริการจัดการ นโยบายการเงิน-สถาบันการเงิน-กองทุนตลาดทุน-ทุนสำรอง-ค่า เงิน-อัตราแลกเปลี่ยน-อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ

ทำหน้าที่ “นายธนาคารของรัฐบาล” และ “ธนาคารของนายธนาคาร”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน