คอลัมน์ ทะลุคน ทะลวงข่าว

แก้ผักแพง-คุ้มประกันโควิด วัฒนศักย์-สุทธิพล-เกียรติภูมิ ล็อกดาวน์คนไม่ฉีดวัคซีน

สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อประเทศ ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา หลายพื้นที่ยังประสบปัญหาน้ำท่วม สร้างความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนซ้ำเติมความเดือดร้อน ราคาพืชผักปรับสูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องจากแหล่งปลูกถูกน้ำท่วมทำให้ผลผลิตได้น้อย บวกกับน้ำมันแพงเพิ่มต้นทุนค่าขนส่ง ส่งผลกระทบเป็นลูกระนาด ราคาพืชผักเนื้อสัตว์พาเหรดพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ เช่น ผักชี จากก.ก.ละ 60-70 เพิ่มเป็นก.ก. 300-400 บาท เนื้อหมูเพิ่มเป็นก.ก.ละเกือบ 200 บาท กรมการค้าภายใน ในฐานะรับผิดชอบดูแลราคาสินค้า รีบให้ความมั่นใจราคาผักที่แพงขึ้นจะเป็นแค่ช่วงสั้นๆ ก่อนกลับสู่ภาวะปกติ เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพและเพิ่ม ทางเลือกให้ประชาชน กระทรวงพาณิชย์จัดโครงการโมบายพาณิชย์…ลดราคา ช่วยประชาชน นำผักสดราคาขายส่ง รวมถึงสินค้าที่จำเป็นออกตระเวนจำหน่ายแก่ประชาชน แก้ผักแพง-คุ้มประกันโควิด วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) ปริญญาตรี บริหารธุรกิจสาขาการตลาด มหาวิทยาลัยรังสิต ปริญญาโท Business Administration Majoring in Marketing Dominican University, USA. เริ่มรับราชการที่กรมการค้าภายใน ปี 2557-61 ผอ.สำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า ปี 2561-62 ผู้อำนวยการระดับสูง ปี 2562-63 รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ต.ค.2563-ปัจจุบัน อธิบดีกรมการค้าภายใน ขณะเดียวกัน โควิด-19 ยังส่งผลต่อธุรกิจประกันภัย โดยเฉพาะบริษัทประกันภัย ที่ขายกรมธรรม์ประกันโควิด ‘เจอ จ่าย จบ’ เมื่อปีก่อนรับทรัพย์ไปกำไรมหึมา เนื่องจากมีผู้ป่วยน้อย แต่ปีนี้ ยอดผู้ติดเชื้อแต่ละวัน ทะยานหลักหมื่นคน จนตัวเลขทะลุ 2 ล้านคน จนถึง ต.ค.2564 บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวนกว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้บริษัทประกันจำนวนมากเสี่ยงภาวะขาดทุนล้มละลาย 1 รายปิดกิจการ อีก 3 รายอยู่ในภาวะง่อนแง่น ถึงขั้นออกประกาศยกเลิกประกัน ‘เจอ จ่าย จบ’ หรือใช้วิธีให้ลูกค้าเปลี่ยนชนิดประกัน นำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชน และการถูกเอารัดเอาเปรียบของผู้ทำประกัน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประชุมร่วมกับสมาคมประกันภัยวินาศภัยไทย ก่อนมีคำสั่งไปยังบริษัทประกัน ห้ามเปลี่ยน-ยกเลิกกรมธรรม์โควิด ‘เจอ จ่าย จบ’ แต่เปิดทางเลือกให้ผู้เอาประกันเลือกเอง ตามความสมัครใจ ย้ำชัดหากลูกค้าไม่สมัครใจเปลี่ยน ห้ามบังคับ และยังได้รับความคุ้มครองตามเดิม แก้ผักแพง-คุ้มประกันโควิด สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เกิดปี 2503 อายุ 61 ปี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย รับทุนพระราชทานมูลนิธิอานันทมหิดล ไปเรียนจนสำเร็จนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันเดียวกัน อดีตข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ จากนั้นเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวง เป็นเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา โฆษกศาลยุติธรรม ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลแพ่ง และรองเลขานุการศาลฎีกา เลขาธิการ กกต. ระหว่างพ.ย.2549-ก.ย.2554 ก่อนนั่งกรรมการ กสทช. และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ คปภ. หรือชื่อเดิม กรมการประกันภัย สมัยแรก เมื่อต.ค.2558 ต.ค.2562 ครองตำแหน่งสมัยที่สอง แบบไร้คู่แข่ง ปัจจุบันแม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะลดลงเหลือหลักพันต่อวัน อันเป็นผลจากมาตรการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันครอบคลุมมากขึ้น จากเป้าหมายของรัฐบาล ฉีดวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปีนี้ และการดูแลป้องกันตัวเองของประชาชนเข้มข้นมากขึ้น ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขผู้ได้รับวัคซีนแล้วกว่า 86 ล้านโดส ในเดือนพ.ย.จะเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ 13.98 ล้านโดส แบ่งเป็น เข็มที่ 2 และเข็มที่ 3 จำนวน 5.38 ล้านโดส และเข็มที่ 1 จำนวน 8.60 ล้านโดส แต่ยอมรับว่าจำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเริ่มชะลอตัว เนื่องจากส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว เหลือเพียงกลุ่มที่รอวัคซีนทางเลือก หรือไม่ยอมฉีดจากเหตุผลส่วนตัว กว่า 10 ล้านคน หรือร้อยละ 17 ขณะที่บางส่วนรับวัคซีนแล้ว แต่ไม่ได้บันทึกข้อมูลในระบบ จึงต้องวางกลยุทธ์ มีมาตรการจูงใจให้ประชาชนเข้ามาฉีดวัคซีน พร้อมให้หน่วยงานต่างๆ เร่งค้นหาคนยังไม่ได้ฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามหากจำเป็นจริงๆ ก็เล็งเสนอบังคับใช้มาตรการต้องฉีดวัคซีนก่อนเข้าพื้นที่สาธารณะ โดยแสดงผลการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส จึงจะออกจากบ้านเพื่อไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ หวังกระตุ้นการฉีดให้ได้ตามเป้าหมาย 100 ล้านโดสในสิ้นพ.ย.นี้ แก้ผักแพง-คุ้มประกันโควิด นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เกิด 13 ก.พ. 2505 อายุ 59 ปี จบคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วุฒิบัตรจิตเวชศาสตร์ ร.พ.สมเด็จเจ้าพระยา รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Mental Health Policy and Planning มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ เส้นทางชีวิตราชการ นายแพทย์ประจำ ร.พ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี นายแพทย์ประจำ ร.พ.นิติจิตเวช ปี 2538-2539 รองผอ.ฝ่ายการแพทย์ ร.พ.ศรีธัญญา ปี 2539 ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิต ผอ.ร.พ.นิติจิตเวช ผอ.สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และผอ.ร.พ.ศรีธัญญา ปี 2551 รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ปี 2556 ผู้ตรวจราชการกระทรวง ปี 2559 รองปลัดกระทรวง ต.ค.2560 อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ปี 2561 อธิบดีกรมสุขภาพจิต ต.ค.2563 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน