คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

แอนดรูว์ ปรีซ์บีลสกี จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนวัยโจ๋ อายุระหว่าง 15 ปี จำนวน 120,115 คน เกี่ยวกับระยะเวลาที่ทำกิจกรรมผ่านหน้าจอ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน

ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์เบราว์ซิ่ง โปรแกรมพิมพ์งานบนคอมพิว เตอร์ และแท็บเล็ต แช็ตกับเพื่อนบนโลกไซเบอร์ หรือใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน รวมทั้งเล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์ ดูละครและรายการทางโทรทัศน์ จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับ ผลการเรียน แบบประเมินอารมณ์ และสุขภาพจิต

ปรากฏว่าเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือเพียงพอต่อการเสริมความรู้ทางเทคโนโลยี และเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิตจากการใช้คอมพิวเตอร์ คือ 4 ชั่วโมง 17 นาทีต่อสัปดาห์ สำหรับโทรทัศน์อยู่ที่ 3 ชั่วโมง 41 นาที สมาร์ตโฟน 1 ชั่วโมง 57 นาที และวิดีโอเกมที่ 1 ชั่วโมง 40 นาที

ขณะเดียวกัน การใช้อุปกรณ์ไฮเทคโนโลยีมากเกินเวลาที่เหมาะสม นอกจากจะไม่เพิ่มกระบวนการเรียนรู้แล้ว ยังก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย และสภาพจิตใจในระยะยาวได้อีกด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน