เมื่อ 3 ต.ค. เอเอฟพีรายงานว่า คณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ที่สถาบันแคโรลินสกาในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ประกาศมอบรางวัลโนเบลประจำปี 2016 แก่ ดร.โยชิโนริ โอสึมิ อายุ 71 ปี ประจำสถาบันเทคโนโลยีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จากผลงานการค้นพบกลไกในกระบวนการกินตัวเองของเซลล์ (autophagy) ซึ่งมีความสำคัญต่อการรีไซเคิลเซลล์ส่วนที่เสียหาย เมื่อใดที่กระบวนการนี้ชะงัก จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันและโรคเบาหวาน

Yoshinori Ohsumi / AFP PHOTO / Toru YAMANAKA

Yoshinori Ohsumi / AFP PHOTO / Toru YAMANAKA

“นี่เป็นเกียรติสูงสุดสำหรับนักวิจัยคนหนึ่ง” ดร.โอสึมิ กล่าวและว่า “คติประจำใจผมก็คือ ทำสิ่งที่ผู้อื่นไม่ต้องการทำ ผมคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยทั้งหมด แม้ว่าในอดีตนั้นไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก แต่ตอนนี้เราอยู่ในช่วงเวลาที่เรื่องได้รับความสนใจมากขึ้น” ดร.โอสึมิกล่าว

 

ผู้บริหาร Tokyo Institute of Technology ร่วมแถลงข่าว / AFP PHOTO / Toru YAMANAKA

ผู้บริหาร Tokyo Institute of Technology ร่วมแถลงข่าว / AFP PHOTO / Toru YAMANAKA

ดร.โอสึมิใช้ยีสต์ขนมปังในการบ่งชี้ยีนที่เป็นหลักสำคัญของกระบวนการกินตัวเองของเซลล์ การค้นพบดังกล่าวนำไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ของการทำความเข้าใจการรีไซเคิลของเซลล์ เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญพื้นฐานในกระบวนการทางสรีรวิทย อาทิ การปรับตัว หรือการตอบสนองต่อการติดเชื้อ ซึ่งการกลายพันธุ์ของยีนในกระบวนการนี้อาจก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง และโรคทางระบบประสาท

 

ดร.โอสึมิเป็นนักวิจัยชาวญี่ปุ่นคนที่ 6 ที่พิชิตโนเบลสาขาการแพทย์ โดยชนะผู้เข้าชิงรายอื่นๆ ในสาขานี้ 273 คน และได้รับรางวัล 8 ล้านโครเนอร์สวีเดน หรือราว 32 ล้านบาท

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน