ดร.โจเซฟ เอส. ทาคาฮาชิ ผู้อำนวยการศูนย์ประสาท วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส เซาท์เวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า นอกจากระบบ นาฬิกาชีวภาพ หรือ เซอร์เคเดียน ริทึ่ม ที่ตั้งอยู่ในนิวเคลียสซูพราไคแอสมาติกของสมองส่วนไฮโปธาลามัส จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ร่างกายทำงานสอด คล้องกับวงจรแห่งวันของธรรมชาติ รับรู้กลางวัน-กลางคืน รวมถึงทำให้ง่วงและนอนหลับได้อย่างเพียงพอแล้ว

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักไม่แพ้นาฬิกา ชีวภาพคือ “บีมอล 1” (BMAL1) โปรตีนที่กระตุ้นการดูดซึมและสะสมไขมัน ซึ่งร่าง กายจะผลิตโปรตีนบีมอล 1 ในช่วงกลางคืน

จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่า หนูที่มีโปรตีนบีมอล 1 ปริมาณสูงในกล้ามเนื้อ สามารถฟื้นตัวจากการนอนหลับไม่เพียงพอ ได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากหนูทดลองที่มีโปรตีนบีมอล 1 ในปริมาณน้อย

นอกจากใช้เวลานาน ในการฟื้นฟูความอ่อนแอ ของร่างกายเพราะนอนหลับไม่พอแล้ว ยังมีพฤติ กรรมการนอนที่เป็นปัญหา ทั้งนอนน้อย นอน ช้า รวมถึงหลับๆ ตื่นๆ ในช่วงเวลานอนด้วย

และเพราะบีมอล 1 ทำงานสัมพันธ์ กับนาฬิกาชีวภาพ ช่วงเช้าที่นาฬิกาชีวภาพ ตื่นตัว ยีนบีมอล 1 จะมีความเคลื่อนไหว ต่ำสุด คนที่นอนไม่เป็นเวลาจึงป่วยง่าย และมีสุขภาพอ่อนแอกว่าคนที่นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน