พระนอน วัดเสนาสนาราม : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรม

พระนอน วัดเสนาสนารามพระนอนที่ วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ระบุว่า เป็นวัดที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จากวัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาร่วมกับวัดเดื่อหรือวัดท่าเดื่อที่มีประวัติ เกี่ยวกับการแย่งชิงอำนาจในสมัยขุนวรวงษาธิราช สมัยอยุธยากลาง แต่ในแผนที่อยุธยา 2503 แสดงว่าวัดเสือหรือวัดท่าเสื่อเป็นคนละวัดกับวัดเสนาสนารามราชวรวิหาร ซึ่งไม่ปรากฏซากไปแล้ว

แผนผัง วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร เป็นแผนผัง การวางผังพระอุโบสถ เจดีย์ และวิหาร กำแพงวัดคูนำรอบวัดเป็นคติ สัญลักษณ์ของจักรวาลทัศน์ที่สืบเนื่องมาจากสมัยสุโขทัย อันเป็นคตินิยมการสร้างวัดตามคตินี้ในสมัยรัชกาลที่ 4 เช่น วัดเทพสรนาวาส วัดโสมนัสวิหาร และวัดมกุฏกษัตริย์ ในกรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน

พระนอน ปางไสยาสน์ของวัดนี้ เดิมประดิษฐานอยู่ในวัดมหาธาตุ จึงไม่ทราบจุดประสงค์ของการสร้างพระนอนองค์นี้ ว่าสร้างในปางเทศนาอสุรินทราหู หรือปางแสดงธรรมในมหาปรินิพพานสูง

เป็น พระพุทธรูปที่ประกอบด้วยศิลาเป็นท่อนๆ ยาว 14.20 เมตร (แบบเดียวกับพระนอนวัดเสมาธรรมจักร นครราชสีมา) รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวิหารที่ท้าย พระเจดีย์และย้ายพระนอนมาจากวัดมหาธาตุ มาประดิษฐานไว้ที่วิหารองค์นี้

ว่ากันว่า พระไสยาสน์องค์นี้เป็นพระนอนที่สวยที่สุดในอยุธยา

โดย… ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน